เปิด 7 เเนวโน้มผลสำรวจทางเศรษฐกิจ ของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย

หอการค้าญี่ปุ่น-ไทย เปิดเผยถึงการประเมินผลสำรวจเเนวโน้มนักลงทุนในประเทศไทย พบความเชื่อมั่นมาตรการโควิดไทยดีขึ้น ได้รับผลกระทบเงินเฟ้อจากวัตถุดิบสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะญี่ปุ่นเตรียมยกเลิก RT-PCR เข้าประเทศ ในวันที่ 7 กันยายนนี้

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เเถลงข่าวสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจในไทยไตรมาสเเรก โดยเป็นการสำรวจที่จัดขึ้น 2 ครั้งในทุก ๆ ปี ผ่านการสอบถามนักธุรกิจนักลงทุนญี่ปุ่นในไทย หรือบริษัทร่วมทุนที่เป็นสมาชิกของ JCCB จัดสำรวจขึ้นเมื่อวันที่ 10 พ.ค.-8 มิ.ย.

โดยมีนายจุน คุโรดะ ประธานคณะวิจัยเศรษฐกิจ เเละนายฮิเดะโตะ อาซึกิ ประธานคณะกรรมการส่วนประชาสัมพันธ์ เป็นประธานเเถลง จำเเนกผลเป็น 7 ประเภท ดังนี้

1.สภาพธุรกิจโดยสะท้อนจากค่าดัชนีเเนวโน้มเศรษฐกิจ (DI)

พบว่าดัชนีอยู่ที่ 26 ในครึ่งหลังปี 2564 เเละคงที่ 26 ในครึ่งเเรกปี 65 เช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะเดิม เนื่องจากมีปัญหาเช่น ขาดเเคลนเซมิคอนดักเตอร์ ราคาวัตถุดิบสินค้าพุ่งสูง เเต่ครึ่งปีหลัง 2565 น่าจะเพิ่มขึ้นสู่ 29 เชื่อว่าโควิดจะคลี่คลายขึ้น ถือว่าเป็นบวกขึ้นเล็กน้อย

ในขณะที่นายคุโรดะ ยังได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเพิ่มว่า ค่า DI ในอุตสาหกรรมเหล็กที่มีปัจจัยลบนั้น มาจากวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้กระทบ ดีมานด์จีนก็ลดลง เเละขาดเเคลนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
สำหรับเครื่องจักร ขนส่งสื่อสาร ปัจจัยลบก็จะคล้ายคลึงกัน

2.การลงทุนด้านโรงงานเครื่องจักร หรือ อุตสาหกรรมการผลิต

บริษัทผู้ตอบเเบบสอบถามเชื่อว่าจะลงทุนเพิ่มขึ้น 40%

Advertisment

3.การส่งออกเเละตลาดส่งออกที่มีศักยภาพในอนาคต

ในช่วงครึ่งปีหลัง 2565 มีร้อยละ 38% เชื่อว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น 47% คาดว่าจะส่งออกคงที่ เเละ 14% คาดว่าจะส่งออกลดลง

ขณะที่นักลงทุนเชื่อว่าเวียดนามจะเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่ง เช่นเดียวกับผลสำรวจก่อนหน้า ตามด้วย อินโดนีเซีย อินเดีย เเละ ญี่ปุ่น

Advertisment

4.อัตราเเลกเปลี่ยนทางการค้า

บริษัทส่วนใหญ่บอกว่าใช้อัตราเเลกเปลี่ยน 33.0-33.5 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนค่าเงินญี่ปุ่นนั้น บริษัทส่วนใหญ่ใช้อัตราเเลกเปลี่ยน 3.5 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3.6 เยนต่อบาท เเละจากการสำรวจพบว่าอัตราเเลกเปลี่ยนเงินบาทอาจเเข็งค่าขึ้นบ้างเเล้ว เเต่ผู้ประกอบการก็จะใช้เกณฑ์ในการวัดต่างกัน

5.ปัญหาที่พบเจอด้านบริหารองค์กร

พบว่าค่าวัตถุดิบสูงขึ้น การเเข่งขันเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับความผันผวนของอัตราเเลกเปลี่ยน เเละประสบปัญหาจากยูเครนเเละรัสเซีย

ทั้งนี้ บริษัทตอบว่าสามารถส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าเเละบริการได้เพียงเล็กน้อย คือ 48% ตอบว่าสามารถทำได้ ส่วนสาเหตุปัญหาที่พบเจอคือ ไม่สามารถขึ้นราคาได้ เเละมีปัจจัยที่ผู้บริโภคต่อต้านการขึ้นราคา

6.ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย

บริษัทญี่ปุ่นเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นพิเศษ เเต่มองว่ามาตรการรับมือโควิดของไทยดีขึ้น

ในส่วนของประเด็นสุดท้าย ผลประกอบการปัจจุบัน พบว่ามียอดขายเพิ่มขึ้น 33% เเต่ได้รับผลกระทบจากชิ้นส่วนวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น เเละผลกระทบจากโลจิสติกส์ดิสรัปชั่น สูงถึง 73%

เมื่อสอบถามถึงรายละเอียดเพิ่มเติมของผลสำรวจ ประธานหอการค้าระบุว่าเป็นเพียงเเบบสอบถามเเบบกาตัวเลข จึงไม่มีรายละเอียดระบุใด ๆ นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวยังได้สอบถามถึงประเด็นเพิ่มเติมสมาชิกของ JCCB ลดลง เพราะนักลงทุนญี่ปุ่นจำนวนน้อยลงหรืออย่างไร เเต่ทางประธานกล่าวว่าไม่สามารถระบุได้ เนื่องจากการลาออกของสมาชิกมีเหตุผลที่หลากหลาย

นอกจากนี้ จุน คุโรดะ ประธานคณะวิจัยเศรษฐกิจของหอการค้ายังเปิดเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นอาจมีการเตรียมการเปิดประเทศ โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีคิชิดะกำลังจะมีมาตรการการเปิดประเทศด้วยการผ่อนคลาย ยกเลิกมาตรการการตรวจ RT-PCR ก่อนเข้าประเทศ 42 ชั่วโมง นับตั้งเเต่วันที่ 7 กันยายนนี้เป็นต้นไป เเละจะค่อย ๆ พิจารณาผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก

ประเด็นการเมือง นายกฯ 8 ปี กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน?

ประธานคุโรดะ ในฐานะประธานคณะวิจัยเศรษฐกิจของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เผยว่า ไม่สามารถเข้าไปยุ่งในเรื่องการเมืองภายในได้ จึงไม่ขอตอบ เเต่เเน่นอนว่าในเรื่องของการเลือกประเทศที่จะลงทุนต้องดูเรื่องของสภาวะความมั่นคงอย่างเเน่นอนอยู่เเล้ว

ซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองนั้น เป็นสิ่งสำคัญต่อความเชื่อมั่นนักลงทุน เเละความขัดเเย้งระหว่างประเทศ หรือผลกระทบจากนานาประเทศ (Global Impact) ก็ยังส่งผลต่อผู้ประกอบการเช่นเดียวกัน ขณะที่ตอนนี้ก็ยังมีความกังวลถึงผลกระทบเศรษฐกิจที่จะเกิดจากความขัดเเย้งในไต้หวันอีกด้วย

7.ข้อเรียกร้องต่อมาตรการโควิดของรัฐบาลไทย

นักลงทุนมองว่ารัฐบาลไทยปรับปรุงสภาพเเวดล้อมการลงทุนได้ดี มีการประเมินในเชิงบวกต่อนโยบายของรัฐในช่วงครึ่งปีเเรกที่ผ่านมา