
ปลัดเกษตรฯขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทย ด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน ร่วมกับ UNDP
วันที่ 27 ตุลาคม 2566 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการ (Project Board) ครั้งที่ 1 โครงการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทย ด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน ว่า โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ
- วันหยุดเดือนธันวาคม 2566 เช็กวันหยุด วันสำคัญ วันหยุดยาว-หยุดต่อเนื่อง
- เจ้าสัวธนินท์ กับนายกฯ
- กรมอุตุฯเตือน มวลอากาศเย็นระลอกใหม่จากจีน อากาศเย็นลง-ลมแรง
โดยการวางแผนการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรที่เปราะบาง ในการลดความผันผวนของวิถีชีวิตอันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เสริมสร้างความสามารถในการวางแผนแบบบูรณาการและคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการหยุดชะงักด้านการผลิตของเกษตรกรรายย่อย ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งจากกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund : GCF)
มีพื้นที่ดำเนินการครอบคลุม 22 ตำบล 7 อำเภอ ในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ (โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน) มีเป้าหมายกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์ 20,000 ครัวเรือน ประชากร 62,000 คน
โดยมอบหมายคณะทำงาน 3 คณะ รับผิดชอบดำเนินการเพื่อให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมายประกอบด้วย
1) ระบบบริหารข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อการชลประทาน ได้แก่ การพยากรณ์ น้ำฝน น้ำท่า และแผนการปลูกพืช 2) โครงสร้างพื้นฐานที่ผสมผสานมาตรการสิ่งก่อสร้างและมาตรการเชิงนิเวศ
และ 3) การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกร ได้แก่ Mobile App, Online Market Platform โดยการประชุมในวันนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ปรับแผนการดำเนินงานจาก 5 ปี เหลือ 4 ปี ปรับแผนการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งขอให้ทุกหน่วยงานร่วมกันบูรณาการและเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้
สำหรับโครงการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทยด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2558 โดยกรมชลประทาน
ได้เสนอโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือส่วนหนึ่งตามคำเชิญชวนของ GCF จนกระทั่งเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรมชลประทานลงนามในเอกสารโครงการ โดยได้มีการลงนามร่วมกับ UNDP และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 และจะสิ้นสุดโครงการในปี 2569 รวมระยะเวลา 4 ปี