
12 บริษัทสวีเดนในไทยนำร่องประกาศคำมั่น “ให้พนักงานผู้เป็นพ่อได้รับสิทธิลาเลี้ยงดูบุตร” โดยยังได้รับค่าจ้าง หนุนโอกาสก้าวหน้าการงานของผู้หญิง-ลดช่องว่างรายได้ที่ต่างกันจากเพศสภาพ
วันที่ 15 มิถุนายน 2565 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย Business Sweden และหอการค้าไทย-สวีเดน พร้อมด้วย 12 บริษัทที่เกี่ยวข้องกับสวีเดนในประเทศไทย ได้แก่
- ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจผลรางวัล งวด 1 ธ.ค. 2566
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เข้าบัญชีวันนี้ 5 จังหวัด
- วิธีเช็กเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท chongkho.inbaac.com
ABB, AstraZeneca, Atlas Copco, Capaciton, Electrolux, FOREO, Fitness24Seven, Global Bugs Asia, IKEA, Rapid Asia, Volvo Car และ Wallander & Sson ร่วมกันเปิดนิทรรศการภาพถ่าย “โอกาสที่เท่าเทียมกันในการร่วมกันเลี้ยงดูบุตร”
พร้อมจัดพิธีลงนามให้คำมั่น “มอบสิทธิลาดูแลบุตรของผู้เป็นพ่อ” แก่พนักงานโดยยังได้รับค่าจ้าง มุ่งสะท้อนให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของการร่วมมือร่วมใจในการร่วมผลักดันและขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดสังคมแห่งความเท่าเทียม ตอกย้ำจุดยืนในการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมถึงสนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับการปรับสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว พร้อมผลักดันให้ผู้ชายได้แสดงออกทางศักยภาพอย่างเต็มที่
นายยอน ออสเตริม เกรินดาห์ล เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสวีเดนประจำประเทศไทย กล่าวว่าในหลายประเทศ อาจไม่ใช่เรื่องที่หลายคนคุ้นเคย หากพูดถึงกรณีที่พ่อจะใช้สิทธิวันลาเพื่อเลี้ยงดูแลบุตร หรือฟังดูแล้วเป็นแนวคิดที่มาจากประเทศอื่น
ในโอกาสนี้ ผมขอชวนนึกย้อนไปถึงอดีตกว่าหลายร้อยปี เมื่อครั้งที่ผู้หญิงในประเทศสวีเดนไม่มีสิทธิแม้แต่จะออกเสียงหรือลงคะแนนเลือกตั้ง จนมาถึงวันนี้วันที่พวกเราทุกคนมีสิทธิและเสียงเท่าเทียมกัน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเราจะเปิดใจและร่วมตระหนักถึงความสำคัญของการที่ผู้เป็นพ่อจะได้มีโอกาสใช้วันลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรอย่างเช่นเดียวกัน
ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผมเชื่อมั่นว่าทุกคนต่างจะเป็นอีกแรงขับเคลื่อนสำคัญในสังคมเพื่อช่วยลบภาพจำแบบเดิม ๆ เกี่ยวกับสิทธิวันลาเลี้ยงดูบุตรที่ยังจำกัดอยู่ และทำให้สิทธิการเข้าถึงวันลานี้สำหรับพ่อทุกคนเป็นเรื่องปกติในสังคม
“สิทธิลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรของพ่อ ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อ พ่อ แม่ ลูกอันเป็นผลมาจากแบ่งภาระงานบ้านการเรือนที่เท่าเทียมมากขึ้น แต่ยังช่วยสร้างความผูกพันในครอบครัวมากขึ้น ทั้งยังจะช่วยสนับสนุนสังคมและประเทศชาติทั้งหมด รวมถึงโอกาสในการทำงานที่มากขึ้นสำหรับผู้หญิง ลดช่องว่างรายได้ที่ต่างกันเพราะเพศสภาพ รวมทั้งกระตุ้นผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศและการผลิตรวมถึงสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้เป็นไปในทิศทางที่ดี ซึ่งล้วนแต่จะเป็นประโยชน์ต่อทุก ๆ ฝ่ายต่อไป
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพิธีลงนามคำมั่นในครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นให้อีกหลายองค์กรและภาคส่วนเห็นความสำคัญของการสนับสนุนนโยบายเรื่องการเลี้ยงดูบุตรอย่างเช่นเดียวกันอย่างน้อย ในเรื่องของสิทธิวันลาเลี้ยงดูบุตร และให้ความสำคัญในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในสถานทำงานอย่างจริงจังอีกด้วย”
สวีเดน ประเทศแรกให้สิทธิลาทั้งพ่อแม่
ทั้งนี้ สวีเดนเป็นประเทศแรกในโลกที่ริเริ่มให้มีการลาเลี้ยงดูบุตรแก่ทั้งพ่อและแม่โดยยังได้รับค่าจ้าง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 โดยในปัจจุบันนี้ พ่อและแม่ในสวีเดนทุกคนได้รับสิทธิวันลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรโดยได้รับค่าจ้างเป็นจำนวน 480 วัน ส่งผลให้ผู้หญิงในสวีเดนไม่ถูกจำกัดให้ต้องเลือกระหว่างเส้นทางสู่ความสำเร็จในอาชีพ และบทบาทแห่งความเป็นแม่
โดยสวีเดนถูกจัดลำดับให้เป็น 1 ใน 5 จาก 150 ประเทศทั่วโลกที่มีดัชนีความเท่าเทียมกันทางเพศหรือ Global Gender Gap สูง ทั้งยังมีอัตราการจ้างงานผู้หญิงสูงที่สุดถึงร้อยละ 80.3 นับเป็นหนึ่งในประเทศลำดับต้น ๆ ของโลก เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ร้อยละ 49 ซึ่งจากรายงานสรุปผลสำรวจ พบว่าการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในสังคม ส่งผลดีต่อภาครวมเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างให้เกิดสังคมแห่งความผาสุก การพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน
ฟอริโอ้ พร้อมเป็นกระบอกเสียง
ด้านนายสลาดัน มุยจิซ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ฟอริโอ้ (ไทยแลนด์) กล่าวว่า FOREO (ฟอริโอ้) ในฐานะบริษัทสตาร์ตอัพ เป็นแบรนด์ Beauty Tech จากประเทศสวีเดน ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เรือธงภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์ LUNA เครื่องล้างหน้าอัจฉริยะ ได้สร้างชื่อเสียงให้แบรนด์ไกลครอบคลุมกว่า 180 ประเทศทั่วโลก และมีจำนวนผู้ใช้งานกว่า 30 ล้านคน
นอกจากนี้ แบรนด์ยังได้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อการมาสก์หน้ารูปแบบใหม่ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์ UFO ไปจนถึงนวัตกรรมการแปรงฟันสุดไฮเทคภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์ ISSA กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อการยกกระชับใบหน้าอย่าง BEAR และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้เรื่องการดูแลตัวเองของทุกคนไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป
ทั้งนี้เราให้คำมั่นมอบสิทธิวันลาให้กับพนักงานผู้เป็นพ่อในการดูแลบุตร หัวใจในการดำเนินธุรกิจของเราคือ ต้องการยกระดับประสบการณ์การดูแลตัวเอง (well-being) ที่ไม่เพียงตอบโจทย์คนเพียงกลุ่มเดียว หากแต่ครอบคลุมความต้องการที่หลากหลาย รวมถึงไร้ข้อจำกัดเรื่องเพศ ซึ่งแนวคิดนี้ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์กรของเราเช่นเดียวกัน และแม้ว่าพนักงานกว่าร้อยละ 70 ของเราจะเป็นผู้หญิง แต่ถึงกระนั้นเราเองก็มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างให้เกิดความเท่าเทียมในสถานที่ทำงาน
จุดมุ่งหมายสำคัญในการสนับสนุนความริเริ่มและนโยบายนี้ในประเทศไทยไม่เพียงเพื่อให้สมาชิกครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน หากแต่เรายังต้องการสนับสนุนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม พร้อมร่วมเป็นกระบอกเสียงสำคัญและสะท้อนให้เพื่อนร่วมอุตสาหกรรม พันธมิตร คู่ค้าทางธุรกิจ รวมถึงองค์กรและภาคส่วนอื่น ๆ เห็นความสำคัญของบทบาทองค์กรในการร่วมสนับสนุนและสร้างแรงขับเคลื่อนอันจะนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียมได้