เมื่อนักกฎหมาย ถูกดิสรัปชั่น

การบริหารงานบุคคล
คอลัมน์ เอชอาร์ คอร์เนอร์
โดย พิชญ์พจี สายเชื้อ

 

ไม่กี่วันผ่านมาได้รับเชิญจาก”พี่อู๋” และ “อาจารย์แหม่ม” รุ่นพี่ที่จุฬาฯ ให้ไปพูดออกเฟซไลฟ์ (ครั้งแรกในชีวิต ซึ่งไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด 555) ใน CU Law Talk หัวข้อเรื่อง “เมื่อนักกฎหมายถูกดิสรัปชั่น” ซึ่งได้ออกตัวก่อนพูดว่าวันนี้ขอพูดในฐานะคนจบกฎหมายที่ไม่เคยpractice กฎหมายเลย (หลาย ๆ ท่านอาจไม่ทราบว่า ดิฉันจบกฎหมายก่อนไปเรียนต่อด้านจิตวิทยาอุตสาหการ)

ในมุมมองของ outside-in คือมองออกมาจากข้างนอกในฐานะHR ต่อนักกฎหมาย สิ่งที่น่าสนใจคืองานกฎหมายเป็นงานที่ conservativeและมีเอกสารมากมาย, เป็นงานวิชาชีพการถูก disrupt ไม่น่ามาถึงเร็วนัก แต่ในมุมมองของดิฉัน ความเปลี่ยนแปลงกำลังมา และกดดันให้อาชีพนี้ หรือผู้ที่อยู่ในอาชีพนี้ต้องปรับตัวด่วน ๆ เลย

ผลการทำวิจัยเรื่องงานกฎหมายพบว่ามีข้อมูลน่าสนใจว่า งานกฎหมายนั้นน่าจะโดน disrupt ได้ง่ายมาก เพราะเป็นงานที่ใช้คนใน 1) การอ่าน เอกสาร (สัญญา) เป็นตั้ง ๆ เพื่อ 2) วิเคราะห์โดยยึดตัวบทฯ และคำพิพากษาที่ผ่านมาเป็นแนวทาง ในการหาทางออก หรือ solution ของเคสต่าง ๆ ซึ่งเราทราบกันดีเรื่องการอ่านเอกสารเยอะ ๆและการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากที่ต้องวิเคราะห์ตาม pattern เดิม ๆ AIคือ คำตอบสุดท้าย (เพราะทำได้ดีกว่าคนแน่)

เทรนด์ในการใช้เทคฯมาช่วยมีมาสักพักแล้ว ในต่างประเทศมีการนำ AI มาช่วยในการรีวิวเอกสาร และนำมาช่วยในการวิเคราะห์เคสเพื่อคาดการณ์หา solution ที่เหมาะสมด้วย นอกจากนี้ในศาลยังมีการนำ AI มาใช้ประกอบการพิจารณาคดีด้วย

ตัวอย่างของการนำ AI มาใช้ ได้แก่ การทำการทดสอบในปี 2017 โดย Case Crunch ได้จัดการแข่งขันในการวิเคราะห์ และอ่านข้อมูลระหว่าง AIกับนักกฎหมาย (ที่เป็นคน) ผลปรากฏว่า Case Crunch ชนะ ด้วยคะแนนความถูกต้อง 86.6% ในขณะที่นักกฎหมายได้คะแนน 62.3%

อย่างไรก็ตาม ทาง Case Crunchได้ให้สัมภาษณ์น่าสนใจว่า 1) Case Crunch ไม่ได้ออกมาเพื่อเป็นศัตรูกับนักกฎหมาย แต่ในทางกลับกัน Case Crunch ออกมาเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยนักกฎหมายให้ทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อะไรที่ต้องใช้ AI ก็ใช้ เอาเวลาไปทำงานที่ AI ทำไม่ได้ดีกว่า และ

2) ไม่ได้หมายความว่า AI เก่งกว่านักกฎหมายในการวิเคราะห์และคาดการณ์เคสในทุกกรณี เพราะคำถามที่นำมาใช้ในการแข่งขันนั้นต้องถูกกำหนดอย่างชัดเจน AIจึงจะ predict ได้ถูกต้อง แต่อย่าลืมว่าในชีวิตจริง เราไม่สามารถมีความชัดเจน 100% ได้ในทุกกรณี ดังนั้นนักกฎหมายยังมีความจำเป็นอยู่

สิ่งที่น่าสนใจคือถึงเวลาแล้วหรือยังที่สำนักกฎหมาย และนักกฎหมายต้องเริ่มคิดปรับตัว เพราะ AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดีมาก และถ้าเราไม่ปรับ แต่คนอื่นปรับเราก็อยู่ไม่ได้

ยกตัวอย่างง่าย ๆ ทราบกันดีว่านักกฎหมายเวลาทำงาน เขาคิดเงินเป็นรายชั่วโมง (ซึ่งรวมเวลาการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย) ถ้าเราใช้ AI ช่วยในส่วนนี้ ค่าใช้จ่ายจะถูกลง และลูกค้าก็จะจ่ายน้อยลงด้วย เราก็ยังเป็นตัวเลือกของลูกค้าอยู่ ภายใต้การแข่งขันสูงในปัจจุบัน (เริ่มมีเทรนด์แล้วนะคะว่า ลูกค้าบริษัทใหญ่ ๆ ไม่ยอมจ่ายเงินตามรายชั่วโมงแล้ว แต่ขอจ่ายเป็น fixed feeแทน รวมทั้งพยายามลดการจ้างบริษัทกฎหมาย แต่จ้างนักกฎหมายเก่ง ๆ มาทำ in-house แทน)

เอาล่ะ เรามาดูกันว่าเรื่องพวกนี้จะกระทบ 1) business model ของบริษัทกฎหมายอย่างไร และ 2) นักกฎหมายต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร ตามรูป ซึ่งเป็นความเห็นของดิฉันว่า business model ต้องปรับให้เล็กลง เพื่อให้แข่งขันได้ โดยใช้ AI และเทคฯเป็นเครื่องมือในการสร้างประสิทธิภาพ

จากภาพจะเห็นว่า ปัจจุบัน biz model ของบริษัทกฎหมาย จะประกอบไปด้วย (อย่างน้อย) junior lawyer, lawyer, junior partner และ partner ซึ่งในความเห็นส่วนตัวคิดว่า น่าจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่น่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี (สำหรับประเทศไทย) โดย 1) กลุ่ม junior lawyer จะถูกแทนที่ด้วย AI และ technology โดยเหลือคนที่เป็นหัวกะทิจริง ๆ ที่จะก้าวขึ้นไปเป็น lawyer ในอนาคตได้ 2) กลุ่ม lawyer และ junior partner น่าจะรวมกันเป็นหนึ่งกลุ่ม เนื่องจากลักษณะงานไม่ได้ต่างกันชัดเจน (แต่จะเรียกอะไร ก็แล้วแต่องค์กร)

ซึ่งกลุ่มนี้ต้องได้รับการ reskill และ 3) ส่วนตัวมองว่ากลุ่ม partner จะเป็นกลุ่มที่กระทบน้อยที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ใช้ความชำนาญ และประสบการณ์ที่ AI ยังมาทดแทนไม่ได้ (ซึ่งในระหว่างการ transition ดิฉันมองว่าต้องมีการนำ AI มาใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ มีการautomated กระบวนการที่เป็น manual มีการใช้ ALSP (alternative legalservice providers) และที่สำคัญที่สุดคือ การปรับ mind-set และ reskill พนักงานทุกระดับ)

สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ “คน”

ในบริษัทกฎหมายต้องปรับเปลี่ยน mind-set โดยมีเรื่องหลักที่ต้องปรับ mind-set คือปรับจากการเน้นที่ตัวหนังสือ (หรือสัญญา หรือตัวบทฯ) มาให้ความสำคัญกับ “ลูกความ” ด้วย หรือที่เรียกว่า ต้องเป็นคนที่มี client-centric mind-set เน้นที่การฟังความต้องการลูกความ, ปัญหา, ข้อจำกัด แล้วนำตัวบทกฎหมายมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม โดยการทำงานควรทำร่วมกัน ให้ลูกความรู้สึกว่าเขามีส่วนร่วม

ซึ่งการทำเช่นนี้ได้ นักกฎหมายต้องมีก) ทักษะในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เช่น (1) ควรบอกลูกความทุกครั้งว่า “ทำไม” ถึงแนะนำอย่างนี้ และ(2) ควร “ตั้งคำถาม” กับลูกความด้วยว่าเป็นไปได้มั้ยในทางปฏิบัติ นอกจากนี้ (3) การให้คำแนะนำพร้อม option และ ข้อดี ข้อเสีย ก็จะเป็นประโยชน์กับลูกความอีกด้วย ข) ความยืดหยุ่นคล่องตัว ต้องพร้อมปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ เพราะในอนาคตอะไร ๆก็เกิดขึ้นได้ ต้องมีความคิดที่ไม่ยึดติด(กับตัวหนังสือ) เกินไป ค) ความใฝ่รู้การที่งานกฎหมายถูก disrupt หมายความว่า นักกฎหมายต้องปรับทักษะ หรือ reskill ดังนั้นความใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลาจึงสำคัญมากสำหรับนักกฎหมายในอนาคตค่ะ


สรุปว่า สิ่งที่อยากสื่อ คือ อย่าชะล่าใจไปนะคะ แม้กระทั่งวิชาชีพที่ conservativeมาก ยังต้องปรับเปลี่ยน เพราะฉะนั้น อยากให้ทุกท่าน “ตระหนัก” แต่อย่า “ตระหนก” และเริ่มเตรียมความพร้อม ยังมีเวลาพอนะคะ