จันทรุปราคา : เตรียมชมปรากฏการณ์ตื่นตา “จันทรุปราคาเต็มดวง” คืนวันลอยกระทง

 

NASA

ที่มาของภาพ, Fred Espenak/NASA

คืนวันลอยกระทง 8 พ.ย. 2565 จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา หรือราหูอมจันทร์ ซึ่งสามารถเห็นได้ในอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง พื้นที่ส่วนใหญ่ในเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ซึ่งหากพลาดครั้งนี้ จะไม่ได้เห็นไปจนกว่าจะถึงปี 2568

ขึ้นอยู่กับเขตเวลา บางประเทศจะได้เห็นดวงจันทร์กลายเป็นสีแดง หรือที่เรียกว่า ดวงจันทร์สีเลือด

ดวงจันทร์ในปรากฏการณ์นี้ได้ชื่อว่าเป็นสีเลือด เกิดจากการที่จันทรุปราคาเต็มดวงนั้น เงาของโลกจะบดบังแสงอาทิตย์ไปเกือบทั้งหมด แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ลอดผ่านชั้นบรรยากาศโลกไปถึงดวงจันทร์ได้ ทำให้เกิดการกรองแสงสีฟ้าออกไป จนเรามองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงจาง ๆ คล้ายกับเลือดนั่นเอง

ADVERTISMENT

จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 3 ในปี 2565 และจะเกิดขึ้นนาน 85 นาที หากไม่ได้ชมในครั้งนี้ จะเกิดจันทรุปราคาครั้งต่อไปในปี 2568 หรืออีก 3 ปี

จันทรุปราคาเต็มดวง

ADVERTISMENT

ที่มาของภาพ, AFP

อุปราคา (Eclipse) มีกี่แบบ

โดยทั่วไปแล้ว อุปราคาเกิดจากการโคจรของดวงจันทร์และโลกรอบดวงอาทิตย์ เมื่อโลกและดวงจันทร์เคลื่อนที่มาอยู่ในระนาบเดียวกันจะทำให้เกิดการบดบังแสงอาทิตย์และเกิดเงาขึ้นได้

“ปกติแล้ว อุปราคามี 2 แบบ คือ จันทรุปราคา และสุริยุปราคา” ฮวน คาร์ลอส บีมิน นักดาราศาสตร์ ศูนย์การสื่อสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยออโตโนมัสในชิลี กล่าวในหนังสือ Illustrated Astronomy ของเขาที่เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้

จันทรุปราคาเต็มดวง

ที่มาของภาพ, NASA

จันทรุปราคา (Lunar eclipse)

จันทรุปราคา (Lunar eclipse) จะเกิดขึ้นเมื่อโลกอยู่ในตำแหน่งกลางระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงาของโลก ส่วนสุริยุปราคา (Solar eclipse) จะเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้เงาของดวงจันทร์ทอดยาวตกลงบนพื้นโลก

จันทรุปราคานั้นสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 แบบย่อย ได้แก่จันทรุปราคาเต็มดวง, จันทรุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาเงามัว

ิิแ

จันทรุปราคาเต็มดวง (Total lunar eclipse) เกิดขึ้นเมื่อเงาของโลกบดบังแสงอาทิตย์ที่ส่องไปยังดวงจันทร์เกือบทั้งหมด เนื่องจากเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกใหญ่กว่าของดวงจันทร์ 4 เท่า อย่างไรก็ตาม ยังมีแสงสว่างบางส่วนที่ลอดผ่านชั้นบรรยากาศโลกไปถึงดวงจันทร์ได้ ปรากฎการณ์นี้ทำให้เกิดการกรองแสงสีฟ้าออกไป จนเรามองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงคล้ายเลือด

จันทรุปราคาบางส่วน (Partial lunar eclipse) เกิดขึ้นเมื่อพื้นผิวของดวงจันทร์เพียงบางส่วนเข้าไปในเงาของโลก สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าจันทรุปราคาเต็มดวง และมักเกิดขึ้นบ่อยถึงปีละสองครั้งเป็นอย่างน้อย เงาที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของดวงจันทร์อาจปรากฏเป็นสีแดงสนิมไปจนถึงสีเทาคล้ายเถ้าถ่าน ขึ้นอยู่กับองศาของการเกิดจันทรุปราคาครั้งนั้น

จันทรุปราคาเงามัว (Penumbral lunar eclipse) เกิดจากดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในบริเวณเงามัวของโลก ซึ่งเป็นเงาที่มีความสว่างมากกว่าเงามืดและมองเห็นได้ไม่ชัดเจนเท่า ยิ่งพื้นผิวของดวงจันทร์เข้าไปในเงามัวไม่มากนัก ก็จะยิ่งสังเกตเห็นได้ยาก ทำให้ไม่ค่อยมีการแจ้งถึงปรากฏการณ์นี้ให้คนทั่วไปได้ทราบ

จันทรุปราคา

ที่มาของภาพ, Getty Images

สุริยุปราคา (Solar Eclipse)

ส่วนสุริยุปราคานั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบเช่นกัน ได้แก่สุริยุปราคาเต็มดวง (Total solar eclipse), สุริยุปราคาวงแหวน (Annular eclipse), และสุริยุปราคาผสม (Hybrid eclipse) นอกจากนี้ยังมีอุปราคาของระบบดาวฤกษ์หลายดวง (Stellar eclipse) ที่อยู่นอกระบบสุริยะอีกด้วย

สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse) ขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์เล็กกว่าขนาดปรากฏของดวงจันทร์ ทำให้ผู้สังเกตเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มิดทั้งดวง

สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Eclipse) มีขนาดปรากฏเล็กกว่าขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ ทำให้ผู้สังเกตเห็นดวงอาทิตย์มีลักษณะคล้ายวงแหวน

สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse) สุริยุปราคาประเภทที่ดวงจันทร์จะบดบังดวงอาทิตย์บางส่วน ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง ผู้สังเกตเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเป็นเสี้ยว

……

ข่าว บีบีซี ไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ประชาชาติธุรกิจ เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว