20 มี.ค. วันความสุขสากล “AIS” แนะวิธีใช้โซเชียลไม่ให้ทุกข์

เอไอเอสแนะวิธีมีความสุขในวันความสุข 20 มี.ค.

AIS แนะใช้โซเชียลออนไลน์ไม่ให้ทุกข์ หยุดวิถี “Faceจุก Twitเฮ้อ Instaกรรม” ในวันความสุขสากล

สหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 20 มี.ค. ของทุกปีเป็น “วันความสุขสากล” หรือ “International Day of Happiness” และจากรายงาน United Nations World Happiness Report ประจำปี 2020 เผยไทยติดอันดับประเทศที่มีความสุขในอันดับที่ 54 จากทั้งหมด 153 ประเทศ แต่ดัชนีความสุขของไทยหล่นลง 2 อันดับเมื่อเทียบกับปี 2019

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้แนวโน้มความสุขมวลรวมของคนไทยลดลงมาจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต และการเสพสื่อโซเชียลมีเดียที่ไม่เหมาะสม ผิดวิธี โดยจากข้อมูล Thailand Digital Stat 2021 ของ We Are Social รายงานว่า คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตต่อวันสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก เฉลี่ย 8.44 ชั่วโมงต่อวัน อีกทั้งยังใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือเป็นอันดับ 3 ของโลก เฉลี่ย 5.07 ชั่วโมงต่อวัน

ตัวเลขดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการเสพสื่อของคนไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง มีปริมาณคอนเทนต์ ข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์จำนวนมหาศาล หากไม่มีการกลั่นกรอง เลือกเสพสื่อที่เหมาะสมก็อาจส่งผลให้เกิดความทุกข์จากการใช้งานได้

“เอไอเอส” (AIS) ในฐานะ Digital Life Service Provider มีความตระหนักถึงการใช้อินเทอร์เน็ต และสื่อโซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความสุข ไม่ทุกข์จากการเสพสื่อออนไลน์ จึงแนะนำหลักการใช้งานอินเทอร์เน็ต และสื่อออนไลน์ให้เป็นสุข หยุดวิถี “Faceจุก Twitเฮ้อ Instaกรรม” ผ่าน “เอไอเอส อุ่นใจCyber” คู่คิดดิจิทัล เพื่อคนไทยทุกเจเนอเรชัน ดังนี้

  • ใช้ Facebook ในการเสพข่าวสารแต่พอดี ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง ทุกข้อมูล เลือกติดตามเพจหรือข่าวสารที่คิดว่าสนใจและเป็นประโยชน์

  • ติดตามแอคเคาท์ Twitter ที่มีประโยชน์ เสริมสร้างพลังบวกในการรับรู้ ส่วนแอคเคาท์ที่มีการระบายอารมณ์ด้านลบควรใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูลหรือหากเป็นเพื่อนในชีวิตจริงสามารถกด Mute ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้กระทบความสัมพันธ์ต่อกัน

  • ไม่จำเป็นต้องเล่น Instagram เพื่อเปรียบเทียบตัวเองในเรื่องความชอบ ไลฟ์สไตล์ กับคนอื่น เราสามารถมีความโดดเด่นในแบบตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องเลียนแบบใครให้เป็นทุกข์


นอกจากคำแนะนำดังกล่าว เอไอเอส อุ่นใจCyber ยังได้จัดทำวีดีโอคอนเทนต์บนช่องยูทูป AISSustainability (https://youtu.be/kX6f6rvVy8w) ที่สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการเสพสื่อโซเชียลมีเดียมากเกินไปจนทำให้มาเบียดเบียนช่วงเวลาแห่งความสุข เพื่อเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงกระตุ้นให้คนไทยเสพสื่ออย่างเหมาะสม ใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีความสุข ใน “วันความสุขสากล” ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วจะทำให้ดัชนีความสุขของคนไทยเพิ่มขึ้น