ความมั่งคั่งขึ้นของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คอลัมน์ เลียบรั้วเลาะโลก

โดย ธนาคารเอชเอสบีซี

 

หากถามว่าเหตุไฉนภูมิภาคที่มีผู้บริโภคกว่า 650 ล้านคน จึงมีความมั่งคั่งขึ้น ลองมาดูปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บริการ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติหลาย ๆ แห่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กันสักหน่อย

เมื่อปีที่แล้ว สนามบินกรุงมะนิลา รองรับผู้โดยสารที่มาใช้บริการถึง 41 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปี พ.ศ. 2549 ส่วนผู้โดยสารที่ใช้บริการที่สนามบินนครโฮจิมินห์ ก็เพิ่มจำนวนขึ้นกว่า 4 เท่าตัว จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนผู้โดยสารของสนามบินกรุงจาการ์ตา เพิ่มขึ้นจาก 37 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2552 เป็น 63 ล้านคน ในปีที่ผ่านมา

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวของพลังการบริโภคที่เพิ่มขึ้นของภูมิภาคนี้

ซึ่งในสายตาของบรรดาธุรกิจและนักลงทุนจำนวนมากกลับมองว่า เพื่อนบ้านอย่างอินเดีย และจีน ที่มีจำนวนประชากรมากกว่า และขนาดภูมิประเทศใหญ่กว่า มีความโดดเด่นกว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ครอบคลุมหลากหลายประเทศอย่างอินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ไม่ได้เป็นตลาดสำหรับคนทุกกลุ่ม และเข้าไปหาประโยชน์ได้ง่าย ๆ ใครก็ตามที่เข้ามาทำธุรกิจในตลาดนี้จำเป็นต้องเตรียมรับมือกับความแตกต่างหลากหลายของภาษา วัฒนธรรม และระดับการพัฒนาของเศรษฐกิจ ระบบทางการเมือง กฎระเบียบ และการเงินที่แตกต่าง ตลอดจนระดับการใช้งานอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือที่มากน้อยต่างกัน

และจนถึงขณะนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วในการเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และเป็นตลาดหลักสำหรับสินค้ามากมาย ตั้งแต่รถยนต์ เครื่องสำอาง จนถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศต่อหัวประชากรของ 10 ชาติ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 9,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2573 แม้ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศต่อหัวประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังต่ำกว่าในฮ่องกง สหราชอาณาจักร หรือสหรัฐอเมริกา อยู่มาก

แต่เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า จากราว ๆ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2553 ขณะเดียวกัน บริษัท McKinsey ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจคาดว่า ประชากรชนชั้นกลางในอาเซียนจะแตะระดับสูงสุดที่ 120 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2568 หรือเพิ่มขึ้น 2 เท่าโดยประมาณ จากปี พ.ศ. 2553

ดังนั้น สำหรับใครก็ตามที่ต้องการจะมอบบริการเพื่อตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคที่มั่งคั่งขึ้นเหล่านี้ การทำความเข้าใจถึงวิถีที่ภูมิภาคนี้กำลังเปลี่ยนแปลงไป เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง

โดยคาดกันว่าผู้คนหลายสิบล้านคนจะอพยพจากนอกเมืองเข้ามาอยู่ในเมืองในหลายปีข้างหน้านี้ เพื่อเข้าถึงระบบการศึกษา ระบบประกันสุขภาพ และระบบคมนาคมขนส่งที่ดีกว่า ตลอดจนงานที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยคนเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็นคนหนุ่มสาว ซึ่งเกินกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรอาเซียนมีอายุน้อยกว่า 30 ปี

ธุรกิจคิดค้นและพัฒนาขึ้นเพื่อฐานลูกค้าที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น และยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งพร้อมจะทดลองและจับจ่ายเพื่อซื้อสินค้าใหม่ ๆ ที่เป็นที่นิยม เช่น โทรศัพท์มือถือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อกำเนิดตัวอย่างความสำเร็จของธุรกิจออนไลน์หลายธุรกิจที่พัฒนาขึ้นภายในภูมิภาคเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่แอปพลิเคชั่นเรียกรถยนต์ จนถึงแอปพลิเคชั่นชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ และแอปพลิเคชั่นส่งอาหาร

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายสิบล้านคนในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่มีบัญชีธนาคาร จากการที่ภูมิภาคนี้มีบทบาทและทรงอิทธิพลมากขึ้น ความต้องการบริการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผนการออม ผลิตภัณฑ์ด้านประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ และบริการด้านการเงินระหว่างประเทศ (สำหรับผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น ผู้ที่ศึกษาต่อหรือทำงานในต่างประเทศ) จึงยังคงมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

สำหรับหลายธุรกิจที่มีศักยภาพและมีความพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วได้ ภูมิภาคนี้ย่อมจะมอบสุดยอดโอกาสทางธุรกิจอย่างแน่นอน