
นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไตรมาสแรกมีแนวโน้มหดตัว 2% เนื่องจากแรงส่งเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2562 ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าคาด บวกกับหลายปัจจัยท้าทาย ทั้ง “โควิด-19-งบล่าช้า- ภัยแล้ง” ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆกัน แต่เชื่อว่าจะไม่รุนแรงจนถึงขั้นภาวะถดถอย (technical recession) เหตุเพราะไตรมาส 2 มีแนวโน้มปรับดีขึ้นจากการปลดล็อก งบประมาณและมาตรการรัฐพยุงเศรษฐกิจ
“คาด GDP ไตรมาสแรกจะโตติดลบ 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และติดลบ 3.3%เมื่อเทียบกับไตรมาส (ปรับฤดูกาล) และมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวในไตรมาสสอง หนุนด้วยการเบิกจ่ายงบประมาณได้ในไตรมาสสอง และการบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นจากมาตรการพยุงเศรษฐกิจ” นายนริศกล่าว
- อนุทิน เปิดเงื่อนไขจับขั้วรัฐบาล ทักษิณ-เพื่อไทย ไม่เกลียด แต่มีเส้นแบ่ง
- เปิดแผน ลับ ลวง พราง แคนดิเดตนายกฯ “พรรคทักษิณ”
- ไทยแข่งเดือดทุเรียนเวียดนามล้านตัน
โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยตลอดปี 2562 ที่เติบโตต่ำ รวมทั้งแรงส่งจากการเติบโตแบบไตรมาสต่อไตรมาสที่ขยายตัวได้ค่อนข้างต่ำ ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงสูงขึ้น โดยล่าสุดสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลข GDP ไตรมาส 4 ขยายตัว 1.6% ซึ่งTMB Analytics ประเมินกรณีการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกในไตรมาสแรก รวมถึงผลของภัยแล้งที่จะส่งผลไปยังการบริโภคภาคเอกชนให้โตได้แค่ 3%
“เราเคยเจอกับเศรษฐกิจถดถอยในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงปี 2556-2557 ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองในประเทศและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทบทุกด้านสะดุดลง ทั้งการลงทุนภาคเอกชน การส่งออก การท่องเที่ยว รวมทั้งการบริโภคเอกชนโตต่ำมากเพียง 1% โดยเห็นตัวเลขเศรษฐกิจติดลบแบบไตรมาสต่อไตรมาสในปี 2556 และต่อเนื่องไปไตรมาส 1 ปี 2557 ฉุดเศรษฐกิจทั้งปี 2557 โตเพียง 1%” นายนริศกล่าว