รอยเตอร์สรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์อาจเพิ่มขึ้น 0.6 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนพฤศจิกายนจากปีก่อนหน้า แต่จากผลสำรวจของรอยเตอร์ส พบว่า ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากระดับ 0.7 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนก่อนหน้า
ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของระบบการเงินของธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 1.9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าในเดือนพฤศจิกายน แต่ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
Irvin Seah นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ DBS ผู้ให้กู้รายใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ กล่าวว่า การปรับลดลงของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) บางส่วนเป็นผลมาจากราคาน้ำมัน เเละการจำหน่ายสินค้าในตลาดรถยนต์ “ตัวเลขเงินเฟ้อ CPI มีแนวโน้มชะลอตัวในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา คาดการณ์ว่าอยู่ที่ 0.6 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปีต่อปี ของเดือนพฤศจิกายน”
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้พุ่งแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่าหนึ่งปี เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปริมาณการผลิตและความต้องการพลังงาน
นอกจากนี้ มาตรการเงินเฟ้อพื้นฐานของธนาคารกลางสิงคโปร์ ซึ่งไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงราคารถยนต์ และที่พักอาศัย ถือเป็นมาตรการที่ผู้กำหนดนโยบายได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด ทำให้นโยบายของทั้งสองฝ่ายมีความเข้มงวดขึ้นในปีนี้
โดยในการประชุมเมื่อเดือนตุลาคม ธนาคารกลางสิงคโปร์ กล่าวว่าเศรษฐกิจของรัฐ-เมือง มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะยังเผชิญกับอุปสรรคในการเติบโตจากความขัดเเย้งระหว่างจีนเเละสหรัฐ
นายวิษณุ วารัตธาน หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์ของธนาคาร Mizuho Bank ในสิงคโปร์กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงทรงตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นไม่มีอะไรที่จะทำให้ ธนาคารกลางสิงคโปร์ชะลอตัวลงจากนโยบายในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม การประชุมนโยบายตามกำหนดการต่อไปของธนาคารกลางสิงคโปร์ จะมีขึ้นในเดือนเมษายน ปี 2019
ไม่พลาดข่าวสารเศรษฐกิจ เจาะลึกทุกประเด็นทั้งภาครัฐ-เอกชน เพิ่มเราเป็นเพื่อนที่ Line ได้เลย พิมพ์ @prachachat หรือ คลิกลิงก์ https://line.me/R/ti/p/@prachachat
.
หรือจะสแกน QR Code ในรูป เราพร้อมเสิร์ฟข่าวเศรษฐกิจ-ธุรกิจถึงมือผู้อ่านทันที!