ทรู คอร์ป แนะใช้ ’Mobitily Data‘ พัฒนาเมืองน่าอยู่ทุกช่วงวัย

ทรู คอร์ป ร่วมกับ UddC ดึงการใช้งานโทรศัพท์มือถือ (Mobility Data) ทำความเข้าใจจังหวะชีวิตของผู้คน มาออกแบบเมืองและใช้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยอดสู่เปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายสาธารณะ

Mobility Data คือเครื่องมือที่ทรงพลังในการทำความเข้าใจเมืองยุคใหม่ เพราะสะท้อนพฤติกรรมของผู้คนแบบเรียลไทม์ เห็นการใช้ชีวิตในแต่ละพื้นที่และช่วงเวลาได้อย่างแม่นยำและครอบคลุม โครงการ ‘Dynamic Cities via Mobility Data หลากชีวิตในเมืองที่โลดแล่น’ คืออีกก้าวสำคัญของการนำศักยภาพเหล่านี้มาเชื่อมโยงกับภาคการพัฒนาเมือง

ทรู คอร์ปอเรชั่น นำข้อมูลการเคลื่อนที่ของประชากรผ่านการใช้งานโทรศัพท์มือถือ (Mobility Data) และข้อมูลการใช้งานแพลตฟอร์มบริการดิจิทัล ภายใต้มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เปิดโครงการความร่วมมือกับศูนย์พัฒนาและออกแบบเมือง (Urban Design and Development Center – UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พร้อมเปิดพื้นที่การทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพื่อจุดประกายความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาเมือง และนำไปสู่การนำเสนอนโยบายสาธารณะที่สอดรับกับพฤติกรรมของผู้คนในสังคม

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เมืองสะท้อนคน ดังนั้นจึงต้องฟังเสียงของทุกคนโดยไม่ลืมคนไร้บ้าน ยกตัวอย่างง่ายๆอย่าง คนกรุงเทพมาทำงานสาย เพราะรถติดจะไม่สายได้อย่างไร
ข้อมูลดิจิทัลที่จะใช้แก้ไขเมืองได้ต้องมี 2 อย่าง Empathy และ Sympathy ทำให้ข้อมูลมีคุณค่ามากขึ้น โดยได้ยำตัวอย่าง “ทราฟฟี่ฟองดูว์” (Traffy Fondue) ที่มีประชาชนเป็นเซ็นเซอร์ เป็นข้อมูลดาต้าขนาดยักษ์ ทำให้มีความโปร่งใส ยุติธรรม และมีส่วนร่วมในการใช้เทคโนโลยี กระจายอำนาจ ลดระยะเวลาการแก้ปัญหาและแก้ได้อย่างตรงจุดแบบมีประสิทธิภาพ

Mobility Data

จักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ทรูเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีและโครงข่ายที่ทันสมัย ไม่ควรหยุดอยู่แค่การสื่อสาร แต่ต้องสามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมในภาพรวมได้ด้วย

โครงการ ‘Dynamic Cities via Mobility Data หลากชีวิตในเมืองที่โลดแล่น’ สะท้อนถึงพลังของ Mobility Data ที่ช่วยให้เข้าใจวิธีที่ผู้คนใช้ชีวิตในเมือง และนี่คือจุดเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการร่วมออกแบบเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน

ADVERTISMENT
จักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น
จักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น

ดึงข้อมูลเชิงลึกเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายสาธารณะ

อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิเคราะห์ข้อมูลโครงการนี้ กล่าวว่า Mobility Data ช่วยให้เข้าใจเมืองในแบบที่ข้อมูลแบบดั้งเดิมไม่อาจระบุได้ โดยเฉพาะการสะท้อนพฤติกรรมของผู้คนแบบเรียลไทม์

ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ทำให้มองเห็นภาพรวมการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองได้อย่างละเอียด เช่น พบว่าผู้คนในกรุงเทพมหานครมีภาระเวลาในการเดินทางมากกว่าจังหวัดอื่นๆ อย่างชัดเจน ส่งผลให้ช่วงเวลาหลังเลิกงานที่ควรเป็นเวลาส่วนตัวและพักผ่อนกลับถูกลดทอนไป

