ธปท.ผ่อนคลายเกณฑ์สภาพคล่องหนุนแบงก์อุ้มลูกหนี้ฝ่ามรสุม​โควิด-19

แบงก์ชาติ ธปท. ค่าเงินบาท กนง.

ธปท.ผ่อนคลายเกณฑ์สภาพคล่องหนุน​แบงก์ธปท.ผ่อนคลายเกณฑ์ดำรงสภาพคล่อง LCR ต่ำกว่า 100% ชั่วคราวถึง ธ.ค.64 หนุนธนาคาร​พาณิชย์​เร่งออกมาตรการ​ช่วยลูกหนี้พักเงินต้น-ดอกเบี้ย แก้ปัญหา​แบงก์​ขาด “กระแสเงินสด-สภาพคล่อง”  พร้อมเปิดทางนำมูลค่า​ที่รัฐช่วยชดเชยหนี้เสีย​มาลดความเสี่ยงเครดิตได้​ ตีกรอบห้ามแบงก์​เก็บค่าธรรมเนียมปล่อยกู้​ซอฟต์โลน​นอกเหนือจากที่​ ธปท.กำหนด

ผู้สื่อข่าวรายงาน​ เมื่อ​วัน​ที่​ 7​ เมษายน​ที่ผ่านมา​  ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกหนังสือเวียน เรื่อง แนวปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ เพื่อดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด 19 (Covid-19)

โดย​ระบุ​ว่า​ สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ขยายวงกว้าง ยืดเยื้อ และมีแนวโน้มรุนแรงบาทยิ่งขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบในวงกว้าง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสถาบันการเงินได้ดำเนิน มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยการปรับโครงสร้างหนี้และการเสริมสภาพคล่องให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจ รวมถึงภาครัฐได้ออกพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนด)

โดยการให้สินเชื่อต้นทุนต่ำ (Soft Loan) ผ่านธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFI) เป็นระยะเวลา 2ปี และรัฐชดเชยความเสียหายให้บางส่วน รวมทั้งให้พักซำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ที่มีวงเงินไม่ 100 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อ SMEs มีสภาพคล่อง เพียงพอในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดรับและการบริหารสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์

ดังนั้น ธปท.จึงกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับธนาคารพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเพื่อให้ธนาคารพานิชย์สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในช่วงสถานการณ์ขณะนี้ที่ควรตำเนินการอย่างเร่งด่วน และเพื่อให้การคำเนินการของธนาคารพาณิชย์เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงกำหนดแนวทางให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติ ดังนี้

1. ธนาคารพาณิชย์สามารถดำรงอัตราส่วน Liquidity Coverage Ratio: LCR และอัตราส่วน Net Stable Funding Ratio (NSFR) ต่ำกว่า 100% ได้เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยหากธนาคารพาณิชย์ใดมีอัตราส่วนดังกล่าวต่ำกว่า 100% ขอให้แจ้งมายัง ธปท. พร้อมทั้งจัดทำประมาณการและแผนการบริหารสภาพคล่องส่งธปท. ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีอัตราดังกล่าวต่ำกว่า 100%

2. การให้สินเชื่อที่เป็นไปตามพระราชกำหนด ให้ธนาคารพาณิชย์นำมูลค่าที่จะได้รับชดเชย จากรัฐบาลมาปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต สำหรับสินเชื่อส่วนที่เกินจากอัตราการชดเชยจากรัฐบาล ให้ใช้ น้ำหนักความเสี่ยงตามประเภทลูกหนี้ (เช่น ธุรกิจเอกชน 100% หรือ ลูกหนี้รายย่อย 75%) ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสำหรับธนาคารพาณิชย์ โดย Standardised Approach (วิธี SA) หรือถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตสำหรับธนาคารพาณิชย์โดย Internal Ratings-Based Approach (วิธี IRB) แล้วแต่กรณี

3. การให้สินเชื่อที่เป็นไปตามพระราชกำาหนด ขอให้ธนาคารพาณิชย์งดเรียกเก็บดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าปรับ ค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ใดอีก นอกจากที่ระบุไว้ในพระราชกำหนด นอกจากนี้เงินต้นและ ดอกเบี้ยในช่วงพักชำระหนี้ที่ต้องชำระตามสัญญา ขอให้เฉลี่ยเรียกเก็บตามงวดที่เหลือหรือเฉลี่ยตามระยะเวลาในช่วงท้ายหลังจากการพักชำระหนี้ หรือเรียกเก็บทั้งหมดในช่วงท้ายของสัญญา รวมถึงธนาคารพาณิชย์อาจพิจารณาขยายเวลาการชำระหนี้เสร็จสิ้นออกไปเพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้หลังจากฟื้นตัวจากวิกฤติแล้ว