
เอ็กโซติค ฟู้ด (XO) นำแบรนด์ซอสพริกตรา ห่านบิน (Flying Goose) ร่วมกับร้านอาหารชื่อดัง “โอ้กะจู๋” มอบเงินทุนสนับสนุนจากแคมเปญพิเศษ “ห่านบินบินกลับไทย Summer landing ห่านบินชวนกินผัก ทำความดี กับ โอ้กะจู๋” ช่วยเกษตรกรปลูกพริกปลอดสาร จังหวัดเชียงราย
วันที่ 17 ตุลาคม 2566 พญ. ศิริวรรณ ตั้งเจริญชัยชนะ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความท้าทายของเราไม่ได้มองแค่การเป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกซอสพริกของคนไทย ภายใต้แบรนด์ของตนเองที่วางขายแล้วกว่า 80 ประเทศทั่วโลก รวมถึงตลาดอเมริกาเหนือที่ส่งออกเป็นตลาดล่าสุด
- เปิดลงทะเบียนแก้หนี้ 1 ธ.ค.นี้ เครดิตบูโรห่วงกู้ซื้อ “รถ-บ้าน” ค้างจ่ายพุ่ง
- ครม.เคาะขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 10% เริ่มงวดแรกปี 2567
- คลังดึงออมสิน ช่วยแก้หนี้นอกระบบ พร้อมปล่อยกู้ 5 หมื่นบาทต่อราย
แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ความท้าทายด้าน “ธุรกิจ” อย่างเดียวไม่พอ แต่เรายังต้องการเป็นผู้นำสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และรากฐานของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกพริกของเราเช่นกัน
โครงการระบบน้ำหยดใช้ในการปลูกพริกปลอดสาร จึงนับเป็นหนึ่งในโครงการรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ประจำปี 2566 ของ บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้มากขึ้น และช่วยเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น
รวมถึงแก้ไขปัญหาจัดการเรื่องน้ำใช้เพาะปลูกด้วย เนื่องจากปัญหาสำคัญ คือ ปริมาณน้ำไม่พอใช้ และไม่มีระบบน้ำหยด จึงหาแหล่งผลิตที่อยู่ใกล้แม่น้ำโขง ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่งหลังจากที่ติดตั้งระบบน้ำหยดแล้ว จะช่วยให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นจาก 3,500 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มเป็น 4,000-5,500 กิโลกรัมต่อไร่
นอกจากนี้ บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน) ยังได้มอบทุนการศึกษาให้กับลูกหลานเกษตรกรในโครงการระบบน้ำหยดอีกด้วย จำนวน 60 ทุน เพื่อให้ลูกหลานเกษตรกรมีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขั้นต่อไป
“โครงการนี้ฯ จึงถือเป็นโครงการนำร่องที่บริษัทฯ ได้จัดทำขึ้น และจะเดินหน้าเพื่อเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราก็หวังว่า ในปีต่อ ๆ ไป เราจะได้เข้ามาจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อคืนกำไรให้สังคมเช่นในปีนี้อีก และเราก็คาดหวังว่า เกษตรกรผู้ปลูกพริกในจังหวัดเชียงราย จะมีผลผลิตที่ดีขึ้น ขยายพื้นที่ผลิตได้มากขึ้น และที่สำคัญคือสร้างรายได้ให้ครอบครัวและชุมชนได้มากขึ้น”