ไทย-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย เร่งสร้างความยั่งยืนผ่าน “ภาคท่องเที่ยว-ปัญหาอาหารขยะ”

ในวันนี้ (12 ก.ค.) บนเวทีการประชุมวิชาการด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนในอาเซียน ภายใต้หัวข้อ “SCP and Circular Economy” ผ่านเศรษฐกิจหมุนเวียน การท่องเที่ยวอย่างยั่ง และการจัดการขยะอาหาร จัดโดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับ SCP Facility (SCP) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป (EU)

นายจูเซเป บูซินี อุปทูตรักษาการแทน ประจำสหภาพยุโรป (EU) ประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาความไม่ยั่งยืนทั่วโลกกำลังเป็นปัญหาที่น่ากังวลและแก้ไขได้ยาก ขณะเดียวกันหลายๆ ประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวนี้มากขึ้น

โดยย้ำว่า การพยายามปรับเปลี่ยนนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่เราจำเป็นต้องมุ่งแก้ไขให้ถูกจุดและใช้เวลาไม่นาน ดังนั้น การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งมุมมอง แนวคิด ประสบการณ์ และหลักปฏิบัติ รวมถึงความท้าทาย ระหว่างประเทศอาเซียนจะช่วยให้เราสามารถนำไปปรับใช้กับประเทศนั้นๆ ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

สิ่งที่เราตระหนักได้ตอนนี้ คือ ความสิ้นเปลืองในการใช้ทรัพยากรภายในประเทศที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบะปัญหาขยะอาหาร กำลังลุกลามไปหลายประเทศอาเซียน

ทั้งนี้ ตัวแทนฝั่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงพันธกิจสำคัญ 3 ประการ คือ 1.ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตสู่การผลิตแบบยั่งยืน 2.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในทุกระดับสู่การบริโภคแบบยั่งยืน และ 3.สร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนความยั่งยืนโดยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนความยั่งยืนโดย

“ไทยวางโรดแมบ 20 ปี (ระหว่างปี 2018-2037) เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความคุ้มค่ามากขึ้น ในฐานะที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของโลกมาตลอด” พร้อมทั้งกล่าวว่า ปัญหาขยะอาหาร หรือขยะเปียกในไทยมีสูงมาก ราว 60% ของขยะทั้งหมดทั่วประเทศ 28 ล้านตันต่อปี

ที่ผ่านมาไทยยังไม่มีระบบบริหารจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง และเพิ่งมีการจัดตั้ง Thai SCP จึงถือว่าจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อลดปริมาณขยะที่ไม่จำเป็นลง

ส่วน “มาเลเซีย” นาย Hari Ramalu Ragavan จากสมาคมการวิจัยและการจัดการสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า แผนการของมาเลเซียขณะนี้เร่งเดินหน้าเต็มที่ กับโรดแมบถึงปี 2020 ตั้งเป้าพัฒนาประเทศสู่ “go green Malaysia” ให้ได้อย่างน้อย 60% และ 100% ในปี 2030 โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่ง เช่น การสนับสนุนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ให้ได้ รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น เป็นต้น

ขณะที่ทางฝั่ง “อินโดนีเซีย” นาย Noer Adi Wardojo จากกระทรวงสิ่งแวดล้อมและป่าไม้ เห็นด้วยกับแผนการของมาเลเซียและระบุว่ามีความใกล้เคียงกัน แต่รัฐบาลจาการ์ตามุ่งใส่ใจ “การทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ค่อนข้างมาก ในระยะเวลา 5 ปีต่อจากนี้


ทั้งนี้ ความยั่งยืนในส่วนของอินโดนีเซียเริ่มจาก “รัฐบาล” ก่อน เช่น การเริ่มทำ Eco-office หรือ ออฟฟิศสีเขียว นำไปสู่ภาคธุรกิจ เช่น การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน รวมไปถึงการท่องเที่ยวซึ่งเริ่มมีปัญหาจำนวนนักท่องเที่ยวล้นทะลัก และนำมาสู่ปัญหาอาหารขยะจำนวนมาก และสุดท้ายคือ การสนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยจะเริ่มตั้งแต่ระบบการศึกษาที่ปลูกฝังความเป็น “Eco” สู่ภาคปฏิบัติเพื่อมุ่งเน้นที่การตอบแทนสังคม