เปิดชีวิตนักเรียนทุน : โลกแห่ง ‘อภิสิทธิ์พิเศษ’ และ ‘การพัฒนาประเทศ’

พจนานุกรม
ภาพจาก BBC Thai

ในปีการศึกษา 2562/2563 มีคนไทยมากถึง 7,140 คน เดินทางไปเรียนต่อสหราชอาณาจักร ทว่าในจำนวนนี้ ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถควักกระเป๋าจ่ายเงินเองได้

การแข่งขันจึงเกิดขึ้น

นักเรียนทุนเต็มจำนวนทั้งสี่คนที่คุยกับบีบีซีไทย จะมาเผยมุมมองของพวกเขาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากได้รับทุน

เด็กทุนไม่เท่ากับเด็กจน

จริงอยู่ว่าเด็กทุนส่วนหนึ่งไม่ได้มาจากครอบครัวที่ร่ำรวย แต่การสอบชิงทุนไม่ใช่เครื่องบ่งบอกสถานะทางการเงินของพวกเขาเช่นเดียวกัน

เด็กทุนคือคอนเซปต์ของคนมีเงินด้วยซ้ำ แต่มาสร้างโปรไฟล์หนึ่งในนักเรียนทุนจากรัฐบาลไทยกล่าวกับเรา

Getty Images

ข้าราชการสาววัยยี่สิบต้น ซึ่งเราเรียกเธอด้วยนามแฝงว่าเอ็มกำลังศึกษาต่อในสายการพัฒนาประเทศ เธอเล่าเส้นทางการเป็นเด็กทุนรัฐบาลตั้งแต่ระดับปริญญาตรีให้เราฟัง

ตอนปีสามเอ็มไปสมัครสอบทุนรัฐบาลดังกล่าวเป็นเพื่อนเพื่อน แต่เพื่อนไม่ได้ เราได้แทน

เธอย้อนความให้ฟังว่า จากการสอบข้อเขียนในตอนนั้น สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (..) จะเลือกผู้ได้รับคะแนนสูงสุด 5 คน เพื่อเดินหน้าต่อสู่ขั้นตอนการฝึกงาน

‘เอ็ม’นามสมมติ ข้าราชการหญิงผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายพัฒนาประเทศ

คนที่สอบติดก็เด็กจุฬาฯ แข่งกันเอง [เด็กที่สอบได้] อาจจะไม่ต้องรวยมาก แต่ก็ต้อง [มีเวลา] ตั้งใจอ่านหนังสือได้เอ็มกล่าว

เธออธิบายว่าข้อสอบขั้นต้นที่ทุกคนต้องทำแบ่งเป็นข้อสอบภาษาอังกฤษและข้อสอบคณิตศาสตร์ เอ็มมองว่าเด็กที่จะทำคะแนนได้ค่อนข้างดีจำเป็นต้องมีต้นทุนมาในระดับหนึ่ง

กว่าจะเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กปีสามที่มีความพร้อมในการสอบแข่งขัน เด็กไทยหลายคนร่วงหล่นจากบันไดแห่งการเลื่อนขั้นทางสังคมนี้ไปไม่น้อย

ข้อมูลจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่า ในปี 2562 มีประชากรไทยในวัย 0-25 ปี ทั้งสิ้น 20.54 ล้านคน จากตัวเลขรวมนี้ เด็ก 4.323 ล้านคน กำลังเผชิญหน้ากับความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษา ทุก 1 ใน 5 คน

ครัวเรือนของเด็กยากจนพิเศษมีรายได้เฉลี่ย 37บาท/วัน/คน

พวกเขาบางคนมาจากครอบครัวที่ยากจนพิเศษกสศ.อธิบายว่าพวกเขาจนจนไม่ได้เรียน และพร้อมจะหลุดออกจากระบบการศึกษาทันทีหากไม่ได้รับการช่วยเหลือ

ครัวเรือนของเด็กยากจนพิเศษเหล่านี้มีรายได้เฉลี่ย 37บาท/วัน/คน ขณะที่ครัวเรือนทั่วไปอยู่ที่ 293 บาทตามข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2561

ยิ่งไปกว่านั้นคือจากทั้งหมด 205,156 ครอบครัว ครอบครัวยากจนพิเศษมากถึง 35,000 ครอบครัว มีรายได้ระหว่าง 0-9 บาท/วัน/คน

เอ็มยอมรับว่าครอบครัวตนเองสามารถส่งเสียเธอมาเรียนต่อสหราชอาณาจักรได้แต่เหนื่อยหน่อยดังนั้นทุนการศึกษายังเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดใจอยู่ดี แม้เธอจะอยากลาออกจากราชการมากแล้วก็ตาม

ข้อมูลจากสำนักงานให้คำปรึกษาด้านการเรียนต่อในต่างประเทศ SIUK-Thailand ระบุว่าค่าเทอมระดับปริญญาในสหราชอาณาจักรเริ่มต้นที่ 9,000 ไปจนถึง 30,000 ปอนด์/ปี (ราว 400,000 – 1.3 ล้านบาท) หรือมากกว่านั้น

ขณะที่ค่าครองชีพอยู่ที่ราว 1,300 ปอนด์/เดือน (ราว 56,000 บาท) สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน และประมาณ 1,015 ปอนด์/เดือน (ราว 44,000 บาท) สำหรับเมืองอื่น

Chevening

ด้านพีนักเรียนทุนรัฐบาลสหราชอาณาจักรหรือชีฟนิ่งเล่าให้บีบีซีไทยฟังว่า สำหรับชีฟนิ่งตัวทุนเน้นไปที่การสร้างเครือข่ายผู้นำในแต่ละประเทศ ด้วยเหตุนี้ผู้สมัครทุนจำเป็นต้องมีโปรไฟล์ (ประวัติ)” มาในระดับหนึ่งแล้วถ้าคุณมาจากศูนย์ คุณก็จะไม่มี [โปรไฟล์] ตรงนั้น

ทุนที่บอกว่าต้องการสร้างความเท่าเทียม ยังมีลิมิตเรื่องความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโอกาสอยู่พี กล่าว

อย่างไรก็ดีพีมองว่า ทุนดังกล่าวก็ได้เพิ่มโอกาสในชีวิตให้กับผู้คนอีกมากเช่นเดียวกัน

พีผู้มีประสบการณ์การทำงานฝั่งสิทธิมนุษยชนในองค์กรระหว่างประเทศ อธิบายให้เราฟังว่าสำหรับเขาที่ได้รับทุนชีฟนิงไม่ได้มองว่าชีฟนิงเป็นทุนที่ให้จากความต้องการทางการเงินเป็นหลัก เนื่องจากจุดประสงค์ของทุนเลือกจากการประสบความสำเร็จของตัวผู้สมัคร หรือที่เรียกว่า “merit-base”

ทว่าเขาเสริมว่าในสังคมที่ยังขาดการเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง ผู้ให้ทุนจำเป็นต้องคำนึงถึงการให้ทุน โดยพิจารณาความต้องการทางการเงินของผู้รับเช่นเดียวกัน เพราะอาจยังมีคนที่ขาดทุนทรัพย์และส่งผลต่อเนื่องให้ขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่ดี

มันไม่ใช่ว่าคุณเก่งคนเดียว มันมีปัจจัยสังคมรอบข้างคุณด้วยพี กล่าว

ปัจจุบันมีนักเรียนทุนและข้าราชการในความดูแลของ ..ที่กำลังศึกษาอยู่ในสหราชอาณาจักร ทั้งสิ้น 958 คน ตามข้อมูล วันที่ 31 พฤษภาคม 2565

ขณะที่นักเรียนทุนชีฟนิงของไทย ปีการศึกษา 2564/2565 มีทั้งสิ้น 22 คน

อยากกลับมาพัฒนาประเทศ แต่

เขามองแค่ว่าเราได้ภาษากลับไป เอา [เรา] มาใช้เวลาต้องคุยกับคนต่างชาติข้าราชการผู้ได้รับทุนจากกองทัพไทยกล่าว

แกนนำส่วนหนึ่งของการประท้วงในประเทศไทยในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเป็นเพียงนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น 

บีเล่าให้เราฟังว่า ไม่เพียงแค่ทุนจากกองทัพที่ไม่ได้มีมาก เมื่อเทียบกับฝั่ง ..แล้ว ข้าราชการแทบทั้งหมดที่ได้รับทุนและกลับมาทำงานกลับไม่ได้นำความรู้ที่ได้มามาใช้

เธออธิบายให้บีบีซีไทยฟังว่า เนื่องจากระบบการปฏิบัติงานต้องทำตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนด อีกทั้งเมื่อนำแนวคิดใหม่ มานำเสนอผู้ใหญ่ก็ไม่สนใจ

บีเล่าว่าเธอเตรียมตัวเผชิญหน้ากับปัญหาเรื้อรังนี้ แต่ก็ยังมีความหวังว่าอย่างน้อยที่สุดจะได้นำความรู้เหล่านี้กลับไปถ่ายทอดให้รุ่นน้อง

เรื่องราวที่บีเจอไม่ได้แตกต่างอะไรนักกับเอ็มที่เป็นข้าราชการเช่นเดียวกัน

ระบบราชการมันทำให้เรารู้สึกว่าสิ่งที่ต้องทนทุกข์ทรมาน มันไม่ควรต้องทนทุกข์ทรมานเอ็ม ชี้

ในปี 2020 ไทยได้คะแนนประสิทธิภาพรัฐบาลจากธนาคารโลกเพียง 0.30 ขณะที่สิงคโปร์ได้คะแนนสูงถึง 2.34

