กระทรวงแรงงาน ทบทวนแผนบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ

Photo by GIUSEPPE CACACE / AFP

ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2563 – 2565 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงสิทธิพื้นฐานในการประกอบอาชีพ

นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวในพิธีเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2563 – 2565 โดย นายสุทธิกล่าวว่า “แรงงานนอกระบบเป็นแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศ ที่มีส่วนสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ได้รับการคุ้มครอง และการส่งเสริมระบบสวัสดิการทางสังคมต่างๆ ไม่ทัดเทียมแรงงานในระบบ ทั้งนี้จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID- 19) ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าแรงงานนอกระบบเป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ได้รับผลกระทบต่ออาชีพ รายได้ การดําเนินชีวิต อีกทั้งแรงงานในระบบก็มีแนวโน้มที่จะมาทํางาน เป็นแรงงานนอกระบบมากขึ้นซึ่งจะเห็นได้จากการลดลงของจํานวนผู้ประกันตนมาตรา 33

สุทธิ สุโกศล
สุทธิ สุโกศล

โดยปัจจุบันการดูแลส่งเสริม คุ้มครอง และพัฒนาแรงงานนอกระบบ อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานหลายหน่วยงาน รวมท้ังองค์กรภาคประชาสังคม หลายองค์กรก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลแรงงานนอกระบบร่วมกับภาครัฐ ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560 – 2564 ซึ่งมีวิสัยทัศน์ คือ แรงงานนอกระบบมีความมั่นคงทางรายได้ ได้รับการคุ้มครองทางสังคมอย่างทั่วถึง นําไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน”

“ขณะนี้ กระทรวงแรงงานอยู่ระหว่างดําเนินการรับฟังความคิดเห็น ร่าง พระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ พ.ศ. …. ในระหว่างวันที่ 1 – 30 กันยายน 2563 ผ่านทาง web site ของกระทรวงแรงงาน ซึ่งหลักการสําคัญของร่าง พรบ. ดังกล่าว คือ การทําให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงสิทธิพื้นฐานในการประกอบอาชีพ มีความปลอดภัยในการทํางาน มีหลักประกันทางสังคม สามารถขึ้นทะเบียน มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นองค์กร ได้รับการส่งเสริม คุ้มครอง และ พัฒนาสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ลดความเหลื่อมลํ้าในสังคม และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการพื้นฐานทางสังคมของภาครัฐเพื่อนําไปสู่การดําเนินการให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม”

โดยกลุ่มเป้าหมายของการประชุมเชิงปฏิบัติการในวันนี้ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐท้ังในและนอกสังกัดกระทรวงแรงงานที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับงานแรงงานนอกระบบ ผู้แทนจากหน่วยงานภาคเอกชน ภาคประชาชน และ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ จํานวนทั้งสิ้น 80 คน