ADVERTISMENT

ขณะที่ประชาชนในเชียงใหม่และขอนแก่นสามารถใช้ชีวิตภายในรัศมีใกล้บ้านได้มากกว่า แสดงถึงความใกล้ชิดระหว่างที่อยู่อาศัย การทำงาน และพื้นที่ใช้ชีวิต

ขณะเดียวกัน กลุ่มผู้สูงอายุยังใช้ชีวิตในย่านละแวกบ้านเป็นหลัก และแทบไม่ปรากฏในพื้นที่สาธารณะที่ไกลออกไป ซึ่งสะท้อนถึงข้อจำกัดเชิงโครงสร้างของเมืองที่ยังไม่เอื้อต่อการเข้าถึงและความปลอดภัยอย่างแท้จริง ในขณะที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว หากรูปแบบการใช้ชีวิตและการเดินทางของกลุ่มวัยเกษียณอายุดำเนินต่อไปเช่นนี้ จะส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ สังคม สุขภาวะอย่างไร

นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงบทบาทของพื้นที่กลาง (Third Place) ที่ผู้คนใช้เพื่อสังสรรค์ พบปะ ทำกิจกรรม หรือพักจากชีวิตประจำวัน ซึ่งในบางเมืองยังมีจำนวนไม่เพียงพอ หรือมีเวลาการให้บริการที่ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมจริง

อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อดิศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ข้อมูลเชิงพฤติกรรมเหล่านี้สามารถต่อยอดเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการขยายเวลาเปิดสวนสาธารณะ การจัดระบบขนส่งสาธารณะในช่วงเวลาที่มีการใช้งานจริง หรือการวางแผนพื้นที่รองรับผู้สูงอายุในย่านที่มีการอยู่อาศัยหนาแน่น

ไม่ใช่เพียงบนแผนที่หรือแนวคิดเชิงผังเมืองเท่านั้น เมืองที่ดีจึงไม่ควรออกแบบเพียงแค่พื้นที่ แต่ต้องออกแบบให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คนด้วย

3 มิติ ผู้คน-เมืองที่น่าสนใจ

1. มิติพื้นที่เมือง ข้อมูล Mobility Data ทำให้สามารถเห็นพื้นที่หลักที่ผู้คนใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างชัดเจน ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำงาน และพื้นที่สำหรับกิจกรรมอื่น เช่น การพักผ่อน หรือพบปะสังสรรค์ การจำแนกพื้นที่ตามพฤติกรรมจริงในแต่ละเมือง เผยให้เห็นโครงสร้างการใช้ชีวิตของผู้คนในแต่ละภูมิภาคที่มีบริบทแตกต่างกัน ซึ่งช่วยเปิดมุมมองใหม่ในการวางผังและพัฒนาเมืองให้ตอบสนองกับการใช้ชีวิตจริงที่ซับซ้อน

2. มิติเวลา ข้อมูลสะท้อนให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันของการใช้เวลาในแต่ละเมือง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ที่ผู้คนต้องใช้เวลาเดินทางมาก ส่งผลให้เวลาสำหรับพักผ่อนหรือทำกิจกรรมนอกบ้านลดลง ข้อมูลแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในการจัดสรรเวลา ซึ่งสามารถนำไปใช้ประเมินคุณภาพชีวิตและความคุ้มค่าของการใช้เวลาของคนในแต่ละพื้นที่

3. มิติพฤติกรรมคนเมือง เมื่อจำแนกตามช่วงวัย ข้อมูลเผยให้เห็นรูปแบบชีวิตที่แตกต่างกันในแต่ละเมือง เช่น วัยทำงานในกรุงเทพฯ มักเดินทางไกลเพื่อเข้าเมือง ขณะที่คนทำงานในเชียงใหม่หรือหาดใหญ่มักใช้ชีวิตอยู่ในละแวกบ้านมากกว่า ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุมักใช้ชีวิตอยู่ภายในย่านที่คุ้นเคย ทั้งนี้ข้อมูลยังสะท้อนให้เห็นโอกาสในการออกแบบเมืองให้เป็นมิตรกับทุกวัย โดยเฉพาะในบริบทของสังคมสูงวัยที่กำลังขยายตัวมากขึ้น

“ข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียง 1% ของ  Mobility Data เท่านั้น หากใช้งานอย่างเต็มประะสิทธิภาพ จะสามารถนำไปขยายต่อในการพัฒนาเมืองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ” อดิศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย