
สวัสดีค่ะ สาว ๆ เวลาไปตรวจร่างกายประจำปี ตรวจภายใน อัลตราซาวนด์ บางครั้งคุณหมอจะแจ้งว่า คุณมี “ซีสต์ที่รังไข่” หรือถุงน้ำรังไข่ สาว ๆ หลายท่านรู้สึกตกใจและกังวลขึ้นมา
ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับถุงน้ำรังไข่กันนะคะ
- ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 (อัพเดต)
- ผลสลากออมสินพิเศษ-สลากดิจิทัล 2 ปี และ 5 ปี งวด 1 ก.พ. 2566 (อัพเดต)
- สถิติหวย ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาลงวด 1 กุมภาพันธ์ ย้อนหลัง 10 ปี
+ถุงน้ำรังไข่ คืออะไร…
มันก็คือ ถุง หรือกระเปาะที่มีน้ำอยู่ข้างใน ซึ่งอาจจะแปะอยู่บนผิวรังไข่หรืออยู่ในรังไข่นั่นเองค่ะ นอกจากน้ำแล้ว ถุงน้ำอาจจะบรรจุเลือด หรือมีเนื้อเยื่อบางอย่างอยู่ในถุงน้ำได้เช่นกันค่ะ
ถุงน้ำรังไข่พบได้บ่อยค่ะ ส่วนใหญ่ไม่ใช่มะเร็ง และส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง โดยไม่ต้องรักษาอะไรเลย แต่อ๊ะ ๆ เน้นว่า ส่วนใหญ่นะคะ ไม่ใช่ทั้งหมด ดังนั้น ควรให้คุณหมอเป็นคนแนะนำนะคะ
+ถุงน้ำรังไข่ แบ่งออกเป็น
Functional cyst : คือถุงน้ำที่เกิดจากการทำงานตามรอบเดือนของรังไข่ เป็นชนิดที่พบเจอได้บ่อยที่สุดค่ะ สามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยารักษาใด ๆ
Teratoma : เป็นถุงน้ำที่บรรจุไปด้วยเซลล์
ที่สามารถกลายร่างเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ
ได้ อย่างผม ขน ฟัน สมอง กระดูกอ่อน ซึ่งคนไข้มักจะตกใจว่า ผม ขน ฟัน มาอยู่ในรังไข่ดิฉันได้อย่างไร ไม่ได้มีใครเสก ผม ขน ฟัน เข้ารังไข่มานะคะ มันเป็นแค่ความผิดปกติของเซลล์ค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่มะเร็งค่ะ มีส่วนน้อยมาก ๆ ที่เป็นเซลล์มะเร็ง
Cystadenoma : เป็นถุงน้ำรังไข่ชนิดหนึ่งที่สามารถขยายขนาดได้ใหญ่โตมาก แต่ส่วนใหญ่ไม่ใช่มะเร็งเช่นกันค่ะ
Endometrioma : หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า “ช็อกโกแลตซีสต์” เป็นถุงน้ำที่ภายในบรรจุเลือดเก่า ๆ ที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ไปเจริญในรังไข่นั่นเองค่ะ
+อาการของถุงน้ำรังไข่
ถุงน้ำรังไข่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการค่ะ มักจะเป็นการตรวจเจอโดยบังเอิญ ไม่ว่าจะจากตรวจภายในหรืออัลตราซาวนด์ แต่ถ้าถุงน้ำรังไข่มีขนาดใหญ่ อาจมีอาการเจ็บ ปวด หน่วงได้ และถ้าถุงน้ำมีขนาดโตพอที่จะบิดขั้ว อาจจะมีอาการเจ็บปวดขึ้นมาเฉียบพลันขณะมีกิจกรรมบางอย่างได้ เช่นเพื่อนของหมอคนหนึ่งเคยมีถุงน้ำรังไข่บิดขั้วขณะ CPR คนไข้ค่ะ (1 และ 2 และ 3…โอ้ยยยย) หรือถ้าถุงน้ำรังไข่มีปริ แตก รั่วหรือมีเลือดออก ก็สามารถมีอาการปวดเฉียบพลันขึ้นมาได้เช่นกันค่ะ
+ถ้ามีถุงน้ำรังไข่ ต้องผ่าตัดหรือไม่
การรักษา ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยค่ะ ไม่ว่าจะด้วยตัวโรค ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือถ้าทิ้งไว้แล้วโอกาสโตขึ้น โอกาสมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาเช่นมีโอกาสบิดขั้วหรือไม่ ขึ้นอยู่กับอาการของโรค ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของความต้องการมีบุตร ต้องพิจารณากันเป็นราย ๆ ไปว่าจะติดตามการรักษา หรือจะต้องผ่าตัดค่ะ หากไม่มีอาการอะไร ขนาดไม่โตมาก ดูแล้วไม่เหมือนมะเร็ง การรักษาจะเป็นการติดตามการรักษาค่ะ คือ คุณหมอก็จะนัดดูอาการและอัลตราซาวนด์ดูเป็นระยะ ๆ ว่าถุงน้ำมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อาจจะทุก 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี
ส่วนถ้าถุงน้ำรังไข่มีขนาดใหญ่ มีความคล้ายมะเร็ง หรือผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ส่วนใหญ่ก็จะแนะนำเป็นการผ่าตัดค่ะ การผ่าตัดก็ขึ้นอยู่กับอายุ ความต้องการมีบุตรในอนาคต การผ่าตัดก็มีได้ทั้งผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ผ่าตัดส่องกล้อง จะตัดรังไข่ออกทั้งข้างพร้อมท่อนำไข่ หรือเลาะเฉพาะถุงน้ำรังไข่ออกอย่างเดียวก็ได้เช่นกันค่ะ
วันนี้คุณผู้อ่านคงรู้จักกับ “ถุงน้ำรังไข่” มากขึ้นแล้วนะคะ สวัสดีค่ะ