ข้อเสนอพัฒนางานด้าน “ผู้สูงอายุ” ตามกรอบปฏิญญาอาเซียน

ผู้สูงอายุ
แฟ้มภาพ

คอลัมน์ ช่วยกันคิด

ศิริลักษณ์ มีมาก กรมกิจการผู้สูงอายุ

การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทย ในเรื่องผู้สูงอายุตามกรอบปฏิญญาอาเซียนผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทยตามกรอบปฏิญญาอาเซียนผู้สูงอายุ และเพื่อเสนอประเด็นพัฒนางานด้านผู้สูงอายุของไทยในระยะต่อไป

สาระและประเด็นที่น่าสนใจจากการศึกษาข้อมูล ดังนี้

– ปฏิญญาบรูไนดารุสซาลาม : ว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวการดูแลผู้สูงอายุ พ.ศ. 2553

– ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ : ว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ

การเพิ่มขีดความสามารถของผู้สูงอายุในอาเซียน พ.ศ. 2558 เนื้อหาสำคัญของแถลงการณ์ คือ ส่งเสริมให้ประเด็นเรื่องการสูงวัยอย่างมีคุณภาพเป็นระเบียบวาระระดับชาติ เน้นใน 3 เรื่องหลัก 1.ดูแลและสุขภาวะของผู้สูงอายุ 2.เพิ่มขีดความสามารถด้านเศรษฐกิจ 3.สร้างสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนต่อการเป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง

การสูงวัยของประชากรโลก

ในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ประชากรโลกได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 4 พันล้านคน โลกมีประชากร 3 พันล้านคน ใน ค.ศ. 1960 เพิ่มเป็น 7 พันล้านคน ใน ค.ศ. 2011 และเพิ่มขึ้นเป็น 7,433 ล้านคน ใน ค.ศ. 2016 ในจำนวนนี้เป็นประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 929 ล้านคน หรือร้อยละ 12.5 ของทั้งหมด มีแนวโน้มว่าประชากรโลกจะมีอายุสูงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วกลายเป็นสังคมสูงอายุสมบูรณ์ไปแล้วทุกประเทศ ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศกลายเป็นสังคมสูงอายุแล้ว แลหลายประเทศจะกลายเป็นสังคมสูงอายุในไม่ช้า

การสูงวัยของประชากรอาเซียน ค.ศ. 1999 เมื่ออาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ มีประชากรรวมกัน 518 ล้านคน โดยประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 38 ล้านคน หรือร้อยละ 7.3 ของทั้งหมด ใน ค.ศ. 2016 อาเซียนมีประชากรรวมกัน 639 ล้านคน มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 61 ล้านคน หรือร้อยละ 9.6 ของทั้งหมด

สถานการณ์สูงวัยของประชากรไทย

ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประชากรไทยเพิ่มช้าลงมาก เมื่อ 50 ปีก่อน ประชากรไทยเคยเพิ่มอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 3 ต่อปี แต่ปัจจุบันลดต่ำลง เหลือเพียงร้อยละ 0.5 ต่อปีเท่านั้น

1.สัดส่วนประชากรสูงอายุใกล้ถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด

2.ผู้สูงอายุจะมีมากกว่าเด็กเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 3.ประชากรรุ่นเกิดล้าน กำลังเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มสูงอายุ 4.ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นเร็ว 5.ลำพูน ลำปาง แพร่ มีดัชนีการสูงวัยสูงสุดในประเทศ

การอยู่อาศัยของผู้สูงอายุไทย

การอยู่อาศัยของผู้สูงอายุมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุคนที่อยู่ด้วยกันในครัวเรือนผู้สูงอายุอาจเป็นได้ทั้งภาระและผู้ดูแลของผู้สูงอายุ ครอบครัวไทยได้เปลี่ยนรูปแบบไปมาก เป็นครัวเรือนที่คนเดียวอาศัยอยู่ หรืออยู่ด้วยกันกับคนที่ไม่ใช่ญาติพี่น้อง จนไม่อาจเรียกว่าเป็น “ครอบครัว”

1.ในปี 2559 ขนาดครัวเรือนไทยเหลือเพียง 3 คน 2.ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังในเขตเทศบาลมีมากถึงร้อยละ 10 3.สัดส่วนผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 4.สภาพแวดล้อมภายในบ้านมีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ

สถานการณ์เศรษฐกิจของผู้สูงอายุ

1.หนึ่งในสามของผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน 2.บุตรยังเป็นแหล่งรายได้ของผู้สูงอายุ แต่ลดลงอย่างมาก 3.ร้อยละของผู้สูงอายุยังทำงานเพิ่มสูงขึ้น

สถานการณ์ทางสุขภาพผู้สูงอายุ

โรคที่พบในผู้สูงอายุ่ 1.โรคความดันเลือดสูง 2.เบาหวาน 3.ข้ออักเสบ/ข้อเสื่อม 4.ถุงลมโป่งพอง/หลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจหาย 5.อัมพาต

การเข้าถึงบริการสุขภาพ : ประเด็นความรู้ทางวิชาการที่สนับสนุนทางเลือกเชิงนโยบาย

1.นิยามสังคมสูงอายุที่พึงประสงค์

2.ขยายการเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

– สถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนระหว่างผู้สูงอายุสิทธิบัตรทองและสวัสดิการราชการ

– วิธีการและอัตราชดเชยค่าบริการให้แก่สถานพยาบาลแตกต่างกันระหว่างสิทธิสวัสดิการข้าราชการ และสิทธิบัตรทอง ทำให้รายจ่ายค่ารักษาพยาบาลต่อคนต่อปีประเภทแรกมากกว่าสามเท่า

เงื่อนไขอื่นที่อาจเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงบริการของผู้สูงอายุ ได้แก่

1.วิธีจัดบริการของสถานพยาบาลโดยให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ 2.การใช้ประโยชน์จากสถานพยาบาลเอกชน 3.การจัดบริการกึ่งเฉียบพลัน (intermediate care)

ระบบบริการอย่างบูรณาการ

การดูแลผู้สูงอายุอย่างบูรณาการในระยะยาว เชื่อมโยงบริการในสถานพยาบาลไปจนถึงบ้านผู้สูงอายุ โดยทีมสหวิชาชีพ

บริการเจ็บป่วยเฉียบพลันและบริการโรคเรื้อรัง

การดูแลรักษาผู้สูงอายุในระยะเจ็บป่วยเฉียบพลันเป็นประเด็นที่ยังมีโอกาสพัฒนาได้อีกมาก การดูแลระยะสุดท้ายและการดูแลประคับประคอง ศูนย์ฟื้นฟูในชุมชนช่วยให้ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น

ข้อเสนอเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุของไทยตามกรอบปฏิญญาอาเซียนในระยะต่อไป

1.ยกระดับและพัฒนาศูนย์ ASEAN Centre on Active Ageing and Innovation (ACAI) ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนางานและบุคลากรด้านผู้สูงอายุ ในระดับภูมิภาคนี้รองรับการเป็นเจ้าภาพอาเซียน

และรองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุของกลุ่มประเทศอาเซียน 2.ส่งเสริมพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรข้ามสาขาในระดับอาเซียน เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมทางวิชาการ และแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุ


3.ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สมาคมผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุ 4.ส่งเสริมการดำเนินงานและการแลกเปลี่ยนงานวิจัยและการศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุระดับอาเซียน เพื่อพัฒนาเป็นกรอบความร่วมมือและนโยบายของกลุ่มประเทศอาเซียน และ 5.พัฒนาสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมที่ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้สูงอายุเข้าถึงสิทธิโดยเสมอภาคทั้งในเรื่องการจ้างงาน กิจกรรมทางสังคม การดูแล