NT ร่วมกับ Eutalsat OneWeb เตรียมเปิดให้บริการ Satellite Network Portal Gateway (SNP Gateway) รุกบริการระบบสื่อสาร-อินเทอร์เน็ต จากดาวเทียมวงโคจรต่ำ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งเป้า 50,000 ราย ในปีแรก
พันเอกสรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ NT กล่าวในงานประชุมและสัมมนา APSCC 2024 Satellite Conference & Exhibition (APSCC 2024) ว่าการพัฒนา SNP Gateway สำหรับดาวเทียมวงโคจรต่ำในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของ NT ในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารของประเทศไทยและภูมิภาค สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเราในการเป็นผู้นำด้านดิจิทัลอย่างยั่งยืน การเลือกสถานีดาวเทียมสิรินธรเป็นที่ตั้งของ SNP Gateway แห่งนี้
เนื่องจากมีความพร้อมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตำแหน่งที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค และจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย ไม่เพียงแต่จะเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อระดับประเทศ แต่ยังเชื่อมโยงประเทศไทยกับโครงข่ายการสื่อสารระดับโลก
นายบาลา บาลามูราลี รองประธาน Eutelsat OneWeb ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก ภายหลังการก่อสร้างสถานีเชื่อมโยง (SNP Gateway) แห่งนี้แล้วเสร็จ บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ความเร็วสูง ที่มีความหน่วงต่ำของเราจะสามารถเริ่มให้บริการ เพื่อส่งมอบบริการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพและครอบคลุมทั่วประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมงานกับ NT ในการก้าวสู่การเดินทางอันน่าตื่นเต้นครั้งนี้ไปด้วยกัน”
SNP Gateway แห่งใหม่นี้ตั้งอยู่ที่สถานีดาวเทียมสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการออกแบบและพัฒนาด้วยเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อรองรับการรับ-ส่งสัญญาณผ่านโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำ
OneWeb โดยมีคุณสมบัติเด่นดังนี้ :
• ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดถึง 10 Gbps
• ค่าหน่วงเวลา (Latency) ต่ำเพียง 20-50 มิลลิวินาที
• ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
• ระบบสำรองและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
• มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 400 ล้านบาท
ขอบเขตการให้บริการ
SNP Gateway แห่งนี้จะรองรับการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารผ่านโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำ OneWeb ครอบคลุมพื้นที่ :
• ประเทศฟิลิปปินส์
• ประเทศกัมพูชา
• ประเทศลาว
• ประเทศเมียนมา
• ประเทศไต้หวัน
• ประเทศเกาหลีใต้
• บางส่วนของประเทศอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับ SNP Gateway ในภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก เพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างประเทศอย่างไร้รอยต่อ
ประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ
การให้บริการผ่าน SNP Gateway จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในหลากหลายภาคส่วน
- ภาคธุรกิจ : เพิ่มความเร็วและเสถียรภาพในการเชื่อมต่อสำหรับองค์กร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ต้องการการสื่อสารแบบ Real-time เช่น การเงิน การธนาคาร และระบบโลจิสติกส์
- ภาคการศึกษา : สนับสนุนการเรียนรู้ทางไกลในพื้นที่ห่างไกล เชื่อมต่อโรงเรียนในชนบทสู่แหล่งความรู้ดิจิทัล
- ภาคประชาชน : ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ที่โครงข่ายโทรคมนาคมภาคพื้นดินเข้าไม่ถึง รวมถึงพื้นที่เกาะ น่านน้ำมหาสมุทร และชายแดน
- ภาครัฐ : สนับสนุนการให้บริการภาครัฐและการจัดการภัยพิบัติ พร้อมระบบสำรองฉุกเฉินสำหรับการสื่อสารในภาวะวิกฤต
กำหนดการเปิดให้บริการ
NT มีกำหนดเปิดให้บริการ SNP Gateway อย่างเป็นทางการในช่วงเดือน ม.ค. 2568 โดยจะมีการทดสอบระบบในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. 2567 จะสามารถรองรับการให้บริการครอบคลุมผู้ใช้งานในภูมิภาคได้มากกว่า 50,000 ราย ภายในปีแรกของการให้บริการ