ไอคอนสยาม เปิดพื้นที่โชว์ผลงานเด็กอาร์ต พบปะผู้เชี่ยวชาญ เฟ้นหาศิลปินอาชีพ

ไอคอนสยาม เปิดพื้นที่นำผลงานเด็กอาร์ต พบปะผู้เชี่ยวชาญ สู่ศิลปินอาชีพ

ไอคอนสยาม จัดงาน “Grad and Glow Arts Thesis Showcase” เปิดโอกาสนิสิต นักศึกษาแสดงผลงานศิลปนิพนธ์  พบปะผู้เชี่ยวชาญ ค้นหาศิลปินรุ่นใหม่ร่วมกับองค์กร พร้อมต่อยอดสู่เวทีระดับประเทศ และนานาชาติ 

ไอคอนสยาม ตอกย้ำแนวคิด “ICONSIAM ART & CULTURE” มุ่งยกระดับประสบการณ์ศิลปะ เดินหน้าสร้างจุดหมายปลายทางแห่งศิลปะและวัฒนธรรมอันเหนือระดับ พร้อมส่งเสริมคอมมูนิตี้ศิลปะครบทุกมิติ

ล่าสุดเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาแสดงผลงานศิลปนิพนธ์สู่สายตาชาวโลก จัดงาน “Grad and Glow Arts Thesis Showcase” พร้อมเชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชียวชาญในวงการสร้างสรรค์และศิลปะไทย ร่วมชมผลงานและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านงานศิลปะ เพื่อเสริมศักยภาพ และค้นหาศิลปินรุ่นใหม่ไปทำงานร่วมกับองค์กร ถึงวันที่ 24พฤษภาคม2568 ICON Art & Culture Space ชั้นไอคอนสยาม

นายณัฐวุฒิ เฉลิมวันเพ็ญ Head of Business Relations and Art Community บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด กล่าวว่า แนวคิดหลักของไอคอนสยามคือการนำสิ่งที่ดีที่สุดของไทยมาบรรจบกับสิ่งที่ดีที่สุดของโลก ซึ่งรวมถึงด้านศิลปะและวัฒนธรรมด้วย

ดังนั้น ไอคอนสยามจึงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้ผลงานศิลปะของศิลปินไทยสามารถต่อยอดไปสู่เวทีระดับโลกได้ ตลอดจนพยายามนำงานศิลปะระดับโลกมาจัดแสดงให้คนไทยได้ชื่นชมอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังสนับสนุนพื้นที่ให้ศิลปินไทยรุ่นใหม่ รวมถึงนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ได้จัดแสดงผลงานศิลปะของตนเองให้ปรากฏสู่สายตาทั่วโลก 

โดยไอคอนสยาม ร่วมกับ กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทเดนท์สุฯ บริษัท เพนนีเลนฟิล์มส์ จำกัด บริษัท อาร์ทเวนเจอร์ เอ็นเอฟทีจำกัด บริษัท .บู่ 1924 จำกัด ได้ให้การสนับสนุนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ได้แก่ วิทยาลัยเพาะช่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ADVERTISMENT

จัดแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ ภายใต้งาน Grad and Glow Arts Thesis Showcase พร้อมเชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในวงการศิลปะมาร่วมชมผลงานของนักศึกษาพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้และแชร์ประสบการณ์ด้านงานศิลปะให้นักศึกษาว่าที่ศิลปินไทยรุ่นต่อไปได้นำไปต่อยอดความคิดสร้างสรรค์

นอกจากนี้ ยังเป็นการค้นหาศิลปินรุ่นใหม่ที่มีความสามารถเข้าร่วมงานระดับองค์กรต่อไป ซึ่งจะเป็นการสร้างประสบการณ์เหนือความคาดหมายด้านศิลปะให้แก่ทั้งนักศึกษาผู้สร้างสรรค์ผลงาน ผู้เชี่ยวชาญ และลูกค้าของไอคอนสยามที่มาร่วมชมผลงานศิลปนิพนธ์ในครั้งนี้ด้วย นายณัฐวุฒิ กล่าว

ADVERTISMENT

สำหรับพิธีเปิดงานเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ได้รับเกียรติจาก นางสาวมณีรัตน์ จันทร์มี ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ร่วมงาน และชมนิทรรศการศิลปนิพนธ์ The Last Suffer Thesis Exhibition ของนักศึกษาสาขาออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ -23 มีนาคม 2568  ICON Art & Culture Space ชั้นไอคอนสยาม

ไอคอนสยาม เปิดพื้นที่นำผลงานเด็กอาร์ต พบปะผู้เชี่ยวชาญ สู่ศิลปินอาชีพ

ศิลปะต้องขายได้

นายรติ พันธุ์ทวี นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในนามของสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย การจัดงานในลักษณะนี้ควรเกิดขึ้นอีก เพราะเป็นเวทีที่ทำให้คนรุ่นใหม่มีพื้นที่แสดงออกเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในเชิงศิลปะ เป็นเรื่องที่ดีที่ให้คนทั่วไปมีโอกาสมาชม ตลอดจนสร้างกำลังใจให้นิสิตนักศึกษา

ถ้าพูดในเชิงศิลปะ หลายชิ้นเป็นงานที่สวยมาก และมีความตั้งใจในการผผลิต แต่ก็ต้องเสริมนิสิตนักศึกษาว่านอกจากเป็นงานศิลปะแล้ว ต้องเป็นงานศิลปะที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าบริการ และสังคมของประเทศ เป็นอีกขั้นหนึ่งที่นิสิตนักศึกษาต้องพบเจอเมื่อพ้นจากรั้วมหาวิทยาลัย ไม่ใช่แค่ออกแบบงานศิลปะที่สวยงาม แต่ต้องเป็นความสวยงามที่ขายได้

งานนี้จะนำไปสู่การต่อยอดแนวคิดเชิงกลยุทธ์ และฝึกฝนให้นิสิตนักศึกษา ได้กำหนดความเป็นแก่นแท้ หรือตัวตนของแบรนด์ เพราะถ้าตัวตนของแบรนด์ไม่ชัดเจน ดีไซน์อาจไม่ตอบโจทย์ทุกอย่าง ดังนั้นจึงต้องมีแบรนด์ที่แข็งแรง บวกกับดีไซน์ที่สวยงาม

ปัจจุบัน เด็กไทยพัฒนาขึ้นเยอะ เด็กสมัยนี้มีทั้งความกล้าและความคิดสร้างสรรค์ ประเทศไทยมีงานในเชิงศิลปะและโฆษณาดี เยอะมาก อาจเพราะพื้นฐานทางวัฒนธรรมของประเทศไทยมีความมองโลกในแง่ดี ทำให้เกิดการเปิดรับสิ่งใหม่ และเคารพความคิดสร้างสรรค์หรือความแตกต่าง ทำให้งานศิลปะของประเทศไทยถูกพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น

นิสิตนักศึกษารุ่นใหม่ เป็นคนมองโลกในแง่ดี และเปิดรับสิ่งใหม่ อยู่ตลอดเวลา ประกอบกับวันนี้มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีดี เกิดขึ้นมากมาย อยากให้นิสิตนักศึกษา นำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ และพัฒนางานให้มีความยั่งยืนมากขึ้น

ศิลปะที่ดีต้องขายของได้ ดังนั้น จะทำอย่างไรในการนำไอเดียเหล่านี้ไปช่วยพัฒนาสินค้า หรือบริการของคนไทย ซึ่งทุกวันนี้ต้องการการสนับสนุนจากไอเดียดี อีกจำนวนมาก หากเราสามารถเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่แสดงความสามารถ และผลักดันให้พบเจอกับผู้ประกอบการ ศิลปะเหล่านี้ก็จะกลายเป็นมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของเมืองไทย สู่การเป็น Creative Economy ที่แข็งแรงนายรติ กล่าว

ไอคอนสยาม เปิดพื้นที่นำผลงานเด็กอาร์ต พบปะผู้เชี่ยวชาญ สู่ศิลปินอาชีพ

สำหรับการจัดงานนิทรรศการศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาประกอบไปด้วย 6 คณะ จาก 3 มหาวิทยาลัย ได้จัดแสดงตามช่วงเวลา ดังนี้

วันที่ 19-23 มีนาคม 2568 : นิทรรศการศิลปนิพนธ์ The Last Suffer Thesis Exhibition ของนักศึกษาสาขาออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ นำเสนอผลงานศิลปนิพนธ์ด้านการออกแบบอัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity), การออกแบบและจัดทำแอนิเมชัน (Animation), การออกแบบโมชันกราฟิก (Motion Graphic), การออกแบบภาพประกอบ (Illustration Design), การออกแบบกราฟิก(Graphic Design), การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ (Publication Design), การออกแบบอีเว้นท์ (Event Design) และงานออกแบบอื่น  

วันที่ 1 – 16 เมษายน 2568: นิทรรศการศิลปนิพนธ์ รูป นาม ไทย “Art Thesis Exhibition” ของนักศึกษาสาขาวิชาจิตรกรรมไทย ภาควิชาศิลปะประจำชาติ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ที่มีอัตลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการสร้างผลงานศิลปะไทยในรูปแบบที่มีความหลากหลาย โดยไม่ยึดติดกับลักษณะดั้งเดิม มีกระบวนการทางความคิดและกระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบที่น่าสนใจ

วันที่ 17 – 23 เมษายน 2568: นิทรรศการศิลปนิพนธ์ “DAP Thesis Exhibition 1st” ของนักศึกษาสาขาวิชามัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่รวมตัวกันก่อตั้งองค์กรนักศึกษาในนาม Dec Applied Art (DAP) เพื่อให้นักศึกษาได้มีพื้นที่แสดงออกผลงานของตัวเองและเป็นพื้นที่ให้ผู้คนได้รู้จักกับประยุกต์ศิลปศึกษามากยิ่งขึ้น โดยนิทรรศการศิลปนิพนธ์ “DAP Thesis Exhibition 1st” ครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นออกสู่สายตาประชาชนในวงกว้าง

วันที่ 26 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2568: นิทรรศการศิลปนิพนธ์ “DreamMart” ซูเปอร์มาร์เก็ตที่รวบรวมสินค้า (ผลงาน) อันเกิดจากความฝัน ของนักศึกษาสาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ต้องการเสนอสินค้าที่ตัวเองมั่นใจให้ออกไปสู่สายตาลูกค้าได้เลือกชม ยอมรับ และพึงพอใจ สร้างภาพลักษณ์ที่แปลกตาไปจากภาพจําเดิม ของการเข้าชมงานศิลปะ โดยจะใช้ธีมของซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อตั้งคําถามถึงเส้นกั้นบาง ระหว่างงานศิลปะและสินค้าที่ความหมายของงานกลายเป็นเรื่องรอง เน้นขายได้เป็นหลัก ตราบใดที่งานศิลปะยังต้องอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมศิลปิน ยังต้องแข่งขันกันขายงานเพื่อเลี้ยงชีพ และชื่อเสียง แล้วงานศิลปะจะเป็นสิ่งที่สูงส่งอย่างที่คิดจริงหรือ

วันที่ 7 – 13 พฤษภาคม 2568: นิทรรศการศิลปนิพนธ์มธุระอัตตาของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา วิทยาลัยเพาะช่าง ที่นำเสนอผลงานหลากหลายรูปแบบ ทั้งผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นจากเทคนิคช่างสิบหมู่ เทคนิคสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ, เทคนิคสีอะคริลิกบนผืนผ้าใบ, เทคนิคกํามะลอ, เทคนิคสีอะคริลิกบนเสื่อกระจูด, เทคนิค Silk Screen, Paper Block, ประติมากรรมลักษณะนูน, เครื่องปั้นดินเผา, ดิจิทัลอาร์ต, ภาพพิมพ์แกะไม้ ฯลฯ

วันที่ 15 – 24 พฤษภาคม 2568: นิทรรศการศิลปนิพนธ์ ของนักศึกษาสาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำเสนอผลงานจิตรกรรมสองมิติ, ประติมากรรมลอยตัว, จิตรกรรมสื่อผสม, เทคนิคสีอะคริลิกบนผืนผ้าใบ, ประติมากรรมสื่อผสม,บูธงานศิลปะ, งานแฮนด์เมด, งานปักผ้าและอีกมากมาย

ไอคอนสยาม ขอเชิญผู้รักงานศิลปะและผู้สนใจสามารถชื่นชมผลงานสุดสร้างสรรค์ และให้กำลังใจนักศึกษาใน

นิทรรศการศิลปนิพนธ์ จากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, มหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ในงาน Grad and Glow Arts Thesis Showcase ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคมถึง 24 พฤษภาคม 2568 ICON Art & Culture Space ชั้นไอคอนสยาม