“สุรินทร์” ชี้อาเซียนเสี่ยงปัญหาเเรงงาน โลกาภิวัตน์ตัวพลิกความมั่นคงโลก

“สุรินทร์” ชี้อาเซียนเสี่ยงปัญหาเเรงงาน โลกาภิวัตน์ตัวพลิกความมั่นคงโลก ห่วงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์กระทบอนาคตในภูมิภาค

วันที่ 19 ก.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าวปาฐกภาพิเศษในหัวข้อ “ความท้าทายใหม่ด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับความร่วมมือเเละการรวมตัวของภูมิภาค” ในการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการค้าเเละการพัฒนา ประจำปี 2560 ที่โรงเเรมพูลเเมน คิง พาวเวอร์

ดร.สุรินทร์ กล่าวถึงการบูรณาการเข้าสู่โลกาภิวัตน์ว่ามีผลกระทบสองด้านเสมอ อย่างแรกเน้นไปถึงการเปิดเสรีการค้าเเละการลงทุน นำไปสู่การเติบโตเเละขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศ เเละการลงทุนในต่างประเทศ โลกในปัจจุบันเชื่อมโยงการค้ามากขึ้น อาทิ การสื่อสาร คมนาคม เเละโลจิสติกส์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเชื่อมโยงกัน เเต่ในโลกที่กำลังพัฒนาขึ้นนั้น พบปัญหามากขึ้น อาทิ หากเกิดภาวะเศรษฐกิจแย่ในกรุงเทพ เพียงข้ามคืนทางการมาเลเซียได้มีการโทรมาเพื่อแจ้งว่าได้รับผลกระทบ สื่อให้เห็นว่า เมื่อเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจเพียงหนึ่งที่สามารถที่จะดึงที่อื่นๆ ให้ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ทั้งนี้การเชื่อมโยงดังกล่าวเกินจากที่คาดการณ์เอาไว้

“ทุกอย่างดึงเราเข้ามาเชื่อมโยงต่อกัน เครือข่ายของการผลิตกระจายไปทั่วภูมิศาสตร์อาเซียน เราต้องเผชิญหน้ากับตลาดการเงินโลก หากขอกู้ 20 ล้าน คุณจะได้เลย 100 ล้าน โดยเขาไม่ได้บอกว่าค่าเงินบาทผันผวนอย่างไร ซึ่งเราก็ไม่คิดถึงตอนใช้คืนว่ายอดเงินจะเพิ่มขึ้นเเค่ไหน” อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าว

ดร.สุรินทร์ กล่าวถึง การเจรจาด้านการค้าระดับพหุภาคี ในการเจรจาเเต่ละครั้งจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง โดยต้องทำความเข้าใจกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเเละเตรียมพร้อมเพื่อหาทางเเก้ไข หากเศรษฐกิจอยู่ในช่วงที่ไม่ค่อยดีนัก

ADVERTISMENT

โดยการทำความเข้าใจเเละศึกษาโลกาภิวัตน์ ทำให้คนที่อยู่ในฐานะยากจนจะถูกยกระดับขึ้นมา คนที่อยู่ชนชั้นกลางในประเทศกำลังพัฒนาก็สามารถเท่าเทียมคนชั้นกลางในยุโรปได้ ทั้งนี้หากใช้โลกาภิวัตน์ในทางที่ไม่ถูกต้องอาจก่อผลเสีย อาทิ ผู้คนตกงาน หรืออยู่ในสถานะว่างงาน จากการดึงแรงงานต่างชาติเข้ามาแย่งงาน ส่งผลโดยตรงต่อดุลทางการค้า เเละยังเห็นได้ว่า “โลกาภิวัตน์คือสิ่งที่สร้างผลกระทบ”

เขายกสถิติการสำรวจเเสดงให้เห็นว่า การค้าประมาณ 18 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ตกร่วงลงมาอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตประมาณ 4-5% ของอัตราการขยายตัวของโลก

ADVERTISMENT

“เราเจอปัญหาขาดเเคลนเเรงงานโดยตรงทั้งในอุตสาหกรรม การเเปรรูป ต้องทำใจเเละใช้เเรงงานต่างชาติ เราต้องการเเรงงานที่ใช้มือเพื่อย้ายของ บริการคน ย้อนกลับไปเมื่อ 4 ปีที่เเล้วมีการสำรวจจาก ยูเอ็น ถึงทัศนะคติของคนไทยต่อเเรงงานต่างชาติ 90% บอกว่า แรงงานต่างชาติเสี่ยงต่อความมั่นคง แต่พวกเขาก็มักมีเเม่บ้าน เเละคนขับรถที่เป็นคนต่างชาติ”

