
ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปี CSR Asia Summit 2017 การประชุมชั้นนำเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมในภูมิภาคเอเชีย โดยในปีนี้การประชุมจะเน้นเรื่องการวิเคราะห์และรับมือกับอนาคตเพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน ซึ่งนับเป็นประเด็นสำคัญสำหรับธุรกิจต่างๆ มากมายในโลกยุคปัจจุบันที่ไม่สามารถคาดเดาสถานการณ์ได้ โดยส่วนสำคัญของการอภิปรายจะประกอบด้วยเรื่องนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ซึ่งเป็นที่มักจะถูกหยิบยกมากล่าวถึงกันอย่างสม่ำเสมอในสังคมไทย รวมทั้งเรื่องความได้เปรียบทางการแข่งขัน
สำหรับงานประชุม CSR Asia Summit 2017 กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 26 – 27 กันยายน 2560 ณ โรงแรมเดอะอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ โดยมีวิทยากรมากกว่า 80 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด (C-suite executives) จากองค์กรเอกชนหน่วยงานของรัฐ,สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นอดิดาส, แคร์, สิงเทล, ซีแอลพีโฮลดิ้ง, โอเชี่ยน รีโคฟเวอรี่ อัลไลแอนซ์,โกลเบิล ไชล์ด ฟอรั่ม, ซีดีแอล, เอช แอนด์ เอ็ม, ไอบีเอ็ม, เชลล์, ยูนิลีเวอร์, ยูนิเซฟ, วีซ่า และ จีอาร์ไอ
- พายุลูกใหม่จ่อเข้าไทย ชี้ความรุนแรงเท่า “เตี้ยนหมู่” ระวังน้ำท่วมใหญ่
- นายกฯตั้งบอร์ดใหญ่คุมแจกเงิน 10,000 บาท ห้าง-โมเดิร์นเทรดรับอานิสงส์
- กรมอุตุฯเตือน “พายุดีเปรสชั่น” เข้าไทย รับมือฝนตกหนัก-ท่วมฉับพลัน
โลกกำลังเปลี่ยนไป ประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเช่นกัน ช่วงเวลาของเศรษฐกิจที่ท้าทาย, สถานการณ์โลกที่ผันผวน, สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง, สังคมที่มีการแบ่งฝ่ายกันมากขึ้น และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจมีความเปราะบางมากขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ธุรกิจจะต้องปรับตัวพร้อมรับความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเราสามารถคาดเดาได้ยาก
การวิเคราะห์และรับมือกับอนาคต คือ กระบวนการในการคาดการณ์ถึงอนาคตและพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อลดผลกระทบด้านลบ ในขณะที่ใช้ประโยชน์จากผลกระทบด้านบวกจากภาวะช็อกและภาวะกดดัน อันเกิดจากสถานการณ์ในอนาคต โดยหัวใจของกลยุทธ์ของการวิเคราะห์และรับมือกับอนาคตคือความมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาโลกของเราได้อย่างยั่งยืน
“ดร. ริชาร์ด เวลฟอร์ด” ประธานและผู้ก่อตั้ง CSR Asia กล่าวว่า กุญแจของการดำเนินธุรกิจในระยะยาวคือนวัตกรรมและการบริหารความเสี่ยง องค์กรหลายแห่งมีองค์ประกอบในการจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลอยู่แล้ว แต่ส่วนมากยังไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควรเนื่องจากยังต้องประสบกับความเสี่ยงที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ หลายๆ กลยุทธ์มักเน้นพิจารณาความเสี่ยงที่ผ่านมา มากกว่าวิเคราะห์คาดการณ์ถึงความเสี่ยงในอนาคต
“เพื่อแก้ปัญหานี้ได้บริษัทต่างๆ ต้องขยายมุมมองในการพิจารณาความเสี่ยงให้กว้างขึ้น และปรับเปลี่ยนจากแนวทางการตั้งรับและปฏิบัติตามกฎไปเป็นการคิดริ่เริ่มและการทำนายอนาคต “เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และรับมือกับอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรจำเป็นที่ต้องมีวิธีการที่สามารถคาดการณ์ความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการสร้างโครงสร้างด้านนวัตกรรม”
ทั้งนี้ในการประชุมจะประกอบไปด้วยกลุ่มอภิปรายย่อย 20 กลุ่ม โดยครอบคลุมประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการลงทุนในชุมชน การปลดล็อคคุณค่าของความยั่งยืนขององค์กร และการค้ามนุษย์และสิทธิเด็ก สำหรับผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.csr-asia.com/summit2017/index.html