
คอลัมน์ : ชั้น 5 ประชาชาติ ผู้เขียน : ณัฐวุฒิ ประชาชาติ
จากประเทศฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ มีคนตายนับแสนคน
เคยถูกนำมาพูดเป็นบทเรียนในวันที่ประเทศไทยแบ่งสีแบ่งข้างทางการเมือง คำเตือนระวังไทยจะซ้ำรอย
- EV จีนทุบราคาเลือดสาด ฉางอานท้ารบ-BYD เกทับลดอีกแสน
- รู้จัก น้ำมัน EURO 5 เริ่มใช้ 1 ม.ค. 67 มีผลกับค่าการตลาดน้ำมันอย่างไร
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
แต่วันนี้ “รวันดา” กลายเป็นประเทศศูนย์กลางเศรษฐกิจยุคใหม่ของแอฟริกาใต้
ในปี 2555 บนเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศของไทย ลงบทความเกี่ยวกับความเป็นมาเป็นไปของรวันดาว่า
“รวันดาเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในภูมิภาคแอฟริกา มีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรประมาณร้อยละ 2.8 คิดเป็นอันดับที่ 16 ของโลก ทำให้รัฐบาลเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ”
“รวมทั้งการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและโอกาสในการเข้ารับบริการทางสาธารณสุขให้แก่ประชาชน ในด้านการศึกษา รัฐบาลให้ความสำคัญกับการสอนภาษาอังกฤษให้แก่เยาวชนของประเทศ โดยกำหนดให้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ”
“รวันดาเพิ่งเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศเครือจักรภพ (Commonwealth) อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2553 และเป็นเพียงหนึ่งในสองประเทศที่เป็นสมาชิกโดยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ”
สาขาธุรกิจที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและอาจดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ได้แก่ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และอาคาร/ที่พักอาศัย จนเกิดภาวะขาดแคลนผู้รับเหมาก่อสร้างในบางช่วง
ยังมีสาขาการบริการทางการเงิน การธนาคาร การสื่อสารโทรคมนาคม ปัจจุบันการลงทุนของชาวต่างชาติที่มีมูลค่าสูงที่สุดในรวันดาคือ การลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด 100 เมกะวัตต์ต่อวัน โดยบริษัทของสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้เงินลงทุนถึง 325 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ผ่านมา 10 ปีเต็ม หลังจากบทความดังกล่าวปรากฏในเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ รวันดา กลายเป็นประเทศเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้
ในปี 2020 ผลการจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business 2020) ของธนาคารโลก ปรากฏว่า “รวันดา” อยู่ในอันดับที่ 38 อันดับดีกว่าโปรตุเกส โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก
ตัดภาพมาที่ปัจจุบัน โครงสร้างพื้นฐานถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รถเมล์ที่นั่นใช้บัตรโดยสารเหมือนตั๋วแมงมุมเท่านั้นไม่มีการใช้เงินสด ไม่มีกระเป๋ารถเมล์ มีฟรีไวไฟ 4G ทุกคัน รัฐบาลวางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ออปติกไว้ทั่วเมือง และเน็ตยังเร็วที่สุดในแอฟริกา
สำคัญคือรัฐบาลจับมือเอกชนตั้ง Fablab เป็นพื้นที่ให้คนที่มีไอเดียเข้ามาใช้เครื่องไม้-เครื่องมือ ทำนวัตกรรมต้นแบบก่อนไปเป็นสตาร์ตอัพ
มีโปรแกรมอบรมด้าน Tech Skill หาผู้ที่มีพรสวรรค์ด้านเทคโนโลยี
เปิดคอร์ส Training เกี่ยวกับ Internet of Things (IOT) ภายใต้กองทุนพัฒนาศักยภาพของ Fablab
รวันดาจึงกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะหนุ่มสาวที่มีไอเดียทำสตาร์ตอัพ เพื่อพัฒนาคน-เศรษฐกิจในประเทศ
เด็กรุ่นใหม่ระดับประถมให้ความสนใจกับการเขียนโค้ดคอมพิวเตอร์-แก้ปัญหาในสังคม
รวันดา วันนี้ไปไกล แล้วไทยอยู่ตรงไหนในการเตรียมคนสู่สมรภูมิโลกยุคใหม่ ?