ม.33 รับเงิน 2,500 บาท เยียวยารอบ 2 วันที่ 27-28 ก.ย. เริ่มโอนแล้ว !

ประกันสังคม

ประกันสังคมโอนเงินเยียวยารอบ 2 ให้ ม.33 ใน 13 จังหวัดสีแดงเข้ม คนละ 2,500 บาท เริ่ม 27-28 ก.ย.

วันที่ 27 กันยายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เริ่มทยอยจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด ครั้งที่ 2 คนละ 2,500 บาท

การโอนเงินครั้งนี้แบ่งเป็น 2 วัน ได้แก่ วันที่ 27 กันยายน 2564 จำนวน 2 ล้านคน และวันที่ 28 กันยายน 2564 จำนวน 1,017,296 คน โดยสามารถตรวจสอบสิทธิเยียวยาได้ทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมที่ www.sso.go.th

สำหรับกลุ่ม 10 จังหวัด ประกอบด้วย กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา ส่วนกลุ่ม 3 จังหวัด ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา

ทั้งนี้ ลูกจ้างและนายจ้างมาตรา 33 ที่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไข คือ อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) 29 จังหวัด ได้แก่ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตาก อ่างทอง นครนายก สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี

ใน 9 ประเภทกิจการ ได้แก่ 1.ก่อสร้าง 2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3.ศิลปะความบันเทิงและนันทนาการ 4.กิจกรรม บริการด้านอื่น ๆ 5.การขายส่ง ปลีก ซ่อมยานยนต์ 6.การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 8.กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ 9.ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร)

แต่ในระบบเช็กสิทธิขึ้นว่าไม่ได้รัยสิทธิเยียวยา โดยเหตุผลมาจากหลายปัจจัย เช่น

  • นายจ้างแจ้งประเภทกิจการไม่ถูกต้อง
  • นายจ้างแจ้งลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนล่าช้า
  • มีการบันทึกข้อมูลผิดพลาด ใส่รหัสลูกจ้างผิด จากรหัสสัญชาติไทยเป็นรหัสต่างด้าว
  • ชื่อหรือนามสกุลไม่ตรงกับฐานข้อมูลของประกันสังคม
  • นายจ้างไม่ได้แจ้งจดทะเบียนสาขา โดยสำนักงานใหญ่ของนายจ้างอยู่นอกพื้นที่ 29 จังหวัด แต่มีสาขาอยู่ใน 29 จังหวัด ทำให้ลูกจ้างสาขาไม่ได้รับสิทธิเยียวยา

นายจ้างจะได้เงินจำนวน 3,000 บาท ต่อจำนวนลูกจ้าง1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน หรือ 600,000 บาท  ส่วนลูกจ้างได้เงินเยียวยา 2,500 บาทต่อคนต่อเดือน (สูงสุด 2 เดือน)

ดังนั้น ขอให้นายจ้างเช็คข้อมูลการยื่นแบบในระบบ e-service ของประกันสังคม (www.sso.go.th/eservices/esv/index.jsp) ว่า ได้แจ้งสาขาไว้ตรงกับ 1 ใน 9 ประเภทกิจการหรือไม่ และนายจ้างควรแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงสาเหตุด้วย เพื่อลูกจ้างจะได้ยื่นทบทวนได้ถูกต้อง

ขั้นตอนยื่นทบทวนมีดังนี้