ไขข้อข้องใจของสายการบิน กับ 11 สิ่งที่คุณควรรู้! (เพื่อการเดินทางอย่างปลอดภัย ไร้กังวล)

        ปัจจุบันเที่ยวบินมีเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับทุกกลุ่มเป้าหมาย ในทุกๆ วัน เครื่องบินทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า
หลายร้อยลำ ซึ่งกว่าจะพานกยักษ์เหล็กทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้ากว่า 30,000 ฟุต ไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นงานท้าทายที่มากกว่าแค่รับ – ส่งเครื่องบิน และเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารอย่าง

        “สายการบินนกแอร์ Lifestyle Airlines ของคนไทย” ซึ่งมีการให้บริการทั้งเส้นทางการบินหลัก เส้นทางการบินรอง มีการจัดการเครื่องบินอย่างไร ประกอบไปด้วยการทำงานของฝ่ายไหน ขั้นตอนอะไรบ้าง ที่จะทำให้ผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวบิน เดินทางสู่ทุกจุดหมายปลายทางโดยปลอดภัยต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง เราจะมาให้คำตอบคุณในบทความนี้

        ความปลอดภัยด้านการบิน ที่มีการเริ่มต้นตั้งแต่ภาคพื้นดินเป็นที่แรก ดังนั้นเมื่อผู้โดยสารเดินทางไปถึงอาคารผู้โดยสารเคาท์เตอร์ check-in “Ground Staff หรือ พนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน” ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นทัพหน้าด่านแรกของบ้านจะทำการต้อนรับ, แนะนำ และสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางของผู้โดยสาร เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารเอง รวมไปถึงความปลอดภัยของเที่ยวบินนั้นๆ โดยเริ่มจากการตรวจรับบัตรโดยสาร และสัมภาระของผู้โดยสาร ซึ่งจะมีข้อห้ามที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว แต่อาจยังไม่ทราบว่าทำไมถึงต้องห้าม อาทิ

คำถามเกี่ยวกับนกแอร์

โหลดเพาเวอร์แบงค์ลงใต้เครื่องแค่อันเดียวไม่ได้เลยหรือ?

        สมัยนี้ใครๆ ก็พกพาสมาร์ทโฟน กับแค่เพาเวอร์แบงค์อันเดียว ทำไมใส่กระเป๋าโหลดลงใต้เครื่องไม่ได้ นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อสัมภาระอยู่ใต้ท้องเครื่องบินแล้ว หากเกิดประกายไฟ หรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจะไม่สามารถมีเจ้าหน้าที่รับมือกับสถานการณ์ ณ ใต้ท้องเครื่องตอนนั้นได้ เนื่องจากห้องโดยสารและห้องเก็บสัมภาระนั้นไม่มีทางที่เชื่อมต่อกัน และเพาเวอร์แบงค์ที่สามารถอนุญาตนำขึ้นเครื่องได้นั้นจะมีความจุต้องไม่เกิน 32,000 mAh เพราะหากเกิดเหตุไฟฟ้าลัดวงจรจะอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมสถานการณ์และความเสียหายได้

เรื่องของเหลวทำไมห้ามนำขึ้นเครื่องเกิน 100 มล.?

        จะไปเที่ยวทั้งที ก็ขอพกพาบรรดาแชมพู สเปรย์ น้ำหอม โลชั่นต่างๆ นานาไปด้วยละกัน พกได้นะ แต่ห้ามถือขึ้นเครื่องรวมกันทุกชิ้นเกิน 100 ml. นั่นแปลว่าต่อให้ ปริมาณของเหลวในขวดรวมๆ กันแล้วไม่เกิน 100 ml. ตามกฎมาตรฐานสากลจะยึดถือจากปริมาณที่เขียนกำหนดไว้ข้างขวดเท่านั้น ที่กำหนดปริมาณเช่นนี้เพื่อให้แน่ใจได้ว่าของเหลวที่ถูกนำขึ้นเครื่องบินนั้น จะไม่สามารถนำมาเป็นสารประกอบในการก่อการร้ายในรูปแบบต่าง ๆ ได้  **ข้อห้ามคือ 100ml ต่อ 1 ขวด และรวมกันไม่เกิน 1,000ml (10 ขวด)

ทำไมต้องเข้มงวดเรื่องเวลา? เคาท์เตอร์ check-in ต้องปิดก่อนเครื่องออกบิน 45 นาที?

น้ำหนักกระเป๋าเกินนิดๆ หน่อยๆ ทำไมถึงหยวนให้ไม่ได้?

        ตำแหน่งที่สำคัญมากอีกตำแหน่งหนึ่งในขณะที่เครื่องบินยังจอดอยู่บนพื้นดินคงไม่พ้น “Ramp Master” ผู้ที่ต้องคำนวณ เพื่อสมดุลทุกอย่าง ก่อนขึ้นบินไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักของผู้โดยสาร, กระเป๋า สัมภาระ, คาร์โก้ และน้ำมัน วิเคราะห์น้ำหนักทั้งหมดของเครื่องบิน แล้วปรับให้สอดคล้องกับการบินของนักบิน

        โดยหน้าที่ทั้งหมดนี้ Ramp Master ต้องปฏิบัติงานแข่งกับเวลาภายในระยะเวลา 45 นาทีหลังจากที่เคาท์เตอร์ check-in ปิด ซึ่งหากมีผู้โดยสารขอเพิ่มกระเป๋าน้ำหนักกะทันหัน แน่นอนว่า Ramp Master ต้องทำการคำนวณน้ำหนัก จัดสมดุลของเครื่องบินใหม่อีกครั้ง ก็จะทำให้ทุกอย่างต้องเริ่มต้นใหม่ คำนวณใหม่ จัดสรรใหม่ ซึ่งก็จะเป็นเหตุผลให้การออกบินนั้นล่าช้าได้ เพราะน้ำหนักนั้นมีผลสำคัญมากสำหรับ
ความปลอดภัยในการบิน

ไฟลท์นี้คนก็ไม่เต็มเสียหน่อย ทำไมขอเปลี่ยนที่นั่งระหว่างการเดินทางไม่ได้ล่ะ?

        ข้อมูลทุกอย่างจาก Ramp Master จะผิดพลาดไม่ได้ น้ำหนักที่คำนวณส่งให้กัปตันต้องเป๊ะ Ramp Master ต้องคอยประสานงานกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น Ground Staff นักบิน ลูกเรือ ช่าง หรือแม้กระทั่งพนักงานทำความสะอาด เพื่อเป็นประตูด่านสุดท้ายก่อนเครื่องบินจะปิดประตูลงแล้วทะยานตัวขึ้นฟ้า

ดังนั้น หากผู้โดยสารเปลี่ยนที่นั่งระหว่างการเดินทาง การกระจายน้ำหนักไม่เหมือนที่คำนวณเอาไว้ อาจเกิดผลกระทบต่อการบิน อาทิ ความสมดุลของน้ำหนักบนเครื่องบินระหว่างการทำการบิน การเผาผลาญของเชื้อเพลิง องศาของหาง และปีกของเครื่องบินผิดเพี้ยน

ทำไมเครื่องดีเลย์จัง กัปตันมาสายหรือเปล่าเนี่ย?

        ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน “กัปตัน” ต้องมาถึงสนามบินล่วงหน้าอย่างน้อย 1.30 ชั่วโมง เพื่อประชุมก่อนการทำงานทุกครั้ง เพราะทุกๆ เที่ยวบินต้องมีการประชุมก่อนบินทุกครั้ง เพื่อทำการเช็คตรวจสภาพอากาศก่อนทำการบิน ทำแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน หลังจากนั้นจึงร่วมประชุมกับลูกเรือ และ ฝ่ายต่างๆที่ให้ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการบิน (อาทิ Ramp Master และ Dispatcher) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเส้นทางการบิน, สภาพอากาศ, ผู้โดยสาร

        เมื่อสรุปข้อมูลครบถ้วนแล้วจึงเดินทางไปยังเครื่องบิน ประสานงานกับ Ramp Master ในเรื่องของการเตรียมเครื่องก่อนที่จะบิน การตรวจสอบสภาพเครื่องบินทั้งภายใน และภายนอก ตรวจเช็คสภาพน้ำมัน ที่ปัดน้ำฝน ระบบนำร่องสื่อสารต่างๆ ให้มั่นใจว่าทำการบินได้ หากพบว่าเครื่องบินมีปัญหาที่อาจจะกระทบกับการบินแม้เพียงเล็กน้อย จะต้องแก้ไขโดยทันที เช่น อาจจะต้องเปลี่ยนเครื่องบินเป็นลำอื่นเพื่อทำการบินแทนเครื่องบินที่มีปัญหา เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเครื่องบินที่จะทำการบินนั้นมีความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการดีเลย์ได้

        หากมีสิ่งใดที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแม้แต่กัปตันมีสิทธิ์ที่จะไม่นำเครื่องขึ้นบิน ความปลอดภัยของผู้โดยสารต้องมาเป็นอันดับ 1 อย่างไม่มีข้อแม้

ทำไมได้นั่งเครื่องบินใบพัด ความปลอดภัยมันน้อยกว่านะ! (ไม่จริงนะจ๊ะ!)

        เครื่องบินใบพัดนั้นได้ถูกออกแบบมาโดยมีมาตรฐานความปลอดภัยเช่นเดียวกันกับเครื่องบินไอพ่น การเลือกใช้เครื่องบินในแต่ละลำ แต่ละขนาดในการบินแต่ละเที่ยวนั้นมีปัจจัยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างด้านภูมิประเทศ จำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวบิน รวมถึงขนาดความยาว เป็นตัวแปรสำคัญที่ต้องเลือกประเภทของเครื่องบินให้เหมาะสมกับภารกิจนั้นๆ

แม้เครื่องบินใบพัดมีขนาดค่อนข้างเล็กกว่า ทำให้ผู้โดยสารสัมผัสได้ถึงการสั่นสะเทือน หรือแม้กระทั่งเสียงของใบพัดที่เข้ามาในตัวเครื่องมากกว่า แต่สามารถยืนยันได้ว่าความปลอดภัยไม่มีลดหลั่นลงไป ที่สำคัญคือ เครื่องบินใบพัดนั้นสามารถทำการบินได้อย่างปลอดภัยไม่ต่างจากเครื่องบินไอพ่นแต่อย่างใด

ลูกเรือเริ่มทำงานเฉพาะเมื่ออยู่บนเครื่องบินจริงหรือไม่?

        การทำงานของ ”ลูกเรือ” ในแต่ละเที่ยวบิน จะได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่แตกต่างกันไป ตามแต่ชนิดของเครื่องบิน จำนวนผู้โดยสาร จุดหมายปลายทาง และมาตรฐานการบริการ ดังนั้นจึงต้องมีการประชุมวางแผนระหว่างลูกเรือ และนักบิน ก่อนที่จะให้ผู้โดยสารทยอยขึ้นเครื่อง รวมถึงนักบินและลูกเรือต้องตรวจสอบอุปกรณ์การทำงานต่างๆ ให้พร้อมก่อนนำเครื่องออก เผื่อในกรณีฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างเที่ยวบิน รวมทั้งความเรียบร้อยของห้องโดยสาร และอุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ในการบริการ

        นอกจากนั้นหลังจากผู้โดยสารขึ้นเครื่องบินทั้งหมดแล้ว พนักงานภาคพื้นจะส่งต่อข้อมูลสำคัญต่างๆ ให้กับนักบินและลูกเรือ เพื่อเตรียมพร้อมปิดประตูเครื่องบิน และออกเดินทางต่อไป

ขึ้นเครื่องบินบ่อยแล้ว ทำไมยังต้องดูลูกเรือสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ทุกครั้ง?

        ทุกครั้งที่เดินทางโดยเครื่องบิน ผู้โดยสารอาจสงสัยว่า ทำไมต้องมีการสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ฉุกเฉินจากลูกเรือ และบังคับให้ต้องดูซ้ำๆ ในทุกเที่ยวบิน เพราะแต่ละเที่ยวบิน เราอาจจะใช้ประเภทของเครื่องบินต่างกัน ที่นั่งของผู้โดยสารอาจจะอยู่ในบริเวณที่ต่างจากครั้งก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นทางออกฉุกเฉิน หรืออุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ

        สายการบินจึงต้องให้ผู้โดยสารทุกท่านได้ทบทวนเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสารเอง เผื่อในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ผู้โดยสารจะได้ปฏิบัติตามเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอันตราย

ขอวางกระเป๋าไว้บนตักได้ไหม ?

        หากเกิดเหตุฉุกเฉินและต้องมีการอพยพออกจากเครื่องบินในเวลาจำกัดกระเป๋าที่วางอยู่บนตักอาจกลายเป็นสิ่งกีดขวางตามพื้นทางเดินบนเครื่องบิน และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นด้วย

แดดจ้าแต่ก็ยังต้องเปิดผ้าม่านหน้าต่างเครื่องบิน

แดดจ้าแต่ก็ยังต้องเปิดผ้าม่านหน้าต่างเครื่องบินไหม

        ในระหว่างเครื่องขึ้น และลงเป็นช่วงเวลาที่อาจเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินได้มากที่สุด การที่ผู้โดยสารสามารถมองเห็นสถานการณ์ภายนอกหน้าต่าง โดยเฉพาะบริเวณปีกเครื่องบินที่มีเครื่องยนต์ เป็นการช่วยตรวจสอบสิ่งผิดปกติให้ลูกเรือและนักบินได้อีกทาง เพราะลูกเรือนั่งในที่ที่ไม่สามารถมองเห็นทัศนวิสัยข้างนอกได้ทั่วถึง หากผู้โดยสารเห็นความผิดปกติเร็ว และแจ้งลูกเรือบนเที่ยวบินนั้นได้ทันท่วงที จะทำให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

เครื่องจะขึ้น/ ลงต้องเลิกเล่น และปิดโทรศัพท์ด้วยหรือ แค่เปิด Flight mode เพียงพอหรือไม่ ?

        อีกเรื่องที่เป็นข้อถกเถียงกันมาตลอดว่าสัญญาณของโทรศัพท์มือถือ และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ มีผลกระทบต่อการบินหรือไม่นั้น

เนื่องจากสัญญาณจากโทรศัพท์มือถือ และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด อาจรบกวนระบบนำร่องของเครื่องบิน จึงมีข้อกำหนดให้ผู้โดยสารทุกท่านต้องปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดขณะนำเครื่องขึ้น และลง การไม่ปฏิบัติตามเป็นความเสี่ยงที่หมายถึงความปลอดภัย ทุกกฎข้อบังคับในการบินล้วนมีขึ้นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของผู้โดยสารทุกคนบนเที่ยวบิน

ตรวจเช็คสภาพเครื่องบินทุกวันไหม?

        ทั้งนี้การซ่อมบำรุงรักษาอากาศยานมีหลายระดับ ทุกครั้งก่อนบินขึ้น หรือทันทีที่บินกลับ ที่เรียกว่า Transit Check ใช้เวลาในการตรวจ 30 นาที โดยการเดินเช็ครอบเครื่อง ดูระบบเชื้อเพลิง, daily check การตรวจประจำวัน เป็นการบำรุงรักษาที่ลานจอด ตรวจประจำเดือน (A-Check) คือเช็คทุก 90 วัน บำรุงขั้นต่ำ 2 ชั่วโมง, การซ่อมประจำปี (C-Check) การเช็คทุก 24 เดือน ใช้เวลาในการบำรุงขั้นต่ำ 90 ชั่วโมง

เครื่องบินใบพัดปลอดภัยไหม

        แต่ละวันจะมีเครื่องบินลงจอดเกือบตลอดเวลา ช่างต้องคอยเช็คเครื่อง Transit Check และ daily check งานซ่อม defects ต่างๆ ที่นักบินรายงานเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร ดังนั้น “Engineer และ Maintenance” จะต้องดูแลรับผิดชอบเครื่องบินอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ตอนเครื่องลงจอด จนเครื่องบินออก

ขั้นตอนก่อนการนำเครื่องขึ้นบิน

        ทั้งนี้ทั้งนั้นนอกจากมาตรฐานของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย แล้วนโยบายของแต่ละสายการบินเองก็จะแตกต่างกันไป เมื่อได้อ่านมาถึงตรงนี้ ผู้อ่านคงทราบแล้วว่าทำไมนกแอร์ถึงอยากให้ท่านเช็คอินก่อนขึ้นเครื่องเป็นเวลา 45 นาที

        แม้ว่าการเดินทางกับเราจะมีข้อจำกัดที่อาจจุกจิก และซับซ้อนไปบ้าง แต่ก็คือผลผลิตของการคำนึงถึงความปลอดภัยในทุกขั้นตอนของผู้โดยสารทุกๆ ท่าน เพราะขั้นตอนทุกขั้นตอนการทำงานของนกแอร์นั้นคำนึงถึงผู้โดยสาร 100% ท่านสามารถมั่นใจในความปลอดภัยของทุกเที่ยวบินด้วยมาตรฐานการบิน และการรักษาความปลอดภัยระดับโลก

สายการบิน Nokair

        พนักงานทุกคนของนกแอร์ทำงานอย่างหนัก ไม่เคยหยุดนิ่ง เตรียมพร้อม และแก้ไขการทำงานตลอดเวลา 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่ออาทิตย์ ไม่ว่าจะเป็น Ground Staff, Ramp Master, กัปตัน, ลูกเรือ, Engineer และ Maintenance มีความสุขที่ได้ให้บริการด้วยรอยยิ้ม เพราะเราอยากให้ทุกการเดินทางข้ามทะเลและท้องฟ้าที่กว้างใหญ่ของผู้โดยสารเปี่ยมด้วยรอยยิ้มที่กว้างขึ้น มุ่งมั่นสร้างความสุขทุกเที่ยวบิน

เพราะคุณคือคนสำคัญของเรา 😊  


“Nok Air, We fly smiles”