เมื่อถามเอ็มว่าถึงตอนนี้ยังมีความหลงใหลในสิ่งที่เรียน เหมือนตอนที่เลือกมาเรียนในสายการพัฒนาประเทศอยู่ไหม

เธอตอบกลับว่าค้นพบแล้วว่าพัฒนาตัวเองก่อน พัฒนาคุณภาพชีวิตตัวเองก่อนดีกว่า

เอ็มเล่าให้ฟังว่า ขณะที่ผู้คนมองว่าข้าราชการทำงานแบบเช้าชามเย็นชามข้าราชการวัยเด็กจำนวนไม่น้อยต้องทำงานจนดึกดื่น หรือแม้แต่กระทั่งวันที่ลาป่วย

เลิกงานสี่ทุ่ม ทำงานเพื่อเงิน แล้วเงินก็ไม่ได้เยอะด้วย

ราชการมันคืออาวุโส คนเดียวเปลี่ยนอะไรไม่ได้ แม้แต่ปลัดกระทรวงมีแนวทางมาแบบนี้ แต่ว่ามันไม่ใช่แค่ตัวปลัดกระทรวง มันมีอำนาจรัฐมนตรีเห็นด้วยไหม หน่วยงานอื่น ร่วมกันผลักดันหรือเปล่า บางทีก็ท้อแท้ เหมือนเป็นฟันเฟืองเล็ก ที่ไม่ค่อยเห็นผลเท่าไหร่เอ็มชี้

เราถามเธอต่อว่าเมื่อกลับไปและใช้ทุนครบตามสัญญาแล้วเธอจะยังทำงานราชการอยู่หรือไม่ เอ็มตอบว่ายกเว้นว่าทุกอย่างมันเปลี่ยนไป มีไดนามิก (พลังและความคิดสร้างสรรค์) เปลี่ยน หรือว่าตัวเองเบลน (หลอมรวม) ไปแล้ว ก็คงทำต่อ 

ข้อมูลจากธนาคารโลกพบว่า แม้ไทยจะมีคะแนนประสิทธิภาพของรัฐบาลเกินค่ากลางของโลกมากตลอด แต่ไทยยังตามประเทศในอาเซียนอย่างสิงคโปร์อยู่มาก

ในปี 2020 ไทยได้คะแนน 0.30 ขณะที่สิงคโปร์ได้คะแนนสูงถึง 2.34 อีกทั้งเมื่อย้อนกลับไปดูสถิติย้อนหลัง ยังพบว่าไทยมีคะแนนแย่ลง

ธนาคารโลกคำนวณคะแนนจาก -2.5 ซึ่งแปลว่า รัฐบาลมีประสิทธิภาพต่ำ ไปจนถึง 2.5 ซึ่งแปลว่า รัฐบาลมีประสิทธิภาพสูง

สำหรับทีนักเรียนทุนรัฐบาลสหราชอาณาจักรอีกหนึ่งคน มองประเด็นการกลับไปพัฒนาประเทศว่าเขาไม่ได้คิดว่าฉันนี่แหละจะเปลี่ยนประเทศได้ แต่ถ้าจะให้เราลอยตัวหนีไปเลย ก็คงทำไม่ได้

‘ที’ นามสมมติ นักเรียนทุนชีฟนิง

เขาอธิบายต่อว่า หากมองในเชิงความก้าวหน้าของตัวบุคคล หลาย องค์กรระหว่างประเทศอาจไม่ได้ให้โอกาสในการเติบโตมากเท่ากับการทำงานในต่างประเทศ ดังนั้นการเลือกกลับไปทำงานในไทยก็มีประเด็นนี้ที่ต้องแลกมา ซึ่งตัวเขาไม่ได้มองว่ามีปัญหามากนัก เพราะเราแพชชันกับไทย เราอยากทำงานกับไทยอยู่ดี

พีมีมุมมองที่คล้ายคลึงกัน เขาบอกว่าการได้อยู่ต่างประเทศทำให้เห็นถึงช่องว่างและโอกาสที่คับแคบในการเติบโตในสายอาชีพตนเอง แต่ว่านี่เลยเป็นเหตุผลที่เรามาอยู่ที่นี่ มันทำให้เรามองเห็นโอกาสที่ยังขาดหายอยู่

ผู้ได้รับทุนการศึกษาจากทั้งรัฐบาลไทย กองทัพไทย และรัฐบาลสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศหลังจบการศึกษาเพื่อใช้ทุนเป็นตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นเงื่อนไขในการรับทุน โดยส่วนใหญ่ทุนรัฐบาลจะกำหนดให้ต้องทำงานกับหน่วยงานนั้น อย่างน้อย 2 ปี ต่อระยะเวลาทุน 1 ปี ส่วนทุนชิฟนิงกำหนดให้ต้องนำความรู้ไปใช้ในการทำงานในไทยอย่างน้อย 2 ปี หลังเรียนจบ

………..

 

ข่าว บีบีซีไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ประชาชาติธุรกิจ เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว