“ธนาคารโลก” สานฝันเยาวชน ออกแบบอนาคตเพื่อสังคมยั่งยืน

ต้องยอมรับว่าตลอดช่วงสัปดาห์ผ่านมา ท้องฟ้าของมหานครกรุงเทพขมุกขมัวที่สุดในรอบปี เนื่องจากฝุ่นพิษ PM 2.5 ปกคลุมไปทั่ว”อาณาบริเวณ จนทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว”อาจทำให้หลายคนหดหู่ หมดหวังต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการเมืองในสังคมไทย แต่ในทางกลับกัน กลับมีหน่วยงานแห่งหนึ่ง คือ ธนาคารโลก กลับทำกิจกรรมชักชวนเยาวชนคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมกับงานนิทรรศการ “Thailand Young Artists : Our Country, Our Fu-ture Art Exhibition : ความฝันของเยาวชนไทย อนาคตแบบไหนที่อยากเห็น” เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อเชิญชวนพวกเขาที่ได้รับรางวัลครั้งนี้ พูดคุยถึงความเป็นไปได้ และอนาคตที่พวกเขาใฝ่ฝัน

 

“ดร.Birgit Hansl” ผู้จัดการธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารโลกอยากร่วมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างการเปลี่ยนแปลง”แง่บวกในประเทศไทย จึงเริ่มต้นปีด้วยการฟังเสียงเยาวชนผ่านการจัดนิทรรศการครั้งนี้ และในอาทิตย์ถัดไปจะพาเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจำนวนหนึ่งไปพูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ทำเทียบรัฐบาล เพื่อสะท้อนเสียงของเยาวชนคนรุ่นใหม่ต่อไป

“ธนาคารโลกจึงเปิดให้เยาวชน”ทั่วประเทศส่งงานศิลปะเข้าร่วมโครงการ Thailand Young Artists : Our Country, Our Future โดยมีโจทย์คือ ให้วาดภาพอนาคตที่เยาวชนไทยอยากเห็น โดยมีเยาวชนทั่วประเทศกว่า 300 คน ส่งผลงาน”เข้าประกวด และงานที่ส่งมามีความ”หลากหลายทั้งอายุ ถิ่นกำเนิด และเนื้อหา ตั้งแต่ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความรัก และความสัมพันธ์ในครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม “วัฒนธรรม ฯลฯ โดยมีคณะกรรมการพิจารณาจากความสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ และเนื้อหา จนได้ผลงาน 50 ชิ้นมาจัดแสดง โดยชวนเยาวชนที่ได้รับรางวัลจะมาร่วมพูดคุยถึงความฝันของพวกเขา”

“อาจารย์จิรวัฒน์ เอื้อสังคมเศรษฐ์” คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร “มหาวิทยาลัยศิลปากร หนึ่งในคณะกรรมการ”ผู้ตัดสินผลงาน และผู้นำเสวนา กล่าวว่า “ตอนที่เห็นงานของเด็ก ๆ รู้สึกว่าน่าสนใจ”มาก เพราะมีทั้งงานที่พูดถึงเรื่องใกล้ตัว”ที่เป็นรูปธรรม และงานที่สื่อสารเรื่องไกลตัว”ที่เป็นนามธรรม และเมื่อมีโอกาสได้คุยกับ”เยาวชนในวันนี้ พบว่าเด็ก ๆ มีความคิด”อ่านน่าสนใจ และผู้ใหญ่ควรรับฟัง

“อัญชลิกา แก้วจันทร์” นักศึกษาคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร บอกว่า “การเข้าร่วมโครงการครั้งนี้เพราะคิดว่านี่เป็นโอกาสที่จะได้แสดงออกถึงความสามารถที่มีอยู่ และได้พูดถึงปัญหาสังคมที่สนใจ ส่วนภาพที่วาดเป็นภาพของเด็กชายคนหนึ่งถือสมุดวาดรูปที่เป็นความฝันของเขา

“เนื่องจากตอนเด็ก ๆ เวลาฝันอะไรจะวาดสิ่งที่ฝันลงในสมุด เด็กคนนี้ก็เหมือนกัน เขาวาดสิ่งที่เขาฝันลงสมุดจด “แต่ข้างหลังเด็กเป็นบ้านไม้สังกะสี แสดงถึง”สถานะครอบครัวที่ยากจน ภาพนี้เราอยากพูดถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เด็กแต่ละคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน “แต่ได้รับโอกาสในชีวิตไม่เท่ากัน เด็กบางคน”อาจต้องเดินเท้าไปโรงเรียน ไม่มีหนังสือ ไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ ฉะนั้น ภาพนี้ไม่ได้”บอกว่าเขาจะได้เป็นตามที่ฝันไว้หรือไม่ “แต่เป็นการชวนคนมองภาพให้คิดต่อว่า เราจะทำอย่างไรให้เด็กทำตามฝันตัวเอง”ไว้ได้ โดยที่เขาไม่ต้องดั้นด้นด้วยตัวเอง”เท่านั้น”

“พันธหทัย บางขุนเทียน” วาดภาพโลกสองด้านที่เป็นกระจกเงาสะท้อนซึ่งกันและกัน ด้านหนึ่งสดใสสวยงามด้วยธรรมชาติและเทคโนโลยี อีกด้านหม่นหมองด้วยกลุ่มควัน เธอวาดภาพเนื่องจากตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม และอยากจะสื่อถึง butterfly effect ที่ทุกการกระทำของเราไม่ว่าเล็ก หรือใหญ่ ล้วนส่งผลต่ออนาคตแน่นอน

“เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในสังคม อยากเห็นการเดินทางที่ใช้รถน้อยลง “มีขนส่งสาธารณะที่สะดวกมากขึ้น ทุกวันนี้”กรุงเทพฯมีปัญหารถติด และฝุ่นควันมาก “ทำอย่างไรก็แก้ไม่ได้ จึงอยากให้ทุกคนเห็นความสำคัญ”

“ปราชญ์ ธรรมาวุฒิกุล” นักศึกษาสาขาวิชาออกแบบกราฟิก และอินโฟ”มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วาดรูปชาวนากำลังเกี่ยวข้าว โดยมีรวงข้าว”ชูช่อออกมาเป็นธนบัตร 100 บาท เพื่อสื่อว่า”ทุกวันนี้ชาวนาทำงานแลกเงิน แม้ว่าจะทำอย่างเต็มร้อย แต่ก็อาจจะไม่ได้กลับคืนมา”เต็มร้อย เพราะต้องให้ส่วนแบ่งกับโรงสีข้าว “ค่าขนส่ง บริษัทต่าง ๆ จนทำให้ชาวนายังคงลำบาก และยากจน

“ผมมองว่าสังคมควรเคารพกฎหมาย และสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และต้องหยุดคิดว่าเรื่องแบบนี้ใคร ๆ ก็ทำกัน อย่างเรื่องเล็ก ๆ เช่น มอเตอร์ไซค์ที่ชอบขี่บนฟุตปาท, คนเดินเท้าที่ชอบเดินลัดสนาม ไปจนถึงเรื่องใหญ่ ๆ สิ่งเหล่านี้”อาจไม่เป็นอะไรในสายตาคนทำ แต่ความจริงไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง ทั้งยังก่อความเสียหายมาก ผมเลยอยากให้ทุกคน”เคารพกันมากขึ้น ถ้าสังคมมีความเคารพกัน”มากขึ้น ปัญหาต่าง ๆ ก็จะน้อยลง”

“ปฏิมา แซ่บู่” อายุ 18 ปี วาดภาพการอยู่ร่วมกันของความหลากหลาย”ทั้งชาติพันธุ์ ถิ่นกำเนิด อายุ สีผิว และเพศ โดยใช้สีสันสดใสเพื่อบอกว่า เราอยู่ร่วมกันได้บนความแตกต่าง

“หนูคิดว่ามีปัญหาที่คนยังไม่เคารพความต่างของกันและกัน ตำหนิ ตีตราคนที่ต่างออกจากเรา สิ่งนี้แก้ไขได้เลย โดยที่เรายอมรับ และเข้าใจคนอื่นว่ามีเงื่อนไขชีวิตต่างจากเรา เพราะจะช่วยทำให้เราอยู่ร่วมกันอย่างสบายใจ ไม่กังวลเวลาออกไปไหน ใส่ชุดนี้ มีอัตลักษณ์”แบบนี้ ใครจะว่าอะไรไหม ทุกคนจะรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น”


ทั้งหมดนี้คือกรอบ และวิธีการคิดของเยาวชนรุ่นใหม่ ที่พยายามออกแบบความฝันของพวกเขา เพื่อให้เกิดขึ้นจริงในอนาคต แม้ความฝันนั้น”อาจจะยังไม่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน แต่อย่างน้อยก็เป็นการวาดความฝันของตัวเองไว้ในใจ เพื่อรอว่าสักวันหนึ่งจะเกิดขึ้นจริง