
ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าภายในหนึ่งทศวรรษ ประมาณ 39% ของเวลาที่ใช้ในการทำงานบ้านและดูแลคนในครอบครัวจะถูกเข้ามาแทนที่ด้วยหุ่นยนต์
นักวิจัยจากสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่นได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence–AI) หรือ เอไอ จำนวน 65 คน ให้คาดการณ์ว่า หุ่นยนต์จะเข้ามาช่วยทำงานบ้านทั่วไปใน 10 ปีข้างหน้าได้มากแค่ไหน
- โรงเรียนเอกชนวิกฤต ส่อปิดกิจการอีกหลายแห่ง กรุงเทพฯ หนักสุด
- เปิดที่มาประเพณีเข็นรถพระที่นั่งวชิราวุธวิทยาลัย จากรัชกาลที่ 6 ถึงปัจจุบัน
- อย.สั่งอายัดอาหารนำเข้าจากจีน 124 รายการ 7 ร้านจำหน่ายใน กทม.
ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า การซื้อข้าวของจำเป็นต่าง ๆ น่าจะใช้หุ่นยนต์ทำแทนได้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนการดูแลเด็กและคนชราน่าจะได้รับผลกระทบจากเอไอน้อยที่สุด
งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพลอส วัน (PLOS ONE)
งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพลอส วัน (PLOS ONE)
บรรดานักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยโอชาโนมิซุ (Ochanomizu University) ของญี่ปุ่น ต้องการทราบว่า หุ่นยนต์จะส่งผลกระทบอย่างไรต่องานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้าง “ถ้าหุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานแทนเรา พวกมันจะช่วยเรานำขยะไปทิ้งด้วยหรือไม่” พวกเขาถาม
นักวิจัยสังเกตเห็นว่า หุ่นยนต์ “สำหรับงานบ้านในครัวเรือน” อย่างหุ่นยนต์ดูดฝุ่น “กลายเป็นหุ่นยนต์ที่ถูกขายและมีการผลิตออกมาอย่างแพร่หลายที่สุดในโลก”
ทีมงานขอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอ 29 คนจากสหราชอาณาจักร และ 36 คนจากญี่ปุ่น ช่วยคาดการณ์การใช้งานหุ่นยนต์ภายในบ้าน
นักวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญเพศชายจากสหราชอาณาจักรมีเห็นว่า จะมีการนำหุ่นยนต์มาใช้ทำงานบ้านมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้เชี่ยวชาญเพศหญิง แต่ผลสำรวจในญี่ปุ่กลับตรงกันข้าม
งานที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญคิดว่า หุ่นยนต์สามารถทำได้นั้นมีความแตกต่างกันไป ลู่ลู่ ซือ นักวิจัยหลังปริญญาเอก สถาบันอินเทอร์เน็ตอ็อกซ์ฟอร์ด (Oxford Internet Institute) กล่าวว่า “คาดว่า หุ่นยนต์จะช่วยงานดูแลต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมอย่างการสอนลูก, การอยู่เป็นเพื่อนลูก หรือการพาผู้สูงอายุในครอบครัวออกไปเดินเล่น ได้เพียง 28% เท่านั้น”
บรรดาผู้เชี่ยวชาญคาดว่า เทคโนโลยีจะช่วยลดเวลาที่ใช้ในการซื้อข้าวของพื้นฐานต่าง ๆ ลงได้ 60%
- นักวิจัยญี่ปุ่นสร้างนิ้วหุ่นยนต์ที่ห่อหุ้มด้วย “ผิวหนังมีชีวิต” ชิ้นแรกของโลก
- หุ่นยนต์ “เทอร์มิเนเตอร์” รุ่นจิ๋ว แหกคุกได้หลังหลอมละลายแล้วก่อตัวใหม่
- จากเด็กชอบต่อเลโก้ สู่นักวิจัยหุ่นยนต์ทางการแพทย์ไทยในอังกฤษ
แต่การคาดการณ์ว่า “ภายในเวลา 10 ปีข้างหน้า” หุ่นยนต์จะทำให้เราไม่ต้องทำงานบ้านเคยมีการคาดการณ์ไว้นานมาแล้ว แต่ก็ยังมีข้อกังขาอยู่ โดยในปี 1966 รายการ Tomorrow’s World ทางโทรทัศน์ ได้มีเรื่องราวเกี่ยวกับหุ่นยนต์ทำงานบ้านซึ่งสามารถทำกับข้าวได้, พาสุนัขไปเดินเล่น, ดูแลทารก, ซื้อของ, ผสมค็อกเทล และงานอื่น ๆ อีกหลายอย่าง
รายงานข่าวดังกล่าวระบุว่า ถ้าผู้สร้างหุ่นยนต์ได้รับเงิน 1 ล้านปอนด์ อาจจะใช้งานหุ่นยนต์นั้นได้ภายในปี 1976…
https://www.youtube.com/watch?v=T282C7cjWwg
เอแคเทอรีนา เฮอร์ท็อก รองศาสตราจารย์ด้านเอไอและสังคม (AI and Society) ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และเป็นหนึ่งในผู้ทำการศึกษานี้ ได้ลองยกตัวอย่างอีกด้านหนึ่ง ด้วยการเปรียบเทียบกับรถยนต์ไร้คนขับ “ความหวังในการมีรถยนต์ขับเคลื่อนเองได้ ออกไปวิ่งบนถนน แทนแท็กซี่มีมานานแล้ว ฉันคิดว่า ตอนนี้หลายสิบปีแล้ว และเราก็ยังไม่สามารถผลิตหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่ได้อย่างดี หรือรถยนต์ไร้คนขับที่เคลื่อนไปตามถนนที่ไม่สามารถคาดเดาสภาพแวดล้อมได้ บ้านก็น่าจะคล้ายกันในแง่นั้น”
ดร.เคต เดฟลิน อาจารย์อาวุโสด้านเอไอและสังคมที่คิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษานี้ ระบุว่า เทคโนโลยีน่าจะช่วยมนุษย์มากกว่าที่จะมาแทนที่มนุษย์ “มันยากและแพงมากในการสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานทั่วไป หรือทำงานหลายอย่างได้ กลับกัน มันง่ายกว่าและมีประโยชน์กว่าในการสร้างเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยเหลือเราแต่ไม่ได้มาแทนที่เรา”
งานวิจัยระบุว่า หุ่นยนต์ทำงานบ้านอาจจะช่วยลดเวลาในการใช้ทำงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างลงได้มาก โดยในสหราชอาณาจักร ชายวัยทำงานทำงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้างราวครึ่งหนึ่ง พอ ๆ กับหญิงวัยทำงาน ส่วนในญี่ปุ่นผู้ชายทำงานนี้น้อยกว่า 1 ใน 5
ศ.เฮอร์ท็อก กล่าวว่า ภาระงานบ้านของผู้หญิงที่ไม่ได้สัดส่วนกับของผู้ชาย ส่งผลกระทบด้านลบต่อรายได้ เงินออม และเงินบำนาญของผู้หญิง
ดังนั้น บรรดานักวิจัยเห็นว่า การใช้หุ่นยนต์เพิ่มขึ้นอาจส่งให้มีความเท่าเทียมทางเพศเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้อาจมีราคาแพง ถ้ามีเพียงคนส่วนน้อยในสังคมมีเงินในการนำระบบช่วยทำงานบ้านมาใช้งาน ศ.เฮอร์ท็อก กล่าวว่า “นั่นก็จะนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำของการมีเวลาว่างที่มากขึ้น”
เธอกล่าวว่า สังคมจำเป็นต้องตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการที่บ้านเต็มไปด้วยหุ่นยนต์สำหรับงานต่างชนิด “ซึ่งไม่ต่างกับการมีอเล็กซา (Alexa) ที่สามารถฟังและบันทึกสิ่งที่เรากำลังทำและส่งรายงานกลับไป”
“ฉันไม่คิดว่า เราในฐานะสังคมมีความพร้อมที่จะรับมือกับการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากมายมหาศาล”
หมายเหตุ : ข่าว บีบีซี ไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว