ทำไมกุมภาพันธ์มี 29 วัน ปีอธิกสุรทินหมายถึงอะไร เรื่องนี้ย้อนไกลถึงยุคโรมัน

29 ก.พ.

เพราะเหตุใดเดือนกุมภาพันธ์ถึงมี 28 และ 29 วัน ปีอธิกสุรทินหมายถึงอะไร เรื่องนี้ย้อนไกลถึงสมัยโรมัน

อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า ทุก ๆ 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน และใน ค.ศ. 2024 ก็เช่นกัน โดยเรียกว่าเป็น “ปีอธิกสุรทิน” ซึ่งราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า “เป็นวันที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ คือในปีนั้นเพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีก 1 วัน เป็น 29 วัน”

เรื่องนี้ต้องย้อนไปถึงสมัยโรมัน ยุคนั้นมีการใช้ปฏิทินที่มีทั้งหมด 10 เดือน หรือ 304 วัน ใน 1 ปี (Martius, Aprilis, Maius, Junius, Quintilis, Sextilis, September, October, November และ December)

จนกระทั่ง 46 ปีก่อนคริสตกาล “จูเลียส ซีซาร์” กษัตริย์โรมันขณะนั้นได้ริเริ่มการใช้ “ปฏิทินจูเลียน” เพราะมองว่าปฏิทินแบบเดิมไม่เหมาะสมกับความเป็นจริง

ปฏิทินจูเลียน จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 2 เดือนคือ January และ February (มกราคมและกุมภาพันธ์) พร้อมทั้งกำหนดให้ทุกเดือนมี 30 และ 31 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ที่กำหนดให้มี 29 วัน โดยในปี อธิกสุรทินจะเพิ่มเป็น 30 วัน พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเดือน Quintilis หรือกรกฏาคม เป็น “July” ตามชื่อตนเอง

สาเหตุที่ต้องมีปีอธิกสุรทิน เนื่องจากจูเลียส ซีซาร์ ค้นพบว่าระยะเวลาที่โลกโครจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ หรือ 1 ปี ไม่ได้เท่ากับ 365 วันพอดี แต่เป็น 365.25 วัน ดังนั้น เศษที่มีอาจทำให้การนับวันนั้นยุ่งยาก จึงนำเศษไปเพิ่มจำนวนวันในเดือนกุมภาพันธ์ทุก ๆ 4 ปี ทำให้ปีอธิกสุรทินจะมี 366 วัน

ADVERTISMENT

ถัดมาในสมัยของกษัตริย์ “ออกัสตุส ซีซาร์” ได้เปลี่ยนชื่อเดือน Sextilis เป็น “August” หรือสิงหาคมตามชื่อตัวเองด้วยเช่นกัน ทั้งยังเพิ่มจำนวนวันในเดือนนี้ จาก 30 วัน เป็น 31 วัน ทำให้ต้องไปลดจำนวนวันในเดือนอื่นลง นั่นคือ เดือนกุมภาพันธ์ ทำให้เดือนกุมภาพันธ์เหลือจำนวนวัน 28 วัน และปีอธิกสุรทินจะมี 29 วัน

เรื่องราวยังไม่จบเพียงเท่านั้น ต่อมา “สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13” ได้ค้นพบว่า 1 ปีมีจำนวนวันเท่ากับ 365.2425 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า (เมื่อคำนวณอย่างละเอียดตามหลักวิทยาศาสตร์ 1 ปี เฉลี่ยเท่ากับ 365 วัน 5 ชั่วโมง 48 นาที 46 วินาที หรือประมาณ 365.242199074 วัน)

ADVERTISMENT

สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงได้ประกาศใช้ “ปฏิทินเกรกอเรียน” ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1582 (พ.ศ. 2125) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ปฏิทินเกรกอเรียนก็ยังมีความคลาดเคลื่อน โดยเวลาจะช้าลงปีละประมาณ 26 วินาที

ทำให้การแบ่งปีตามหลักปฏิทินสากล ซึ่งแบ่งได้เป็นปีปกติมี 365 วัน และปีอธิกสุรทินมี 366 วัน โดยเพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์ขึ้นมาอีกหนึ่งวันนั้น ต้องมีการปรับให้จำนวนวันต่อปีไม่คลาดเคลื่อนกับวิถีการโคจร เพื่อให้หลักการของปีอธิกสุรทินมีความชัดเจน จึงกำหนดเป็นสูตรไว้ดังนี้

  • ให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ทุก ๆ 4 ปี โดยนำเอาปี ค.ศ. หารด้วย 4 ลงตัวถือว่าเป็นปีอธิกสุรทิน
  • ถ้าปีหารด้วย 100 ลงตัวให้เป็นปีปกติ แต่ถ้าปีหารด้วย 400 ลงตัว ให้ปรับไปเป็นปีอธิกสุรทินอีกทีหนึ่ง

ดังนั้น เท่ากับว่าไม่ใช่ทุก ๆ 4 ปีเสมอไปที่จะเป็นปีอธิกสุรทิน เช่น ค.ศ. 2000 เป็นปีอธิกสุรทิน แต่ปี 1700, 1800 และ 1900 ไม่ใช่ โดยอีกครั้งที่จะข้ามปีอธิกสุรทิน คือ ค.ศ. 2100

ที่มา 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง