ตรวจสอบจำนวนเขตเลือกตั้ง 400 เขตเลือกตั้งทั่วประเทศ

Getty Images

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรื่อง จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จํานวนเขตเลือกตั้งและท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งแล้ววันที่ 17 มี.ค. ปูทางสู่การเลือกตั้งทั่วไปอย่างเป็นทางการ

กกต. ระบุว่า การแบ่งเขตทั้ง 400 เขตเลือกตั้งเป็นไปตามมติ กกต. ที่ยึดตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้ว โดยเฉพาะแต่ละเขตต้องติดต่อกัน และผลต่างของจำนวนราษฎรแต่ละเขตไม่เกิน 10%

ทั้งนี้ การกำหนดพื้นที่เขตเลือกตั้งของ กกต. ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขตามข้อทักท้วงของฝ่ายการเมืองหลายฝ่ายที่มองว่า กกต. แบ่งเขตในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร อาจจะสร้างความสับสนให้กับประชาชน

ในจำนวนนั้นคือ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองขอให้มีคำสั่งเพิกถอนประกาศเขตเลือกตั้ง กทม. รวมแขวงเป็นเขตเลือกตั้งเนื่องจากว่าขัดต่อกฎหมาย และกระทบสิทธิประชาชน ทำให้เกิดความสับสนในการใช้สิทธิเลือกตั้ง

บีบีซีเรียบเรียงข้อมูลการแบ่งเขตเลือกตั้งทั่วไปประจำปี 2566 ดังนี้

จังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 1 เขต

  • ตราด, ระนอง, สมุทรสงคราม และ สิงห์บุรี

จังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต

  • ชัยนาท, นครนายก, พังงา, มุกดาหาร, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, สตูล, อ่างทอง, อำนาจเจริญ และ อุทัยธานี,

จังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต

  • กระบี่, จันทบุรี, ชุมพร, ตาก, น่าน, บึงกาฬ, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, แพร่, ภูเก็ต, ยโสธร, ยะลา, สมุทรสาคร, สระแก้ว, หนองคาย, หนองบัวลำภู และ อุตรดิตถ์

จังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต

  • กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, ตรัง, นครพนม, ลำปาง, เลย, สระบุรี และ สุโขทัย

จังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต

  • กาญจนบุรี, นราธิวาส, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, พิษณุโลก, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี และ สุพรรณบุรี

จังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 6 เขต

  • กาฬสินธุ์, นครปฐม, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์ และ มหาสารคาม

จังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 7 เขต

  • ชัยภูมิ, เชียงราย, ปทุมธานี, สกลนคร และ สุราษฎร์ธานี

จังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 8 เขต

  • นนทบุรี, ร้อยเอ็ด, สมุทรปราการ และ สุรินทร์

จังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 9 เขต

  • ศรีสะเกษ และ สงขลา

จังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 10 เขต

  • ชลบุรี, เชียงใหม่, นครศรีธรรมราช, บุรีรัมย์ และ อุดรธานี

จังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 11 เขต

  • ขอนแก่น และ อุบลราชธานี

จังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 16 เขต

  • นครราชสีมา

จังหวัดที่มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 33 เขต

  • กรุงเทพมหานคร

สามารตรวจสอบรายละเอียดพื้นที่ในแต่ละเขตได้ที่ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวนเขตเลือกตั้งและท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง

ที่มาของการคำนวณจำนวนเขตและ ส.ส.

เมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุม กกต. ชุดใหญ่ พิจารณากำหนดจำนวนสมาชิก ส.ส.แบ่งเขตเลือกตั้ง ที่แต่ละจังหวัดพึงจะมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด โดยพิจารณาจากจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร เมื่อ 31 ธ.ค. 2565 ซึ่งมีจำนวน 66,090,475 คน จึงมีจำนวนประชากรโดยเฉลี่ยประมาณ 165,226 คน ต่อจำนวน ส.ส. 1 คน

ภาพประกอบ

Getty Images

สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือน พ.ค. นี้ กกต. ปรับเพิ่มเขตเลือกตั้งจากเดิม 350 เขต เป็น 400 เขต ทำให้มีหลายจังหวัดที่ได้จำนวน ส.ส. เพิ่ม ประกอบด้วย

  • จังหวัดที่ได้ ส.ส. เพิ่ม 3 คน มีจำนวน 1 จังหวัด คือ กทม.
  • จังหวัดที่ได้ ส.ส. เพิ่ม 2 คน มีจำนวน 5 จังหวัด คือ นครราชสีมา, เชียงใหม่, บุรีรัมย์, ชลบุรี และ นนทบุรี
  • จังหวัดที่ได้ ส.ส. เพิ่ม 1 คน มี 37 จังหวัด คือ ขอนแก่น, อุดรธานี, อุบลราชธานี, สงขลา, ศรีสะเกษ, นครศรีธรรมราช, สุรินทร์, สมุทรปราการ, ร้อยเอ็ด, เชียงราย, สกลนคร, สุราษฎร์ธานี, ปทุมธานี, ชัยภูมิ, มหาสารคาม, เพชรบูรณ์, พิษณุโลก, กาฬสินธ์, นครปฐม, สุพรรณบุรี, ระยอง, พระนครศรีอยุธยา, นราธิวาส, สุโขทัย, สระบุรี, สมุทรสาคร, เลย, ตาก, ตรัง, อุตรดิตถ์, แพร่, ภูเก็ต, บึงกาฬ, อ่างทอง, แม่ฮ่องสอน, นครนายก และ พังงา

หมายเหตุ : ข่าว บีบีซีไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว