หุ้นรับเหมา “TEKA” เทรดวันแรกราคาเปิดอยู่ที่ 6.60 บาท เหนือจอง 43.48%

TEKA

บมจฑีฆาก่อสร้าง  เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) วันแรก ราคาหุ้นอยู่ที่ 6.60 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท เหนือจอง 43.48% จากราคาไอพีโอ (IPO) ที่ 4.60 บาท  ระดมทุนเป็นเงินหมุนเวียนกิจการ 

วันที่ 15 มิถุนายน 2565 บริษัท ฑีฆาก่อสร้าง จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง หมวดบริการรับเหมาก่อสร้าง โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “TEKA” ราคาหุ้นอยู่ที่ 6.60   บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท เหนือจอง 43.48% จากราคาไอพีโอ (IPO) ที่  4.60  บาท 

โดย TEKA ประกอบธุรกิจให้บริการรับเหมาก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้าง โดยเป็นผู้รับเหมาหลักของโครงการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม และงานระบบประกอบอาคาร บริษัทให้บริการในทุกขั้นตอน  ตั้งแต่การวางแผนงาน การควบคุมดูแลการก่อสร้าง และการจัดหาวัสดุอุปกรณ์

ทั้งนี้บริษัทมีประสบการณ์การรับงานก่อสร้างอาคารหลากหลายประเภท เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม อาคารโรงพยาบาล อาคารคลังสินค้า และคอนโดมิเนียม เป็นต้น โดยมีศักยภาพในการรับงานได้จากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในช่วง ปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้ส่วนใหญ่จากลูกค้าภาคเอกชนซึ่งมีอัตรากำไรที่สูงกว่า

 

TEKA มีทุนชำระแล้วหลังการเสนอขายไอพีโอ (IPO) 300 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 225 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) 75 ล้านหุ้น โดยเสนอขายต่อบุคคลตามดุลพินิจของผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย ผู้มีอุปการะคุณ บุคคลผู้มีความสัมพันธ์ และพนักงานของบริษัท ในระหว่างวันที่ 2-8 มิถุนายน 2565 ในราคาหุ้นละ 4.60 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุน 345 ล้านบาท และมีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 1,380 ล้านบาท

สำหรับการระดมทุนในครั้งนี้มูลค่าระดมทุนรวม 328.45  ล้านบาท โดยบริษัทมีแผนนำเงินไปใช้ ดังต่อไปนี้

ทั้งนี้บริษัทมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท ภายหลังจากหักภาษีและเงินทุนสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ในแต่ละปี แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่มีขาดทุนสะสมในส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท


อย่างไรก็ตาม อัตราการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน สภาพคล่อง ความจำเป็นในการใช้เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน แผนการลงทุน และการขยายธุรกิจในอนาคต สภาวะตลาด ความเหมาะสม การสำรองเงินไว้เพื่อจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืม หรือเงื่อนไขและข้อจำกัดตามที่กำหนดในสัญญากู้ยืมเงิน และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน