รถมือสอง ตลาดแอฟริกาใต้บูม แนะส่งออกอุปกรณ์-ส่วนประกอบยานยนต์

รถยนต์

“พาณิชย์” เผยผลสำรวจตลาดรถยนต์มือสองในแอฟริกาใต้ ยังคงเติบโต หลังเศรษฐกิจชะลอตัว ชี้เป็นโอกาสในการส่งออกอุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์จากไทย เข้าไปทำตลาด รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น แนะต้องคุมคุณภาพและราคาให้ดี

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ล่าสุดได้รับรายงานจากทูตพาณิชย์ ณ กรุงพริทอเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ ถึงโอกาสในการขยายตลาดส่งออกสินค้าในกลุ่มรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบจากไทย โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งปัจจุบันพบว่า เป็นสินค้าที่มีโอกาสในการส่งออกสูงมาก จากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของตลาดรถยนต์มือสอง

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการส่งออกอุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์เข้าสู่ตลาดแอฟริกาใต้ได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจต่ำตกในปี 2566 ที่ผ่านมา ทำให้ชาวแอฟริกาใต้จำนวนมากได้หันไปหาตลาดรถยนต์มือสอง

โดยมีข้อมูลจาก Auto Trader ระบุว่าปี 2566 จำนวนรถยนต์มือสองขายได้เพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยยอดขายรถยนต์มือสอง รวมทั้งสิ้น 367,075 คัน ยอดขายเพิ่มขึ้นจากปี 2565 รวม 17,000 คัน มูลค่ารวม 146,5 พันล้านแรนด์ หรือประมาณ 272.6 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 แรนด์เท่ากับ 1.86135) ราคาขายเฉลี่ยคันละ 399,163 แรนด์ โดยราคาขายเฉลี่ยต่อคันเพิ่มขึ้น 7.7%

กฤษฎา ตันเทอดทิตย์
กฤษฎา ตันเทอดทิตย์

สำหรับแบรนด์รถยนต์มือสอง 10 อันดับแรกที่มียอดขายสูงที่สุด ในปี 2566 ได้แก่ 1.Ford Ranger ยอดขาย 20,156 คัน 2.Toyota Hilux ยอดขาย 17,555 คัน 3.Volkswagen Polo ยอดขาย 16,140 คัน 4.Volkswagen Polo Vivo ยอดขาย 10,990 คัน 5.Mercedes-Benz C-Class ยอดขาย 7,850 คัน 6.Mercedes-Benz C-Class ยอดขาย 7,850 คัน 7.BMW 3 Series ยอดขาย 6,855 คัน 8.Ford EcoSport ยอดขาย 6,032 คัน 9.Nissan NP200 ยอดขาย 4,506 คัน 10.KIA Picanto ยอดขาย 4,460 คัน

โดยจากข้อมูลข้างต้นพบว่า แบรนด์รถยนต์มือสองจากเอเชีย ยังคงติดอันดับต้นในตลาดแอฟริกาใต้ โดยโตโยต้ามียอดขายสูงที่สุด คือ 60,296 คัน ส่วนซูซูกิยอดขายขยายตัวเพิ่มขึ้น 28.8% และ Kia ยอดขายเติบโต 16.6% เมื่อเทียบกับปี 2565 ดังนั้น จึงอาจสร้างความกังวลต่อแบรนด์รถยนต์สัญชาติเยอรมันในการครองตลาดในแอฟริกาใต้ได้

ADVERTISMENT

“การที่ยอดขายรถมือสองในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ที่ผ่านมา สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังแอฟริกาใต้มูลค่ามากที่สุด คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เฉลี่ยประมาณ 30% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทยไปยังแอฟริกาใต้ โดยตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา ไทยส่งสินค้าดังกล่าวไปยังแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2566 มีมูลค่า 1,240 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบกับปี 2565

ซึ่งจำแนกเป็นการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 73% รถยนต์ 4 ที่นั่ง 16% และรถปิกอัพ รถบัสและบรรทุก 11% แสดงให้เห็นว่า รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบจากไทย ยังคงมีศักยภาพและมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่องในแอฟริกาใต้ หากสามารถแข่งขันได้ในเรื่องคุณภาพและราคา”

ADVERTISMENT