งานวิจัยใหม่ เล่นแท็บเล็ตแต่เด็กอาจทำให้เด็ก “พูดช้า”

ในยุคปัจจุบัน เชื่อว่าพ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนคงกังวลและส่งสัยต่อผลกระทบจากหน้าจอของสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ต่อเด็ก ไมว่าจะเป็น อาจมีผลกระทบต่อสมอง? จำกัดพัฒนาการทางสังคม? ส่งต่อภาวะทางอารมณ์? หรืออาจส่งผลให่เด็กพูดช้า?

โดยงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ถูกนำเสนอในงานประชุมทางวิชาการสำหรับเด็ก ประจำปี 2017 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พ.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า เด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือน – 2 ขวบ ที่ใช้เวลาในการอยู่กับอุปกรณ์ที่มีหน้าจอมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, และเกมอิเล็กทรอนิกส์ มีแนวโน้มว่าจะพูดได้ช้าขึ้น

“ฉันเชื่อว่านี่เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสมาร์ทดีไวซ์และการสื่อสารช้าในเด็ก” ดร.แคทเธอรีน เบอร์เคน นักวิจัยอาวุโส กุมารแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่โรงพยาบาลเด็กในโตรอนโต กล่าว

สำหรับงานวิจัยดังกล่าวได้ศึกษาในเด็ก 900 คน ที่ผู้ปกครองรายงานว่าให้ลูกๆ ใช้งานอุปกรณ์ที่มีหน้าจอวันละหลายนาที จนกระทั่งอายุ 18 เดือน จากนั้นนักวิจัยก็ใช้เครื่องมือการตรวจคัดกรอง เพื่อประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กในช่วงวัย 18 เดือน โดยยังดูรวมไปถึงการใช้เสียงหรือคำของเด็กเพื่อเรียกร้องความสนใจหรือขอความช่วยเหลือ หรือคำที่พูดตามพ่อแม่ นอกจากนี้ยังนับจำนวนคำที่เด็กพูดด้วย

โดยพบว่า 20% ของเด็กใช้เวลาอยู่กับหน้าจอเฉลี่ยวันละ 28 นาที โดยการใช้หน้าจอเพิ่มขึ้นทุก 30 นาที จะเชื่อมโยงกับ 49% ของความเสี่ยงต่อการแสดงออกว่าพูดช้าที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เสียงหรือคำพูด โดยงานวิจัยยังไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างการใช้สมาร์ทดีไวซ์และการสื่อสารอื่นๆ อย่างเช่น ท่าทาง, ภาษากาย หรือปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

อย่างไรก็ตาม ดร.เบอร์เคน เน้นย้ำว่า การศึกษาของเธอแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาร์ทดีไวซ์ และการสื่อสารล่าช้าในเด็ก แต่ยังต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติมว่าการใช้สมาร์ทดีไวซ์เป็นสาเหตุให้เด็กมีพัฒนาการพูดล่าช้าจริง