เบนซ์ ส่งเสริมความเท่าเทียมใช้ “Digital Guide” แทน “พริตตี้”

เบนซ์ ไทยแลนด์ ใช้แนวคิด The Reinvention of Tomorrow เน้นความเท่าเทียม เลิกใช้ พริตตี้ หันมาใช้ “Digital Guide” ให้วงการงานแสดงรถยนต์  

เบนซ์วันที่ 18 เมษายน 2565 บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด หลังจากบริษัทได้ เปิดตัว “Digital Guide” (ดิจิทัล ไกด์) กลุ่มคนผู้มาทำหน้าที่ในการให้ความรู้เรื่องรถยนต์ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ทุกรุ่น ในงานจัดแสดงรถยนต์ทุกงานในประเทศไทย เพื่อตอกย้ำการสร้าง ค่านิยมใหม่และแนวคิดใหม่ของงานแสดงรถยนต์ Mercedes-Benz: The Reinvention of Tomorrow

“เมอร์เซเดส-เบนซ์” ในฐานะผู้นำของโลกยนตรกรรมสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลาย (diversity) และความเท่าเทียมอย่างต่อเนื่องเสมอมา จึงต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ดีกว่าเดิม

เบนซ์โดยเริ่มจากการเปลี่ยน “ค่านิยม” ที่อยู่คู่กับงานจัดแสดงรถยนต์ในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ด้วยการเปลี่ยนวัฒนธรรมการใช้ “พรีเซ็นเตอร์” หรือ “พริตตี้” ที่ช่วยโปรโมตรถยนต์ในงาน อีเวนต์ต่าง ๆ  ด้วยการสร้างค่านิยมใหม่และแนวคิดใหม่ของงานแสดงรถยนต์แสดงจุดยืน ผ่านทางภาพยนตร์โฆษณาหนึ่งเรื่อง ภายใต้คอนเซ็ปต์ The Reinvention of Tomorrow

เบนซ์

เบนซ์“กลยุทธ์การตลาดที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย จนอาจส่งผลต่อมุมมองของคนไทยที่มีต่อ “พริตตี้” และส่งผลกระทบกับคุณค่าของผู้หญิง อาจนำไปสู่การกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อพวกเธอ  ดังนั้น การแสดงจุดยืน ผ่านทางภาพยนตร์โฆษณาหนึ่งเรื่อง ภายใต้คอนเซ็ปต์ The Reinvention of Tomorrow ว่านี่เป็นเพียงหนึ่งสิ่งที่เราเปลี่ยน เพื่อสร้างค่านิยมใหม่และแนวคิดใหม่ของงานแสดงรถยนต์”

Mercedes-Benz : The Reinvention of Tomorrow ค่านิยมใหม่และแนวคิดใหม่ของงานแสดงรถยนต์

“เมอร์เซเดส-เบนซ์” ลั่นอีก 4 ปี ขายแต่รถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น

สร้าง “คน” สไตล์ “เบนซ์” สู่บริษัทน่าทำงานที่สุดในเอเชีย

เมอร์เซเดส-เบนซ์  เชื่อว่า คุณค่าของแต่ละบุคคล อยู่ที่หลากหลายองค์ประกอบ ไม่ใช่แค่เพศสภาพ จึงเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ด้วยการสร้างนิยามใหม่ เพื่อให้พรีเซ็นเตอร์คนนี้ถูกให้เกียรติ และสร้างจุดยืนใหม่ ๆ ในวงการ ด้วยการนำเสนอพรีเซ็นเตอร์…ที่ไม่จำกัดเพศ สีผิว หรือรูปร่าง,ไม่จำเป็นต้องแต่งตัววาบหวิว,ได้รับการอบรมเรื่องรถยนต์ และมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ให้ข้อมูลอย่างแม่นยำ โดยเรียกว่า “Digital Guide” (ดิจิทัล ไกด์)