“งานขาย-การตลาด”มาแรง!-เทคโนโลยีแทนแรงงานไม่เบ็ดเสร็จ-ห่วงทักษะแรงงานไทยไม่ตรงเป้า!

“งานขาย-การตลาด” สายงานมาแรงตลาดต้องการมากสุดในปี’60 นักลงทุนเชื่อมั่นลงทุนแต่รอดูหลายปัจจัยทั้งเลือกตั้ง ค่าแรง-เทคโนโลยีมาแน่!แต่ทดแทนแบบไม่เบ็ดเสร็จ ยังต้องการแบบ face to face แรงงานต้องปรับตัว เพิ่มสกิลให้ตรงเป้า!! เผย 3E น่าจับตาส่งผลกระทบปี’61

แมนพาวเวอร์กรุ๊ปจัดงานแถลงข่าวทิศทาง กลยุทธ์ แผนธุรกิจและผลประกอบการปี 2560 และเป้าหมายปี 2561 พร้อมเผยผลสำรวจตลาดแรงงาน และภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไทย โดยไซมอน แมททิวส์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แถบตะวันออกกลาง และเวียดนาม , วรรชัย ไพบูลย์บารมี ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัตการ และสุมธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป

@ทิศทางแรงงานไทย-CLMV น่าจับตา ผลประกอบการโตตามเป้า

ไซมอน แมททิวส์ เปิดเผยถึงภาพรวมของผลประกอบการของบริษัทปี 2560 ว่า ทิศทางตลาดแรงงานของประเทศไทยมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว บริษัทจึงมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแรงงานให้ตรงทักษะและเป้าหมายของผู้ประกอบการ ทำให้ปี 2560 ที่ผ่านมานั้นแมนพาวเวอร์มีผลประกอบการตามเป้าที่ 3,900 ล้านบาท

ส่วนมุมมองด้านความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทยท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนั้นมองว่า ยังมีเสถียรภาพแต่ต้องรอดูปัจจัยหลายๆ อย่างทั้งการเลือกตั้ง การเปลี่ยนแปลงของค่าแรงขั้นต่ำ และการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี

ขณะที่ตลาดแรงงานของกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาวเมียนมา เวียดนาม) นั้นเป็นที่น่าจับตามองในเรื่องของการเคลื่อนที่ของแรงงาน เนื่องจากเป็นส่วนที่มีการเติบโตค่อนข้างมาก และน่าจะมีความท้าทายใหม่ๆ เกิดขึ้น รวมถึงในประเทศไทยเองก็มีการลงทุนจากประเทศจีนมากขึ้น และเกิดการขยายฐานแรงงาน ซึ่งทิศทางในระยะ 3-5 ปีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน

ถึงแม้เทคโนโลยี และยุคดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่ก็ยังเชื่อมันว่า แรงงานจะยังคงมีอยู่ ทั้งนี้จะต้องเรียนรู้ และพัฒนาไปตามทักษะตามที่ตลาดต้องการ

@”งานขาย และการตลาด”มาแรง!-“เลือกงาน-ขาดทักษะ-ภาวะเศรษฐกิจ-อาชีพอิสระ” ปัจจัยหลักทำคนว่างงาน

ด้าน สุธิดา กาญจนกันติกุล เปิดเผยถึงงานที่เป็นความต้องการของตลาด และแรงงานในปี 2560 เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือมีความต้อการงานด้าน“งานขาย และการตลาด” มากที่สุด

สำหรับ 10 อันดับสายงานที่เป็นที่ต้องการตลาด มีดังนี้ 1.งานขายและการตลาด 21.59 เปอร์เซ็นต์ 2.งานบัญชีและการเงิน 12.21 เปอร์เซ็นต์ 3.งานไอที 10.12 เปอร์เซ็นต์ 4.งานวิศวกร 8.25 เปอร์เซ็นต์

5.งานบริการลูกค้า 8.14 เปอร์เซ็นต์ 6.งานการผลิต 6.22 เปอร์เซ็นต์ 7.งานธุรการ 6.05 เปอร์เซ็นต์ 8. งานขนส่งและโลจิสติกส์ 5.37 เปอร์เซ็นต์ 9.งานทรัพยากรบุคคล 4.30 เปอร์เซ็นต์ และ10.งานระดับผู้บริหาร 3.50 เปอร์เซ็นต์

ขณะที่ 10 อันดับสายงานที่เป็นต้องการของแรงงาน มีดังนี้ 1.งานขายและการตลาด 20.55 เปอร์เซ็นต์ 2.งานวิศวกร 12.35 เปอร์เซ็นต์ 3.งานธุรการ 11.67 เปอร์เซ็นต์ 4.งานขนส่งและโลจิสติกส์ 9.59 เปอร์เซ็นต์ 5.งานบริการลูกค้า 9.25 เปอร์เซ็นต์

6.งานทรัพยากรบุคคล 7.57 เปอร์เซ็นต์ 7.งานบัญชีและการเงิน 6.26 เปอร์เซ็นต์ 8.งานไอที 6.15 เปอร์เซ็นต์ 9.งานการผลิต 5.44 เปอร์เซ็นต์ และ10.งานด้านภาษาต่างประเทศ 2.06 เปอร์เซ็นต์

สำหรับอัตราการว่างงานของปี 2560 นั้นพบว่า สูงกว่าปี 2559 อยู่ 0.2 เปอร์เซ็นต์ โดยมีปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะว่างงานสูงขึ้นอาทิ การเลือกงานของคนรุ่นใหม่ ไม่รู้จักอาชีพ ขาดแคลนคนมีทักษะที่ตรงเป้าหมาย และประสบการณ์ตรง ฐานเงินเดือน รวมทั้งคนรุ่นใหม่นิยมหันมาประกอบอาชีพอิสระ และทำงานระยะสั้นมากขึ้น

อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และการเข้ามาของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลด้วย

ที่มา: แมนพาวเวอร์ กรุ๊ป

@ธุรกิจ”บริการ-อุตสาหกรรม-เทคโนโลยี” ต้องการแรงงานมากสุด!

สุทธิดา กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มของตลาดแรงงานปี 2561 นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบการทำงาน ลักษณะการจ้างงานและตลาดแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านของดิจิทัล รวมถึงการขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐ การตื่นตัวทั้งภาครัฐและเอกชน

โดยกลุ่มธุรกิจที่มีความต้องการแรงงานมากที่สุด 3 อันดับคือ ธุรกิจบริการ ทั้งการขนส่งและโลจิสติกส์ การบริการเฉพาะกิจ และการท่องเที่ยวสันทนาการ

กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร ยานยนต์ และกลุ่มเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

ส่วนแนวโน้มตลาดแรงงานประกอบด้วย 10 แนวโน้มที่สำคัญดังนี้

1.กระบวนการคัดสรรพนักงานจะมีความเข้มข้นขึ้น โดยต้องการแรงงานที่มีทั้ง Hard skill และ Soft Skill  รวมถึงประสบการณ์ตรงด้วย 2.องค์กรต่างๆ มีการจ้างงานลักษณะ Outsource มากขึ้น 3.เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หรือ อีอีซี จะสร้างโอกาสด้านอาชีพขนาดใหญ่ราว 1 แสนคน/ปี

4.จะมีการใช้เทคโนโลยีมาทดแทนแรงงานคนแต่ไม่เบ็ดเสร็จ เนื่องจากยังต้องการแรงงานที่มีความรู้เฉพาะทาง มีประสบการณ์ตรง 5.ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซทำให้เกิดการจ้างงานด้านไอที ขนส่งและโลจิสติกส์ และการบริการลูกค้าจำนวนมาก

6.เกิดแรงงานระยะสั้น (Gig Worker) กระจายในเกือบทุกธุรกิจ 7.การบริหารบุคลากรที่เน้นประสิทธิภาพมากขึ้น 8.แรงงานวัยเกษียณจะขยายอายุการทำงานมากขึ้น  9.มีการหมุนเวียนแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน ทัศนคติของคนหันไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น และ10.มีการขยายตัวของดิจิทัลแพลตฟอร์ม และเชื่อมโยงทุกการสื่อสาร

ที่มา: แมนพาวเวอร์ กรุ๊ป

@3E ปัจจัยน่าจับตาปี’61

ทั้งนี้สำหรับปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตาปี 2561 คือ “3E”  1.การเลือกตั้ง (Election) ที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน 2.โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และ 3.อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) การขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์

@แมนพาวเวอร์ชู 3 กลยุทธ์นวัตกรรมแรงงาน

วรชัย ไพบูลย์บารมี เปิดเผยถึงถึงทิศทางและกลยุทธ์ในปี 2561 ของแมนพาวเวอร์ว่า เน้นในเรื่องของการบริการที่มีคุณภาพต่อเนื่อง เพราะแมนพาวเวอร์เป็นบริษัทที่มีบริการครอบคลุมทุกระดับของแรงงาน และมีรูปแบบการให้บริการแรงงานที่เป็นโซลูชั่นมากขึ้น

ส่วนความท้าทายของเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลต่อผู้ประกอบ และแรงงานนั้นว่า แรงงานไทยยังทักษะไม่พร้อมในทุกด้าน ดังนั้นแมนพาวเวอร์มีการจัดตั้งศูนย์แมนพาวเวอร์ อะคาเดมี เพื่อพัฒนาทักษะของกลุ่มคนบางกลุ่มให้มีทักษะตอบโจทย์กับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป

ทั้งนี้แมนพาวเวอร์ชู 3 กลยุทธ์ในการให้บริการด้วยคุณภาพคือ มุ่งเน้นการบริการด้วยคุณภาพการวิเคราะห์ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง


การพัฒนาทักษะแรงงาน โดยวางแผนพัฒนา “Manpower Academy” เตรียมความพร้อมของแรรงานก่อนเข้าสู่ตลาด และพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพื่อให้เอชอาร์เชื่อต่อกับลูกค้า และพนักงานด้วยความสะดวก