งานวิจัยฉบับใหม่ของเอวีพีเอ็น ชี้โอกาสการลงทุนทางสังคมในแถบเอเชีย

จากงานประชุมเอวีพีเอ็นที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพล่าสุด อันเป็นงานที่รวมเอานักลงทุนเพื่อสังคมของเอเชียมาไว้ด้วยกันที่ใหญ่ที่สุด ทั้งนี้เอวีพีเอ็นได้เปิดตัวงานวิจัยล่าสุดที่ว่าด้วยเรื่อง “ภาพรวมการลงทุนเพื่อสังคมในเอเชีย” รายงานที่ทำขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักลงทุนทางสังคม ไม่ว่าจะเป็น นักการกุศล นักลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ หรือบริษัทที่ต้องการทำซีเอสอาร์ (CSR) ให้สามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการทำการกุศลและการลงทุนเพื่อสังคมในระบบนิเวศทางสังคมทั่วทั้ง 14 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ผลงานวิจัยได้รับการเปิดตัวไปในวันประชุมเมื่อเดือนก่อนหน้านี้ แสดงถึงความต้องการทางสังคมทั่วทั้งภูมิภาคทั้งเปรียบเทียบและแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของเศรษฐกิจสังคมที่หลากหลาย รวมถึงวิธีการรับมือกับความขาดแคลนในปัจจุบัน

อีกทั้ง งานวิจัยชี้ให้เห็นถึงช่องว่างของการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) และแนวทางสำหรับรัฐบาลในการดำเนินการของแต่ละประเทศ โดยทำการวิเคราะห์ภาพรวมการลงทุนทางสังคม ซึ่งประกอบด้วยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับกฎหมายและระบบนิเวศทางสังคมที่มีรูปแบบเฉพาะที่แสดงให้เห็นถึงบุคคลหรือองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการลงทุนทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านอุปสงค์ อุปทาน หรือฝ่ายสนับสนุน จากทั้งมูลนิธิ กองทุนเพื่อสร้างผลกระทบ และบริษัท ที่เป็นแพลตฟอร์มด้านการระดมทุนและผู้ริเริ่มโครงการ โดยในแต่ละส่วนสรุปผลด้วยโอกาส ความท้าทาย และข้อเสนอแนะสำหรับนักลงทุนทางสังคม ไม่ว่าพวกเขาจะต้องการระดมทุนหรือการลงทุนที่อ้างอิงจากมูลค่าตลาดเพื่อสร้างผลกระทบที่มากขึ้น

“นัยนา ซูบเบอร์วัล บัตตรา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอวีพีเอ็น กล่าวว่า รายงานฉบับนี้ได้ให้แนวทางที่จำเป็นเพื่อช่วยให้นักการกุศลเอเชียเข้าถึงพื้นที่ที่มีความต้องการมากที่สุด และยังสามารถระบุบุคคลหรือองค์กรที่ควรจะร่วมงานด้วย

“วัฒนธรรมในการช่วยเหลือและบริจาคอยู่คู่กับสังคมเอเชียมาอย่างยาวนาน แต่โอกาสให้การบริจาคอันที่จะสร้างประโยชน์นั้นมีมากขึ้น ผ่านกลยุทธ์และความร่วมมือที่มีมากขึ้น”

ผลงานวิจัยภาพรวมการลงทุนทางสังคมในเอเชีย ชี้ชัดถึงเรื่องความหลากหลายของการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งข้อมูลนี้จะช่วยให้นักลงทุนเพื่อสังคมสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในด้านที่ประเทศนั้นๆ ต้องการ

ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น อินเดีย กัมพูชา พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และเวียดนามต้องเผชิญกับความท้าทายทางสังคมที่เร่งด่วนในด้านสุขอนามัย การสุขาภิบาล การศึกษาและปัญหาเกี่ยวกับน้ำ

ส่วนประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวันและฮ่องกง ต้องต่อสู้กับความชราภาพ ความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น แรงงานที่ลดลง ผลผลิตด้านแรงงานและความเท่าเทียมทางเพศ นอกจากนี้ รายงานยังชี้ให้เห็นถึงความต้องการทั่วทั้งภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ในด้านการเข้าถึงพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ จนถึงการลดความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศหมู่เกาะในเอเชีย

ข้อมูลเชิงลึกจากรายงานในประเทศไทยเผยตัวชี้วัดด้านสวัสดิการสังคมที่น่าสนใจ โดยในปี 2558 เด็กไทยทุกคนได้เข้าศึกษาในระดับประถม รวมถึงคนไทยทุกคนได้รับประกันสุขภาพที่ได้มาจากโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาลไทย เมื่อพิจารณาภาพรวมของงานวิจัย จะเห็นได้ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในสามประเทศในภูมิภาคที่มีการจัดการกับความยากจนได้เป็นอย่างดีรองจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย สำหรับอีกประเด็นหนึ่งที่ประเทศไทยมีการจัดการที่ดีอันดับต้น ๆ คือ เป้าหมายที่ 14 คือเรื่องการดูแลทรัพยากรทางน้ำ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ทำการศึกษาซึ่งดูเหมือนจะมีความคืบหน้าทางด้านนี้

อย่างไรก็ตาม รายงานนี้ยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาต่าง ๆ เช่น การแบ่งแยกระหว่างเมืองและชนบท คุณภาพที่แตกต่างกันในระบบการศึกษาของรัฐบาล ความเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ

กิจกรรมทางเศรษฐกิจเชิงสังคมยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย และยังมีเพียงราว 400 กิจการและจากการสำรวจระหว่างมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยครอบครัวและบริษัทพบว่ามีความไม่ไว้วางใจระหว่างเอ็นจีโอ (NGO) และนักกิจการทางสังคม ซึ่งทำให้การระดมทุนส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้สำหรับครอบครัวเจ้าของมูลนิธิมากกว่าเพื่อการกุศล อย่างไรก็ตาม ความสนใจของรัฐบาลที่สำคัญและการสนับสนุนเศรษฐกิจสังคมเตรียมแนวทางเพื่อรวบรวมผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ เช่น บริษัท นักลงทุนทางสังคม และกิจการทางสังคมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการลงทุน

“นิชา ออนตา” องค์กรสตรีเพื่อการจัดการเปลี่ยนแปลงทางเกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ (WOCAN) กล่าวว่า มีการพูดถึงผู้ประกอบการทางสังคมเป็นอย่างมากในประเทศไทย ในฐานะเอ็นจีโอที่เคยได้รับทุนอุดหนุนแบบดั้งเดิม เราจึงได้เรียนรู้มากมายจากการลงทุนทางสังคม สิ่งนี้ช่วยเราในเรื่องการวัดผลกระทบ เข้าใจผลตอบแทนทางสังคมในการลงทุน และอื่น ๆ อีกมากมาย

งานวิจัยสรุปได้ว่าการทำให้เกิดผลกระทบในระดับสูงต่อเศรษฐกิจเชิงสังคมนั้นจำเป็นต้องมีองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) นักลงทุนทางสังคมที่มีส่วนร่วมมากกว่าการเขียนเช็ค 2) การยอมรับของรัฐบาลและการสนับสนุนผ่านนโยบายเป็นไปได้ 3) เพิ่มความรับผิดชอบในการลงทุนและกลยุทธ์ในการกุศล 4) กระบวนการที่นำไปสู่การทำซีเอสอาร์ที่มีความทันสมัยมากขึ้น 5) ตัวกลางของระบบนิเวศทางสังคม เช่น คนกลาง ผู้ริเริ่มโครงการ และเครือข่ายที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย