อินเดีย: ปริศนาพินัยกรรมลึกลับของมหาราชาแห่งอินเดีย

ในเดือนกันยายน ศาลฎีกาของอินเดียได้ปิดฉากความบาดหมางของราชวงศ์ที่กินเวลากว่าสามทศวรรษเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของทรัพย์สินมูลค่ากว่า 2 แสนล้านรูปี (92,610 ล้านบาท)

ข้อพิพาทกลายเป็นประเด็นใหญ่หลังจากการสิ้นพระชนม์ของ ฮารินเดอร์ สิงห์ บราร์ ผู้ปกครองคนสุดท้ายของอดีตรัฐมหาราชาชองอินเดียที่ชื่อว่าฟาริดคอต (ปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือของรัฐปัญจาบ) ในปี 1989 พระธิดาคนโตของเขาได้ฟ้องพินัยกรรม เพราะตามพินัยกรรมฉบับนั้นระบุไว้ว่าเธอไม่ได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินเลย

ศาลสูงกล่าวในเวลาต่อมาว่า พินัยกรรมนี้เป็น “เรื่องที่แต่งขึ้นมา ปลอมแปลง และปกคลุมไปด้วยสถานการณ์ที่น่าสงสัย” และมอบทรัพย์สินส่วนสำคัญของทรัพย์สินให้แก่พระธิดาทั้งสองของฮารินเดอร์ สิงห์

การเดินทางสู่ช่วงเวลานี้เกี่ยวข้องกับการแย่งชิงทางกฎหมายเป็นเวลาหลายปีและพินัยกรรมอย่างน้อยสามฉบับ รวมถึงฉบับที่ไม่น่าเชื่อถือด้วย

Amrit Kaur, the daughter of the late Maharaja of Faridkot- Harinder Singh Brar, poses with a portrait of the Maharaja at her residence in Chandigarh on August 2, 2013

ที่มาของภาพ, Getty Images

พินัยกรรมอันเป็นที่พิพาท

ในปี 1948 หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช ฮารินเดอร์ สิงห์ ได้ลงนามในข้อตกลงกับรัฐบาลที่ทำให้เขายังคงการควบคุมทรัพย์สินบางส่วนของเขาได้ เช่นเดียวกับผู้ปกครองของรัฐอื่น ๆ ในสมัยก่อน

ซึ่งรวมถึงพื้นที่หลายร้อยเอเคอร์ ป้อมปราการ อาคารสิ่งปลูกสร้าง เครื่องบิน รถโบราณ และเงินในธนาคาร ซึ่งทรัพย์สินทั้งหมดนี้กระจายอยู่ไปทั่วรัฐปัญจาบ หิมาจัลประเทศ รัฐหรยาณา และเดลี

“ผู้ปกครองแห่งฟาริดคอตทำงานด้านการพัฒนามากมาย เช่น ในรถไฟและการสร้างโรงพยาบาล” ฮาร์เจสวาร์ พัล สิงห์ นักประวัติศาสตร์กล่าว พร้อมเสริมว่าทั้ง ฮารินเดอร์ สิงห์ และบรรพบุรุษของเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับอังกฤษ

The National Human Rights Commission office is seen at the Faridkot House complex in New Delhi on July 29, 2013.

ที่มาของภาพ, Getty Images

ฮารินเดอร์ สิงห์ และพระมเหสีของเขามีราชโอรสและราชธิดาสี่พระองค์ แบ่งเป็นพระราชโอรสพระหนึ่งองค์และพระราชธิดาสามพระองค์

โดยในทั้งหมดนี้มีมีเพียง อมฤต กัวร์ พระราชธิดาคนโตเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยพระราชทายาทสองพระองค์ของเขาที่ชื่อว่าทิคคา ฮาร์โมฮินเดอร์ สิงห์ และ มาฮีพินเดอร์ กัวร์ สิ้นพระชนม์โดยไม่มีทายาท

ในปี 1950 ฮารินเดอร์ สิงห์ ได้ทำพินัยกรรมฉบับแรกของเขา ซึ่งได้ระบุถึงทรัพย์สินซึ่งรวมถึงแฟลตสี่ห้องและเงินในบัญชีธนาคารบางบัญชี ทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกแบ่งเท่า ๆ กันระหว่างพระราชธิดาทั้งสามพระองค์ของเขา

สองปีต่อมา เขาทำพินัยกรรมฉบับที่สอง ซึ่งระบุว่าเขาไม่ต้องการทิ้งอะไรให้ อมฤต กัวร์ แต่จะมีการแบ่งปันทรัพย์สินระหว่างพระธิดาอีกสองพระองค์แทน

คำสั่งศาลฎีการะบุว่าเหตุผลของเรื่องนี้ดูเหมือนว่า “พระราชธิดาคนโตแต่งงานกับคนที่ค้านกับความต้องการของพระราชบิดา”

สามปีต่อมา อดีตกษัตริย์ได้ทำพินัยกรรมเพิ่มอีกหนึ่งฉบับ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนในลอนดอน และไม่ได้ตัดสิทธิการรับมรดกของอมฤต กัวร์

ตามพินัยกรรมฉบับนี้ พระองค์จะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินหลังจากที่มีพระชนมายุครบ 25 พรรษา หรือหลังจากที่หย่าร้างจากพระสวามีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แล้วแต่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งจะเกิดขึ้นก่อน

แต่หลังจากที่เขาเสียชีวิต อมฤต กัวร์ ซึ่งกลับมาปรองดองกับพระราชบิดาของพระองค์ในตอนนั้น รู้สึกตกใจเมื่อได้อ่านพินัยกรรมฉบับที่สาม

พินัยกรรมฉบับบนี้ลงวันที่ 1 มิถุนายน 1982 ไม่กี่เดือนหลังจากการสิ้นพระชนม์ของของ ทิคคา ฮาร์โมฮินเดอร์ สิงห์ จากอุบัติเหตุทางถนน

เอกสารฉบับนี้ระบุว่าทรัพย์สินทั้งหมดจะได้รับการจัดการโดยผู้จัดการมรดก โดยมีผู้ดูแลทรัพย์สินซึ่งรวมถึงพระเชษฐภคินี (พี่สาว) สองคนของพระองค์และญาติของพระมารดาของ ฮารินเดอร์ สิงห์

Indian men walk in premises of the Faridkot House complex in New Delhi on July 29, 2013.

ที่มาของภาพ, Getty Images

การต่อสู้ในชั้นศาล

ในปี 1991 อมฤต กัวร์ ได้ฟ้องพินัยกรรมโดยอ้างถึงกรรมสิทธิหนึ่งในสามของทรัพย์สิน พระเชษฐภคินีของพระองค์ ดีพินเดอร์ กัวร์ และ มาฮีพินเดอร์ กัวร์ อีกทั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ในพินัยกรรมคนอื่น ๆ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นคู่สัญญา

แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด คันวา มันจิต อินเดอร์ สิงห์ พระอนุชาของฮารินเดอร์ สิงห์ ก็ยื่นฟ้องเช่นกัน โดยโต้แย้งว่าเขามีสิทธิ์ได้รับมรดกในฐานะญาติสนิทที่ยังมีชีวิตอยู่

ในปี 2013 ศาลพิจารณาคดีมีคำพิพากษาทั้งสองคดี โดยระบุว่าพินัยกรรมฉบับที่สามไม่ใช่ของแท้และ อมฤต กัวร์ มีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งของทรัพย์สินทั้งหมดร่วมกับ ดีพินเดอร์ กัวร์ (มาฮีพินเดอร์ กัวร์ สิ้นพระชนม์ในปี 2001)

จาซซี อนันต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช บอกกับบีบีซีว่าพวกเขาได้ทำการวิเคราะห์พินัยกรรมฉบับที่สามอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อพิสูจน์ว่าอดีตกษัตริย์ไม่ได้เป็นคนเขียนขึ้นมา

“พระราชาทรงเป็นบุรุษผู้รอบรู้และมีลายมือที่สวยงาม แต่นั่นไม่ได้สะท้อนให้เห็นในพินัยกรรมที่กล่าวอ้างของพระองค์ ซึ่งมีข้อผิดพลาดมากมายในการสะกดคำ และลายเซ็นของพระองค์ก็ถูกปลอมแปลง” เธอกล่าว พร้อมเสริมว่ามีการใช้เครื่องพิมพ์ดีดหลายเครื่องเพื่อทำพินัยกรรมฉบับนี้

การพิจารณาคดีของศาลยังปฏิเสธการอ้างสิทธิ์ของ คันวา มันจิต อินเดอร์ สิงห์ ในที่ดินที่เขากล่าวอ้าง

ผู้ดูแลทรัพย์สิน ดีพินเดอร์ กัวร์ และภารัท อินเดอร์ สิงห์ โอรสของ คันวา มันจิต อินเดอร์ สิงห์ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคำตัดสินดังกล่าว

ในปี 2020 ศาลสูงของรัฐปัญจาบและรัฐหรยาณาสนับสนุนการตัดสินของศาลพิจารณาคดีและกล่าวว่าพินัยกรรมฉบับที่สามถูกปลอมแปลงขึ้น

Faridkot State Library Building

นอกจากนี้ยังปฏิเสธข้อเรียกร้องของอดีตพระอนุชาของกษัตริย์ด้วย แต่บอกว่าเขามีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่ง 25% ในทรัพย์สิน เนื่องจากพระมารดาของพวกเขาเสียชีวิตในปี 1991 สองปีหลังจากฮารินเดอร์ สิงห์

ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ศาลฎีกายอมรับคำสั่งของศาลสูงและมีคำสั่งให้คณะผู้จัดการมรดกซึ่งบริหารทรัพย์สินมาจนถึงปัจจุบัน ถูกยุบโดยทันที

ทรัพย์สินที่เหลือจะถูกแบ่งระหว่างอมฤต กัวร์ และครอบครัวของดีพินเดอร์ กัวร์ ซึ่งเสียชีวิตในปี 2018 ในตอนนี้ตำรวจกำลังสืบสวนเกี่ยวกับพินัยกรรมปลอมอยู่

เกิดอะไรขึ้นในตอนนี้

ตอนนี้ครอบครัวต้องแบ่งทรัพย์สินตามส่วนแบ่งที่ศาลตัดสิน

วิธีหนึ่งคือให้พวกเขามาเจอกันและตัดสินใจว่าใครได้ทรัพย์สินอะไรไป

อีกทางเลือกหนึ่งคือการออกคำสั่งตามกฎหมายโดยศาล แต่สิ่งนี้อมารินเดอร์ สิงห์ หลานชายของ คันวา มันจิต อินเดอร์ สิงห์ กล่าวว่าขั้นตอนนี้จะใช้เวลานาน

“อย่างน้อยความบาดหมางในครอบครัวก็จบลงแล้ว” เขากล่าว

“แต่การดำเนินคดีจะยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากเรามีทรัพย์สินมากมาย ซึ่งมีหลายรายการที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล”

…..

ข่าว บีบีซี ไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ประชาชาติธุรกิจ เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว