
คอลัมน์ : บทบรรณาธิการ
ช่วงฝนกระหน่ำน้ำท่วมต้นเดือนตุลาคมนี้ ผู้นำการเมืองฝ่ายรัฐบาล ทั้งนายกรัฐมนตรี และรองนายกฯ ออกแอ็กชั่นชัดเจนในการลงพื้นที่ต่างจังหวัดพบผู้ประสบภัยและประชาชนทั่วไป ทั้งภาคอีสานและภาคกลาง น่าจะทำให้ภาคราชการตื่นตัวขานรับสถานการณ์ได้ช่วงน้ำขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นไปอีกพักหนึ่งเพราะประเทศไทยยังได้รับอิทธิพลจากพายุเขตร้อนอยู่ ดังนั้นปริมาณน้ำฝนน่าจะสูงตาม
แต่เมื่อน้ำลงแล้วจะเป็นช่วงสำคัญว่าความช่วยเหลือและแผนงานของรัฐบาลมีส่วนช่วยเยียวยาและป้องกันความเสียหายที่ตามมาอย่างไร สำหรับภาคเกษตรกรรม มีตัวเลขสำรวจผลกระทบจากข้อมูลดาวเทียมของ GISTDA หรือสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ (องค์การมหาชน) ประเมินจากพื้นที่น้ำท่วม และพื้นที่เพาะปลูกข้าว
- MOTOR EXPO 2023 ยอดขายรถ 4 วันแรกทะลุ 8,300 คัน
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
- สพฐ.ประกาศหยุดเรียน 4-8 ธ.ค.ให้นักเรียน ม.ปลายเตรียมสอบ TGAT/TPAT
ส่วนตัวเลขความเสียหายมาจากภาคเอกชน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินมูลค่าความเสียหายของข้าวนาปีจากผลกระทบของน้ำท่วม ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2565 ว่าอยู่ที่ประมาณ 2,900-3,100 ล้านบาท และการคาดการณ์ว่าผลจากสถานการณ์นี้จะดันราคาข้าวในประเทศให้ประคองตัวในระดับสูงด้วย
ด้านภาคอุตสาหกรรม ทางการเตรียมมาตรการป้องกันมาพักใหญ่ พร้อมยืนยันจะไม่ให้ซ้ำรอยเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่น้ำหลากท่วมนิคมอุตสาหกรรมจนเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปีนั้น
อย่างไรก็ตาม ความพยายามป้องกันน้ำไม่ให้กระทบภาคอุตสาหกรรม ย่อมส่งผลอีกด้านที่น้ำถูกกั้นหรือกักไว้ให้ท่วมบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างของประชาชนทั่วไปจนเป็นความเดือดร้อนในชีวิตประจำวัน บางแห่งเป็นข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านกับหน่วยราชการ และบางแห่งเป็นข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านด้วยกัน เมื่อมีบางพื้นที่ต้องรับน้ำไว้โดยไม่ได้รับคำอธิบายและหรือคำขอความยินยอม
ดังนั้นเรื่องนี้เป็นภาระหน้าที่โดยตรงของรัฐบาลที่จะช่วยแก้ไขและบรรเทาความขัดแย้งไม่ให้บานปลายสิ่งที่น่าจะตามมากับน้ำก็คือหนี้ เพราะช่วงที่น้ำหลากท่วมสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่า บ้าน ร้านค้า สถานประกอบการต่าง ๆ ย่อมเกิดความเสียหายที่ต้องซ่อมแซมบูรณะเพื่อให้กลับไปใช้ชีวิตหรือดำเนินกิจการได้ตามปกติ ต้นทุนดังกล่าวนี้ทำให้ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปอาจต้องกู้ยืมและเพิ่มหนี้ที่อาจมีอยู่เดิม
ขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยปี 2565 สูงถึง 80% ของจีดีพีแล้ว จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องใส่ใจเพื่อหาทางช่วยบรรเทาภาระและความเสียหาย โดยเฉพาะกับกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับเคราะห์หรือผลกระทบแทนภาคอุตสาหกรรม เพิ่มเติมจากการลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและกำชับข้าราชการให้ทำหน้าที่ตามกรอบที่กำหนดไว้
- ออมสิน ให้กู้ฉุกเฉิน 5 หมื่นบาท ไม่คิดดอกนาน 1 ปี ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
-
เช็กมาตรการแบงก์ ที่ไหนให้กู้ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยลูกค้าน้ำท่วม
- ธอส. ประกาศ 7 มาตรการช่วยลูกค้ารับผลกระทบจาก “พายุโนรู”
- กรมอุตุฯเตือน 5-8 ต.ค. เหนือตอนล่าง กลาง กทม. รับมือฝนตกหนักอีกรอบ
- จับตา 7-10 ตุลาคม ฝนตกหนัก กทม.-ปริมณฑล ผู้ว่าฯ เตือน “เจอของจริง”