
คอลัมน์ : บทบรรณาธิการ
ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ “10 ปี ชาวนาไทย จนเพิ่ม หนี้ท่วม” โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างชาวนาไทย กับชาวนาอีก 3 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ ได้แก่ ชาวนาอินเดีย ชาวนาเวียดนาม และชาวนาเมียนมา พบว่า ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา (2555-2565) ชาวนาไทยนั้น ยากจนที่สุด กล่าวคือ นอกจากรายได้จากการผลิตข้าวจะไม่เพิ่มขึ้นแล้ว แต่กลับลดลงเสียอีก ในขณะที่ชาวนาจาก 3 ประเทศที่เหลือมีรายได้เพิ่มขึ้น
ต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนาไทย (บาท/ไร่) ในปี 2555 อยู่ที่ 3,839.7 บาท แต่อีก 10 ปีต่อมา ต้นทุนเพิ่มขึ้นเป็น 5,898.5 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.6 ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ปี 2555 อยู่ที่ 463 กก./ไร่ ปี 2565 ผลผลิตกลับลดลงเหลือ 445 กก./ไร่ หรือลดลงร้อยละ -3.9
- ครม.เคาะแล้ว ซื้อสินค้าลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5 หมื่นบาท เริ่ม 1 ม.ค. 67
- MOTOR EXPO 5 วัน ค่ายอีวี BYD ลุ้นแซงโตโยต้า ขึ้นผู้นำขายสูงสุด
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
สอดคล้องกับรายได้ชาวนาไทยก็ลดลงจาก 4,678 บาท/ไร่ เหลือ 3,900 บาท/ไร่ หรือลดลง -16.6 ขณะที่ชาวนาเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งสำคัญของข้าวไทย รายได้กลับเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่ 8,251.5 บาท/ไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 8,320.6 บาท/ไร่ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้น 0.8
โดยสิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ แม้ต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนาไทยกับชาวนาเวียดนามจะใกล้เคียงกัน แต่ผลผลิตต่อไร่ที่ได้รับกลับแตกต่างกัน กล่าวคือ ผลผลิตข้าวเวียดนามทำได้ถึง 900 กก./ไร่ ในปี 2555 อีก 10 ปีต่อมาผลผลิตข้าวเวียดนามเพิ่มขึ้นไปถึง 978.2 กก.ไร่ ทำให้รายได้ชาวนาเวียดนามพุ่งขึ้นไปสูงถึง 8,251.5 บาท/ไร่ และ 8,320.6 บาท/ไร่ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ซึ่งแตกต่างจากชาวนาไทยที่มีรายได้ในปี 2565 แค่ 3,900.3 บาท/ไร่ หรือห่างกัน 4,420.3 บาท/ไร่ทีเดียว
และยังเทียบกันไม่ได้กับชาวนาอินเดีย แม้ต้นทุนการผลิตข้าวในปี 2565 จะสูงถึง 6,993.7 บาท/ไร่ หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2555 คิดเป็นร้อยละ 58.5 แต่ผลผลิตข้าว/ไร่ของอินเดียกลับทำได้ถึง 1,106.7 บาท/ไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7
ส่งผลให้รายได้ของชาวนาอินเดียกระโดดขึ้นไปถึง 11,115.6 บาท/ไร่ หรือชาวนาอินเดียมีรายได้ดีที่สุด เมื่อเทียบกับชาวนาจาก 3 ประเทศที่เหลือ ข้อเท็จจริงในบทวิเคราะห์ชิ้นนี้สะท้อนให้เห็นนโยบายข้าวไทยที่ถูกดำเนินการมาอย่างผิดพลาดตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
กล่าวคือ แม้ต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนาทั้ง 4 ประเทศจะค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่สิ่งที่ชาวนาไทยแข่งขันไม่ได้เลยก็คือ เรื่องของผลผลิต/ไร่ของชาวนาไทยนั้น “ต่ำที่สุด” สะท้อนให้เห็นถึงพันธุ์ข้าวไทย ไม่สามารถสู้กับพันธุ์ข้าวของคู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธุ์ข้าวเวียดนาม ที่ให้ผลผลิตต่อไร่ที่สูงมาก
ความล่าช้าในการวิจัยพันธุ์ข้าวให้สามารถแข่งขันในตลาดข้าวโลกได้กลับติด “กับดัก” อยู่ที่นโยบายรัฐบาลในช่วง 10 ปี ที่มุ่งไปที่การประกันรายได้ให้ชาวนา ซึ่งเป็นแค่การแทรกแซงราคาข้าวในประเทศ แต่ไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ต้นตอของการผลิตข้าวในเรื่องของพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ เลย