อดีตเลขาธิการอาเซียนเผยถึงผลกระทบด้านที่สอง คือการเปิดโลกาภิวัฒน์ไม่ต่างจากเอาตัวเองออกสู่โลกภายนอก ประเทศไทยได้ประโยชน์ด้านการค้าเเละการลงทุนขนาดใหญ่ เข้าถึงกลุ่มผู้มีอำนาจซื้อ ซึ่งเป็นชนชั้นกลาง แต่ไทยมีปัญหาคือการจัดการเรื่องเเรงงานของประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาเหล่านี้ทำให้ไทยต้องเผชิญกับการจัดเเรงงานที่ไม่โปร่งใส ส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์

ผลสำรวจจากสหรัฐเผยว่า การค้ามนุษย์ในไทยอยู่อันดับสอง เกิดมาจากตลาดเเรงงานที่มีตัวเลือกเยอะ เเต่อยากได้คนดี ส่งผลไปถึงการจ่ายเงินสำหรับการทุจริตข้ามประเทศมาทำงาน ยิ่งพัฒนามากเท่าไหร่ ปัญหาก็หนักขึ้นมากเท่านั้น ตามมาถึงข้อตกลงระหว่างประเทศไปจนถึงระดับเอเปคก็ยังพบปัญหาเช่นเคย ประเทศจำเป็นต้องเเก้ไขกันเอง เพื่อให้มีภูมิคุ้มกัน หากเกิดกรณีใกล้เคียงขึ้นอีก

นอกจากนี้ ดร.สุรินทร์ ได้กล่าวถึงสิ่งที่ยังอยู่ได้ในโลกยุคใหม่ ซึ่งได้เเก่เทคโนโลยี งานวิจัยเเละวิทยาศาสตร์ โดยจะมีช่องว่างของคนที่ต่อต้านโลกาภิวัตน์มากขึ้น จึงจะต้องมีมาตรการจัดการการค้าที่ขยายตัว โดยสินค้าราคาสูงกว่าเมื่อ 10 ปีที่เเล้วถึง 2 เท่า การเปิดตลาดโลกาภิวัตน์ เสรีนิยมที่กำลังขายได้อย่างดี สนามการค้าที่เท่าเทียมกำลังทำให้สินค้าทะลักเข้ามา

“ใครก็ตามที่มีอัตราการค้าส่วนเกิน เอาสินค้าราคาถูกมาทุ่มตลาด ค้าปลีกรับกำไรมากกว่า อาจเรียกว่าเป็นการค้าที่ไม่เท่าเทียม คนที่คิดว่ากำลังขาดทุนจากโลกาภิวัตน์ จะต้องคิดสองครั้ง ว่าโลกาภิวัตน์คืออะไร เราจะได้ประโยชน์จากมันอย่างไร สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่มั่นคง เเต่เป็นเรื่องที่ต้องปรับ ปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์จะต้องผ่านไปให้ได้”

ดร.สุรินทร์ กล่าวว่า การเข้าสู่ช่วงครึ่งทศวรรษนี้ เราจะต้องไว้ใจ มีวิสัยทัศน์ ความสามารถในการนำประชาชนเดินไปตามเส้นทางนี้ได้ ประเทศอาเซียนจะไม่ได้มาถกเถียงกันเรื่องการเลือกตั้ง เพราะถือว่าเป็นเรื่องภายในของเเต่ละประเทศ การบูรณาการในภูมิภาคอาเซียน ต้องทำอย่างไรไม่ให้ถูกกระทบ จากข้อตกลงภายนอกกลุ่มอาเซียน นอกเหนือจากมุ่งหวังจากประโยชน์เเละกำไร เป็นการเดินทางสองเส้นทางที่คู่กันไปในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า สำหรับอาเซียนถือเป็นพันธกิจร่วมกัน ไม่อย่างนั้นจะต้องเป็นเหยื่อของเเนวโน้ม หรือปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะขัดขวางการก้าวหน้าของเราต่อไป