ภาวะซึมเศร้า : ไขข้อข้องใจเรื่องจริง เรื่องหลอกเกี่ยวกับยาต้านเศร้า

  • เรเชล เชรยา
  • ผู้สื่อข่าวด้านสุขภาพและการต้านข่าวปลอม

งานวิจัยที่บอกว่าภาวะซึมเศร้าไม่ได้เกิดจากการที่เซโรโทนิน หรือ “ฮอร์โมนความสุข” มีระดับต่ำ กลายเป็นหนึ่งในงานวิจัยทางการแพทย์ที่ถูกแชร์มากที่สุดในโลก

สิ่งนี้นำไปสู่ข้อกล่าวอ้างผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยาต้านเศร้า (antidepressants) ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานด้วยการเข้าไปเพิ่มฮอร์โมนเซโรโทนินในสมองของผู้ป่วย

งานวิจัยที่เป็นประเด็นดังกล่าวไม่ได้บอกว่ายาต้านเศร้าเหล่านี้ไม่มีประสิทธิภาพ ทว่าผลตอบรับต่องานวิจัยดังกล่าวนำไปสู่คำถามสำคัญว่าผู้คนรักษาและมองถึงอาการป่วยทางจิตอย่างไร

ซาราห์ และแม่

ที่มาของภาพ, AFP

หลังจากที่ซาราห์ต้องเผชิญหน้ากับภาวะทางจิตเวชชั่วคราว (psychiatric episode) ครั้งใหญ่เมื่อตอนที่เธออายุได้ 20 ปี ทีมแพทย์ผู้ดูแลอากาาอธิบายกับเธอว่ายาที่พวกเขาสั่งจ่ายนั้นคล้ายกับ “ฮอร์โมนอินซูลินที่ใช้กับผู้ป่วยเบาหวาน” ยาเหล่านี้มีความสำคัญ พวกมันจะเข้าไปจัดการให้สารเคมีในสมองของเธอกลับมาเป็นปกติ และเธอจะต้องทานยาเหล่านี้ไปตลอดชีวิต

แม่ของซาราห์ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ประเภทที่ 1 [ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอ] ดังนั้นเธอจึงจริงจังกับการทานยาอย่างมาก

ซาราห์ทานยาต่อไปแม้มันจะดูราวกับว่าอาการของเธอแย่ลง สุดท้ายเธอได้ยินเสียงในสมองสั่งให้ฆ่าตัวตาย และเธอเริ่มหันไปรักษาด้วยการใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นสมองเพื่อให้เกิดอาการชัก (electroconvulsive therapy) หรืออีซีที

คำกล่าวอ้างว่าเธอต้องการยาต้านเศร้าเช่นเดียวกับที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องการอินซูลินไม่ตั้งอยู่บนหลักฐานทางการแพทย์ใด ๆ ทั้งสิ้น

“ฉันรู้สึกถูกทรยศจากคนที่ฉันเชื่อใจ” ซาราห์กล่าว

Graphic representation of serotonin in the brain

ที่มาของภาพ, Getty Images

ปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาต้านเศร้าของเธอรุนแรงมาก ทว่าข้อความว่า “ความไม่สมดุลของสารเคมี” ที่เธอได้รับมานั้นไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร

จิตแพทย์จำนวนมากรู้มาเป็นเวลานานแล้วว่าฮอร์โมนเซโรโทนินในระดับต่ำไม่ใช่สามารถเหตุหลักของภาวะซึมเศร้า และงานวิจัยชิ้นนี้ก็ไม่ได้พูดถึงการค้นพบอะไรใหม่ ๆ

ท่วาการตอบสนองอย่างท่วมท้นจากสาธารณะทำให้มองได้ว่านี่เป็นข่าวใหม่สำหรับอีกหลายคน

ทว่าคนบางส่วนกลับไปด่วนสรุปโดยไม่ดูข้อเท็จจริง โดยเปลี่ยนจากยาต้านเศร้าไม่ได้ทำงานด้วยการเข้าไปปรับระดับสารเคมีที่ไม่สมดุลให้กลายเป็นยาต้านเศร้าไร้ประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง

และบรรดาแพทย์เกรงว่าประชาชนผู้ตกอยู่ในความสับสนของข้อมูลนั้นจะเลือกหยุดยาอย่างกระทันหันและมีความเสี่ยงสูงจากฤทธิ์ที่เกิดจากการหยุดยา

สถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการแพทย์ (NICE – ไนซ์) ในสหราชอาณาจักร กล่าวว่าผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาเหล่านี้อย่างกะทันหัน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์เท่านั้น และการค่อย ๆ ลดโดสยาลงจะช่วยให้ผู้ป่วยเลี่ยงความเสี่ยงจากการหยุดยาได้มากขึ้น

ซาราห์

งานวิจัยชั้นนี้บอกอะไรกันแน่

งานวิจัยชิ้นล่าสุดที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อ 20 ก.ค.2022 ที่ผ่านมานี้นั้น เข้าไปศึกษา 17 งานวิจัย และพบว่าคนที่มีภาวะซึมเศร้าไม่ได้มีระดับฮอร์โมนเซโรโทนินในสมองแตกต่างจากคนปกติ

การค้นพบครั้งนี้ช่วยให้นักวิจัยสามารถตัดตัวเลือกจากคำถามว่ายาต้านเศร้าทำงานอย่างไรออกได้ หลายคนเคยเชื่อว่ายาต้านเศร้าทำงานด้วยการเข้าไปปรับระดับฮอร์โมนในสมอง

“พวกเรารู้ว่าพาราเซตามอลสามารถลดอาการปวดศรีษะได้ และผมไม่คิดว่าจะมีใครที่เชื่อว่าอาการปวดศรีษะเกิดขึ้นจากระดับพาราเซตามอลในสมองที่ไม่เพียงพอ” ดร.ไมเคิล บลูมฟีลด์ ชี้

สรุปแล้วยาต้านเศร้ามีประสิทธิภาพไหม

งานวิจัยชี้ว่ายาต้านเศร้ามีประสิทธิภาพดีกว่ายาหลอก [ยาปลอมที่นักวิจัยบอกกับผู้ร่วมทดลองว่าเป็นยาจริง] ไม่มาก มีการโต้เถียงมากมายในแวดวงนักวิจัยว่าความแตกต่างระหว่างยาจริงกับยาหลอกมีมากแค่ไหนกันแน่

ขณะเดียวกันกลุ่มกลาง ๆ คือผู้ที่รู้สึกอาการดีขึ้นอย่างชัดเจนหลังการทานยาต้านเศร้า ปัญหาคือทีมแพทย์ยังหาหนทางดี ๆ ในการตรวจสอบว่าพวกเขาเป็นใครไม่ได้เมื่อมีการสั่งจ่ายยา

ศ.ลินดา แก็สค์ จากราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า ยาต้านเศร้า คือ “บางสิ่งที่สามารถช่วยให้ผู้คนจำนวนมากรู้สึกดีขึ้นอย่างรวดเร็ว” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤต

ทว่าหนึ่งในผู้เขียนงานศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับฮอร์โมนเซโรโทนินชิ้นที่สร้างให้เกิดข้อถกเถียงอย่างหนักอย่าง ศ.โจแอนนา มอนครีฟฟ์ ชี้ว่างานวิจัยส่วนมากที่มีบริษัทยาเป็นผู้สนับสนุนทุนมักเป็นการวิจัยระยะสั้น จึงยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ใช้ยาต้านเศร้าอาการเป็นอย่างไรหลังกินยาไปแล้ว 2-3 เดือน

ผู้หญิงสองคน

ที่มาของภาพ, Getty Images

“คุณต้องบอกว่าเราจะเดินหน้าทบทวนมันต่อไปและเราจะไม่ให้คุณใช้ยาพวกนี้นานกว่าที่คุณต้องการพวกมัน” ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ศ.แก๊สค์ เห็นด้วย

แม้การไม่เข้ารับการรักษาอาการซึมเศร้าจะมีความเสี่ยง ทว่าผู้ป่วยบางคนเผชิญหน้ากับปฏิกิริยาตอบสนองอย่างรุนแรงต่อยาต้านเศร้าเช่นกัน ซึ่งเหล่าผู้เขียนงานวิจัยเกี่ยวกับเซโรโทนินออกมาชี้ว่าจำเป็นต้องมีการพูดเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมามากขึ้น

ตามข้อมูลจากไนซ์ ผลข้างเคียงของยาต้านเศร้าอาจรวมถึงความคิดและความพยายามฆ่าตัวตาย, ความผิดปกติทางเพศ, การมีอารมณ์เฉยชา (emotional numbing) และอาการนอนไม่หลับ

ตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปีที่ผ่านมา แพทย์ในสหราชอาณาจักรได้รับคำแนะนำให้รักษาผู้ป่วยผ่านการออกกำลังกาย การฝึกจิต การทำสมาธิ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้มีอาการรุนแรงมากนัก ก่อนที่จะมีการสั่งจ่ายยา

hand holding tablet with water

ที่มาของภาพ, Getty Images

ผู้คนพูดถึงงานวิจัยชิ้นนี้อย่างไร

หนึ่งในคำกล่าวอ้างผิด ๆ ที่ผู้คนชี้ว่าสรุปมาจากงานวิจัยคือการสั่งจ่ายยาต้านเศร้า “อ้างอิงมาจากเรื่องปลอม”

ทว่างานศึกษาดังกล่าวไม่ได้ศึกษาการใช้ยาต้านเศร้าเลยด้วยซ้ำ

ฮอร์โมนเซโรโทนินมีบทบาทกับอารมณ์ของเรา ดังนั้นการปรับแต่งระดับของมันสามารถทำให้ผู้คนรู้สึกมีความสุขขึ้นได้ อย่างน้อยที่สุดก็ในเวลาสั้น แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้มีระดับฮอร์โมนดังกล่าวที่ต่ำกว่าปกติมากก็ตาม มันยังอาจช่วยให้สมองสร้างการเชื่อมต่อเซลล์ประสาทใหม่ ๆ ได้ด้วย

ขณะที่คนอีกกลุ่มอ้างว่างานวิจัยดังกล่าวเผยให้เห็นว่าแท้จริงแล้วภาวะซึมเศ้ราไม่ใช่อาการป่วยที่เกิดจากสมองของคน แต่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองจากสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอยู่

“แน่นอนว่ามันคือทั้งคู่” ดร.มาร์ค โฮโรวิตซ์ หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัยดังกล่าวชี้

“พันธุกรรมของคุณส่งผลต่อความอ่อนไหวต่อระดับความเครียด” เขายกตัวอย่าง

ทว่าการได้รับ “คำปรึกษาด้านความสัมพันธ์ คำแนะนำทางการเงิน หรือการเปลี่ยนงาน” อาจดีกกว่าการทานยาสำหรับผู้คนที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก

ทว่าโซอีผู้อาศัยอยู่ในออสเตรเลียตะวันออกเฉียงใต้ และมีประสบการณ์ทั้งภาวะซึมเศร้าและภาวะวิกลจริต (psychosis) กล่าวว่า การเปลี่ยนการเรียกชื่อภาวะซึมเศร้าเป็น “ทุกข์” (distress) ที่จะหายไปเมื่อเรา “แก้ไขปัญหาสังคมจนหมดไป” เป็นการตีความที่ง่ายเกินไป ทั้งยังมองข้ามผู้ป่วยทางจิตที่มีอาการรุนแรงกว่า

ครอบครัวของโซอีมีประวัติเป็นโรควิกลจริตทว่าอาการของโรคจะถูกกระตุ้นจากเหตุการณ์ที่มีความตรึงเครียดอาทิ ช่วงสอบ

โซอีได้ “คำนวณ” แล้วว่าผลกระทบของยาต้ายเศร้า “คุ้มค่า” พอที่จะใช้หลีกเลี่ยงภาวะวิกลจริตรุนแรง

นั่นคือหนึ่งสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญั้งหมดที่คุยกับบีบีซี นิวส์ เห็นตรงกัน คือผู้ป่วยจำเป็นต้องมีข้อมูลที่มาเพียงพอ และได้รับการอธิบายที่ดีกว่านี้ เพื่อที่พวกเขาจะสามารถคำนวณเรื่องยาก ๆ ให้กับตัวเองได้

…..

ข่าว บีบีซี ไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ประชาชาติธุรกิจ เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว