ผศ.ชล บุนนาค เปิด 6 ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ความยั่งยืน

ผศ.ชล บุนนาค เปิด 6 ยุทธศาสตร์ เน้นย้ำต้องเพิ่มการศึกษาที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนสอดคล้อง SDGs สร้างคนรุ่นใหม่ออกมาเป็นกำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกยั่งยืน หนุนให้คนทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และมีความเป็นอยู่ที่ดีพร้อมกับโลกที่สามารถอุ้มชูชีวิตของทุกคนได้

ผศ.ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้อำนยการศูนย์วิจัยและสยับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG Move กล่าวว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs คือเป้าหมายที่ทุกคนทั่วโลกต้องการพัฒนาเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในขณะเดี๋ยวกันก็ต้องรักษาสิ่งแวดล้อมให้สามารถอุ้มชูชีวิตเอาไว้ได้

จากแนวโน้มทิศทางความสำเร็จด้าน SDGs ดูจะเป็นไปได้ยาก จากผลจการสำรวจพบว่าปัจจุบัน ทั่วโลกมีโอกาสที่จะบรรลุเพียง 12% เท่านั้นซึ่งถอดถอยกว่าปี 2015 นักวิชาการระดับโลกจึงได้มีการพูดคุยกันถึงทิศทาง เป้าหมายที่ต้องการให้คนทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และมีควมเป็นอยู่ที่ดี ให้โลกใบนี้สามารถอุ้มชูต่อไปได้ เป็นเป้าหมายเพื่อการอยู่รอดของมนุษยชาติ ไม่ใช่เป้าหมายเพื่อ UN ไม่ใช่เป้าหมายเพื่อบางประเทศ แต่เป็นเป้าหมายเพื่อเราทุกคน

เป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ เป็นฐานหลักของเป้าหมายหลังปี 2030 แต่ต้องมีการอัพเดตเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเรื่อง AI, ความขัดแย้งในโลก, สันติภาพ ทำให้ตัวชี้วัดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความสอดรับกัน และวางกรอบ SDGs ใหม่เพื่อเชื่อมสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมของมนุษย์เข้าด้วยกัน

ปฏิรูประบบการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะการทำให้ UN ขับเคลื่อนต่อไปได้ภายใต้ระบบที่ดีควบคู่การเมือง ภูมิรัฐศาสตร์ทำให้บทบาทของประเทศที่พัฒนาแล้วมีบทบาทเข้มแข็ง เข้มข้นมากขึ้นในการพัฒนาและสนับสนุน SDGs อย่างถีถ้วนมากขึ้น เหมาะกับบริบทของสักคนมากยิ่งขึ้น ต้องมีการปฏิรูปกลไกการเงินระดับประเทศ สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน และขับเคลื่อนโลกปัจจุบันโดยคิดถึงคนในอนาคตมากยิ่งขึ้น

ในเป้าหมายด้านการศึกษาที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนมีกลายประเด็น ไม่ว่าจะเรื่องคุณภาพ การเข้าถึง ความเหลื่อมล้ำ ในส่วนของการพัฒนาการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำประเทศไทยถือว่าทำได้ดี

Advertisment

แต่ส่วนที่ต้องเพิ่มขึ้นมาเพื่อผลักดัน SDGs คือ การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for sustainable development) สร้างคนรุ่นใหม่ออกมาเป็นกำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกยั่งยืน เพิ่มทักษะมองอย่างเป็นระบบ การทำงานเป็นทีม เหล่านี้จะทำให้การศึกษาไทยสอดคล้องกับ SDGs มากขึ้น

จากการศึกษาวิกฤตการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย ได้มีเสนอให้ประเทศไทยขับเคลื่อนแบบมียุทธศาสตร์ 6 ข้อ

  1. เปลี่ยนผ่านระบบเกษตรและอาหารให้ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
  2. เปลี่ยนผ่านะรบบเศรษฐกิจ พลังงาน อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว ให้มีความเป็นธรรมและยั่งยืน
  3. รับมือกับภัยพิบัติ ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศทีมีความสำคัญของภิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
  4. ความหลากหลาทางชีวภาพและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
  5. สุขภาพและสุขภาวะ โดยเน้นกการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา วัณโรคและกาตายทางท้องถนนเพิ่มเติม
  6. มีระบบธรรมาภิบาลและกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน

ข้อเสนอเชิงกลไกเพิ่มเติม 4 ข้อ

  1. ทำให้กลไกการขัเคลื่อนการพัฒนากลายเป็นวาระสำคัญใน SDGs Roadmap ของสภาพัฒน์ และเป็นวระสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะการพัฒนาที่ยั่งยืนใช้เงินทุน ไม่ใช่เฉพาะรัฐเท่านั้นแต่ต้องแป็นกลไกภาคประชาสังคมและชุมชนร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกัน
  2. เปิดพื้นที่ให้ภาคสังคและภาควิชาการได้มีพื้นที่ร่วมกันในการวางนโยบาย ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีพื้นที่แบบนั้น มีพื้นที่สำหรับชุมชนซึ่งมีการพัฒนามาก และพื้นที่สำกรับภาคเอกชนที่มีความก้าวหน้ามากเช่นเดียวกัน แต่ภาคประชาสังคมและภาควิชาการยังไม่มีพื้นที่มากเท่าที่ควร
  3. ทำให้เกิดกลไลความรับผิดชอบในการขับเคลื่อน SDGs ในปัจจุบันรัฐบาลไม่ได้มีการรายงานไปยังรัฐสภา เราอยากเห็นเรื่อง SDGs ถูกรายงานในภาผู้แทนราษฏร ให้ SDGs กลายเป็นประเด็นที่รัฐบาบลต้องรับผิดชอบต่อการบรรลุเรื่องนี้
  4. การเสริมสร้างศักยภาพ ด้านกลไกที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐและเอกชน ด้วยการทำความเข้าใจเรื่อง SDGs และเรื่องความยั่งยืนเพื่อพร้อมที่จะขับเคลื่อน การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนก็ยังไม่ถูกฝังลงไปในระบบการศึกษาไทย ประเทศไทยต้องการเรื่องนี้เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่เพื่อขับเคลื่อนเรื่อง SDGs ในอนาคต และสร้างการทำงานในภาครัฐที่ต่อเนื่องและไม่หยุดอยู่กับที่เมื่อมีการเปลี่ยนตัวของผู้คน