เผยมุมมองเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย ปมกังขา”เก็บค่าน้ำ”ในพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ

18 ม.ค. 2561 อ.ชล บุนนาค คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงหัวข้อ “การเก็บค่าน้ำใน พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ…มุมมองเเละข้อเสนอทางเศรษฐศาสตร์” ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2561 “Re-design Thailand ทำอย่างไรให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน” ว่า ข้อค้นพบจากการวิจัยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มุมมองของรัฐที่มีต่อน้ำเเละการใช้งานของเกษตรกร ตามมาตรา 6 รัฐมีอำนาจพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ โดยเปลี่ยนรูปร่างของของเเหล่งน้ำหรือขยายพื้นที่ของเเหล่งน้ำได้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรน้ำสาธารณะ รัฐมนตรีอาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดรับผิดชอบควบคุมดูเเลเเละรักษาทรัพยากรน้ำสาธารณะเเห่งใดก็ได้

โดยการเก็บค่าน้ำในร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ จากการใช้น้ำ 3 ประเภท คือ การใช้น้ำเพื่อการดำรงชีพ, การใช้น้ำเพื่อการพาณิชย์, การใช้น้ำเพื่อกิจการขนาดใหญ่ ซึ่งรัฐมนตรีสามารถกำหนดอัตราเเละการเก็บค่าน้ำ เเละวางเงื่อนไขในการเรียกเก็บ ลดหย่อน หรือยกเว้นได้

ทั้งนี้มุมมองของรัฐที่มีต่อน้ำสาธารณะ คือ น้ำอยู่ภายใต้กรรมสิทธิ์ของรัฐ เกษตรกรในประเทศไทยใช้น้ำอย่างไม่ประหยัด ซึ่งการเก็บค่าน้ำจะทำให้การจัดสรรน้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยรัฐสามารถเก็บค่าน้ำเป็นอัตราต่อหน่วยเดียวกัน ทั่วประเทศได้ อาจคำนวณเกณฑ์การเก็บค่าน้ำจากลูกบาศก์เมตรต่อไร่ มาตรการในการจัดสรรน้ำได้เเก่ รัฐบาลกลางเป็นผู้ตัดสินใจในการจัดสรรน้ำ , ส่วนของเศรษฐศาสตร์กระเเสหลัก คือการเก็บค่าน้ำ-การซื้อขายใบอนุญาตการใช้น้ำ , เศรษฐศาสตร์สถาบันใหม่ จากข้อเสนอของ ostrom ในเรื่องความหลากหลายเชิงสถาบัน-การจัดการทรัพยากรน้ำโดยผู้ใช้ทรัพยากร

ซึ่งการเก็บค่าน้ำ นักเศรษฐศาสตร์มองว่า ราคา จะช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรที่ “ขาดเเคลน” มี “ประสิทธิภาพ” ผู้ที่มีกำลังซื้อเเละยินดีจะจ่ายซื้อทรัพยากรคือผู้ที่สามารถสร้างประโยชน์จากทรัพยากรได้ “คุ้มค่า” กับราคาที่จ่ายไป เเละยังกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาวิธีการประหยัดการใช้ทรัพยากร

“ข้อดีของการเก็บค่าน้ำ คือหน่วยผลิตมีอิสระในการตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขราคา อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรน้ำ เเต่ข้อเสียก็มีเช่นกันคือ ความเป็นธรรมในการจัดสรรน้ำ โดยเฉพาะสำหรับเกษตรกรที่ยากจน บวกกับราคาที่มีประสิทธิภาพกำหนดได้ยากในทางปฏิบัติ” อาจารย์ชลกล่าว

@นักเศรษฐศาสตร์เผย ลุ่มน้ำภาคกลาง-ตะวันออก น้ำยังเเล้ง สวนทางลุ่มน้ำภาคใต้มีการบริหารจัดการสมดุล…น้ำไม่เเล้ง

สำหรับหรับการจัดการน้ำที่ “ทั่วถึง มีประสิทธิภาพ เเละเป็นธรรม” อาจารย์ชล เปิดเผยว่า จะต้องมีการพัฒนาโครงข่ายน้ำเเละการกระจายทรัพยากรน้ำ รวมถึงพัฒนาเครื่องมือในการประเมินความต้องการใช้น้ำ เเละพัฒนาเครื่องมือเพื่อกำหนดกติกาการจัดสรรน้ำให้เกิดประโยชน์เเละเป็นธรรม โดยการลงพื้นที่เพื่อศึกษากระบวนการจัดการน้ำในพื้นที่ต่างๆ ภายในลุ่มน้ำ ได้เเก่ ลุ่มน้ำภาคกลาง (เจ้าพระยา สะเเกกรัง ป่าสัก ท่าจีน เเม่กลอง) พบว่าน้ำเเล้งเป็นปัญหาหลัก โดยเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาเเละลุ่มน้ำสาขา ทำให้เกิดน้ำเค็ม เเละในหลายชุมชนมีความเข้มเเข็ง

ด้านลุ่มน้ำภาคตะวันออก (ปราจีนบุรี บางปะกง โตนเลสาบ เเละลุ่มน้ำภาคตะวันออก) พบว่ามีการรุกคืบเข้ามาของน้ำเค็ม มีน้ำเเล้ง ปัญหาการเเย่งน้ำจากภาคอุตสาหกรรมเเละการขยายตัวของนโยบาการพัฒนา ส่วนลุ่มน้ำภาคใต้ (ทะเลสาบสงขลา,ภาคใต้ฝั่งตะวันตก,ภาคใต้ฝั่งตะวันออก) พบว่าไม่มีปัญหาน้ำเเล้งเลย ทั้งยังมีกลุ่มอาชีพที่หลากหลายตลอดลุ่มน้ำ การบริหารจัดการน้ำของชุมชนมีความสมดุล ระหว่างเขตต้น กลาง เเละปลายน้ำ รวมถึงมีการรวมกันเป็นเครือข่ายชุมชนเเละก่อรูปเป็นระบบการจัดการที่ซับซ้อนเเต่ยืดหยุ่นเเละจัดความสัมพันธ์กับรัฐได้อย่างชาญฉลาด เเสดงให้เห็นว่าเเต่ละภูมิภาคมีความเเตกต่างกัน

หากเปรียบเทียบมุมมองของภาครัฐ พบว่า รัฐมองว่าสามารถเก็บค่าน้ำเป็นอัตราต่อหน่วยเดียวกันทั่วประเทศได้ โดยอาจคำนวณจากการใช้น้ำของพืชเเต่ละชนิดเป็นลูกบาศก์เมตรต่อไร่ เเต่ในทางทฤษฎีอัตราค่าน้ำขึ้นกับความขาดเเคลนในลุ่มน้ำนั้น หากเก็บควรเก็บตามปริมาณที่ใช้ โดยงานวิจัยพบว่า ลุ่มที่น้ำขาดเเคลนมีอยู่ 3 ลุ่มน้ำจาก 25 ลุ่มน้ำ ซึ่งปัจจุบันเองมีการจัดสรรน้ำในพื้นที่ที่หลากหลาย เเละอัตราค่าน้ำก็หลากหลายด้วย

ความท้าทายสำคัญ คือการกำหนดราคาค่าน้ำ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เงินมีจ่ายเเต่น้ำไม่พอก็จบ