
บรรดานักวิทยาศาสตร์ในอังกฤษพบว่า แมลงภู่ (bumblebee) รู้จักแก้ปัญหาด้วยการดูและทำตามแมลงภู่อีกตัวที่มีประสบการณ์มากกว่า
ผู้เชี่ยวชาญจากวิทยาลัยควีนแมรี มหาวิทยาลัยลอนดอน (Queen Mary University of London–QMUL) ฝึกแมลงภู่กลุ่มหนึ่งให้เปิดกระป๋องปริศนาที่บรรจุน้ำตาลอยู่ข้างใน
- ประกาศพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด บุคคลนามสกุลดัง ประวัติศาสตร์ กุญชร ณ อยุธยา
- ธปท.กำหนดโอนเงิน-ปรับวงเงินเกิน 5 หมื่น ต้องยืนยันตัวตน
- Kept by krungsri ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด 1.7% ต่อปี เริ่มวันนี้ (9 มี.ค.)
ผลการศึกษาพบว่า จากนั้นแมลงภู่เหล่านี้ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับแมลงภู่ตัวอื่น ๆ ในฝูง
บรรดานักวิจัยค้นพบว่า “การเรียนรู้ทางสังคม” อาจจะส่งผลต่อพฤติกรรมของแมลงภู่มากกว่าที่เคยคิดไว้ก่อนหน้านี้
ในการทำการศึกษานี้ นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างกล่องปริศนาที่ถูกเปิดออกได้ด้วยการหมุนฝา เพื่อให้เข้าถึงน้ำตาลที่บรรจุอยู่
ในการหมุนเปิดฝา หากกดปุ่มสีแดงจะต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา แต่ถ้ากดปุ่มสีน้ำเงิน จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา
นักวิทยาศาสตร์ฝึกให้แมลงภู่ “ที่เป็นตัวสาธิต” ให้ใช้หนึ่งในวิธีการเหล่านี้เพื่อเปิดฝา และให้แมลงภู่ “ที่เป็นตัวสังเกตการณ์” คอยดู
เมื่อแมลงภู่ที่สังเกตการณ์แก้ปัญหานี้ได้ นักวิจัยพบว่า พวกมันเลือกที่จะใช้วิธีการเดียวกับที่ได้พบเห็นราว 98% แม้ว่าในเวลาต่อมาจะค้นพบวิธีการเปิดฝาอีกวิธีหนึ่งก็ตาม
การศึกษานี้ยังพบด้วยว่า แมลงภู่ที่ได้ชมการเปิดฝา เปิดฝากล่องได้มากกว่าแมลงกลุ่มควบคุม
นักวิจัยระบุว่า แสดงให้เห็นว่า แมลงภู่เหล่านี้มีการเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคมแทนที่จะค้นพบวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
- พบเพรียงเรือยักษ์ยาวหนึ่งเมตรครึ่งที่ฟิลิปปินส์
- ส่องวัฒนธรรมอาหารจากแมลงทั่วโลก
- บาร์ญี่ปุ่นใช้แมงดานาจากไทยปรุงค็อกเทลรับวาเลนไทน์
ดร.อลิซ บริดจ์ส ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย กล่าวว่า ไม่มีใครทราบว่า แมลงภู่ตามธรรมชาติมี “ปรากฏการณ์ที่คล้ายกับวัฒนธรรม”
แต่เธอระบุว่า จากการทดลองหลายครั้งพบเห็นแมลงภู่หลายกลุ่มแสดงออกถึงแนวโน้มที่จะส่งต่อและรักษาพฤติกรรมนี้คล้ายกับสัตว์ในตระกูลลิงและนก
เธอบอกว่า พฤติกรรมของแมลงที่มีสังคมอย่างแมลงภู่เหล่านี้ เป็น “หนึ่งในกลุ่มที่ซับซ้อนที่สุดในโลก”
ในการทดลองหลายครั้งที่มีการปล่อยทั้งแมลงภู่สาธิตที่เปิดทั้งฝาสีแดงและสีน้ำเงินเข้าไปอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ในตอนแรกแมลงภู่สังเกตการณ์จะฝึกใช้วิธีการทั้งสอง แต่ในที่สุดก็จะเลือกวิธีที่ชอบใช้มากกว่าหนึ่งอย่าง ซึ่งจะเป็นวิธีที่แมลงภู่ส่วนใหญ่ในฝูงใช้
ผลการศึกษานี้ระบุว่า นี่แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มเชิงพฤติกรรมอาจจะเกิดขึ้นภายในกลุ่มประชากรแมลงภู่
ในกรณีนี้ นักวิจัยระบุว่า การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในพฤติกรรมหาอาหารอาจจะเป็นเพราะแมลงภู่ที่มีประสบการณ์ เลิกหาอาการ และมีแมลงภู่ที่รู้จักหาอาหารตัวใหม่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่เป็นเพราะความพึงพอใจของแมลงภู่เปลี่ยนแปลงไป
หมายเหตุ : ข่าว บีบีซีไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว