
1 ต.ค. 2553
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เข้าบัญชีวันนี้ 5 จังหวัด
- วิธีเช็กเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท chongkho.inbaac.com
- EV จีนทุบราคาเลือดสาด ฉางอานท้ารบ-BYD เกทับลดอีกแสน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

2556-2557
ประชาชนประท้วงต่อต้านการผลักดันร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม “ฉบับสุดซอย” ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการชุมนุมบนท้องถนนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ลาออก

พ.ค. 2557
ศาลรธน. มีมติให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ขณะนั้น พ้นตำแหน่ง เนื่องจากการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่กี่วันต่อมา กองทัพก็ทำรัฐประหาร

24 ส.ค 2557
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ลงมติเมื่อ 21 ส.ค. 2557 เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้ง พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ 191 เสียง งดออกเสียง 3 ในเวลาต่อมา มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง มีผล 24 ส.ค. 2557

7 ส.ค 2559
ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ได้รับการรับรองด้วยเสียงท่วมท้นในการลงประชามติ ซึ่งผู้เห็นต่างไม่ได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรมรณรงค์คัดค้าน รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ยังคงเปิดช่องให้กองทัพเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองได้

6 เม.ย 2560
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มี 16 หมวด 279 มาตรา เนื้อหามีการปรับปรุงให้สอดคล้องตามข้อสังเกตพระราชทานให้ปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในหมวดที่เกี่ยวกับพระราชอำนาจ หลังผ่านการลงประชามติของประชาชนมาแล้ว

ก.ย. 2560
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี คดีทุจริตโครงการจำนำข้าว

5 มิ.ย. 2562
รัฐสภามีมติท่วมท้นเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ด้วยคะแนน 500 เสียง จาก 750 เสียง วุฒิสมาชิกที่ พล.อ.ประยุทธ์แต่งตั้งมาก่อนหน้าพร้อมใจโหวตในทางเดียวกัน

21 ก.พ. 2563
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ พร้อมเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 10 ปี รวมถึงนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค

23-25 ก.พ. 2563
หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคอนาคตใหม่ เกิด “แฟลชม็อบ” ของกลุ่มนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในสถาบันการศึกษา เช่น ม. ธรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ม. รามคำแหง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

18 ก.ค. 2563
กลุ่ม “เยาวชนปลดแอก” นัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ยื่น 3 ข้อเรียกร้อง คือ หยุดคุกคามประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยุบสภา หลังจากสมาชิกกลุ่ม “เยาวชนตะวันออกเพื่อประชาธิปไตย” ถูกจับกุมขณะถือป้ายประท้วง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ จ.ระยอง
Media playback is not supported on your device.
16 ส.ค 2563
กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “คณะประชาชนปลดแอก” จัดการชุมนุมครั้งใหญ่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมีผู้ร่วมชุมนุมหลายหมื่นคน ถือว่ามากที่สุดในรอบ 6 ปี นับตั้งแต่การรัฐประหาร คสช. โดยแกนนำย้ำ 3 ข้อเรียกร้อง 2 หลักการ และ 1 ความฝัน

17-18 ส.ค 2563
เกิดปรากฏการณ์นักเรียนมัธยม “ชูสามนิ้ว” และติดโบว์ขาวต้านเผด็จการในอย่างน้อย 16 จังหวัด

พ.ย 2564
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 10 พ.ย. 2564 ระบุว่า การชุมนุมของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เมื่อ 10 ส.ค. 2563 มี “เจตนาซ่อนเร้นล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มิใช่เป็นการปฏิรูป” สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างทางการเมือง พร้อมเรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อนิยามของประชาธิปไตย และคำถามถึงการบังคับใช้ของคำสั่งศาล

ส.ค. 2565
กิจกรรมประท้วงต่อต้านนายกฯ ประยุทธ์เกิดขึ้นหลายจุด อาทิ ที่ลานคนเมือง หน้าศาลากว่าการ กทม, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนินกลาง, หน้ารัฐสภา แยกเกียกกาย, ใกล้ทำเนียบรัฐบาล

24 ส.ค. 2565
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์รับตีความการดำรงตำแหน่ง “นายกฯ 8 ปี” และสั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ หยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย

26 ส.ค. 2565
พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลำดับ 1 ขยับขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประวิตรเดินทางเข้าทำงานที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นครั้งแรก

6-7 ก.ย. 2565
ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับ หนึ่งในนั้นคือการเสนอให้ตัดอำนาจ ส.ว. ในการร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี หรือที่รู้จักในชื่อ “ปิดสวิตช์ ส.ว.” และกำหนดให้นายกฯ มาจาก ส.ส. เท่านั้น ก่อนที่เสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส. และ ส.ว. จะตีตกร่างทั้งหมด

6 ก.ย. 2565
สังคมให้ความสนใจเอกสารชื่อ “ความเห็นต่อมาตรา 264 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ลงนามโดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ส่งให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ยาว 3 หน้า

8 ก.ย. 2565
ศาลรัฐธรรมนูญประชุมนัดพิเศษเพื่อพิจารณากรณีการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยสั่งขอเอกสารเพิ่มเติม และนัดพิจารณาคดีครั้งต่อไป วันที่ 14 ก.ย. 2565

14 ก.ย. 2565
ศาลรัฐธรรมนูญได้อภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแล้วเห็นว่า คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง จึงกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ และอ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟัง ในวันที่ 30 ก.ย. 2565 เวลา 15.00 น.

30 ก.ย. 2565
ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยคดี “นายกฯ 8 ปี”

……
ข่าว บีบีซี ไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ประชาชาติธุรกิจ เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว