“บิ๊กตู่” เปิด “ASEAN-India Expo and Forum” สุดปลื้มยอดค้าอาเซียนอินเดียเพิ่มเท่าตัวในรอบ10ปี

นายกเปิด ASEAN-India Expo and Forum เชื่อมโยงอาเซียน-อินเดีย ฉลองความสัมพันธ์ 25 ปี สุดปลื้มยอดค้าอาเซียนอินเดียเพิ่มเท่าตัว ในรอบ 10 ปี ‘พาณิชย์’ รับลูกนายกฯ เตรียมหารือนอกรอบรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-อินเดีย ดัน RCEP สรุปเปิดตลาดสินค้าจบปีนี้

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในพิธีเปิด “ASEAN-India Expo and Forum” ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร และอีก 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งประเทศอินเดีย ร่วมกันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 สิงหาคม 2560 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างอาเซียน-อินเดีย และครบรอบ 70 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โดยมี นางนิรมลา สิตารามัน (Mrs. Nirmala Sitharaman) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดีย และมีนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำคณะผู้บริหารจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมด้วย

พลเอกประยุทธ์ กล่าวในปาฐกถาพิเศษว่า งาน ASEAN – India Expo and Forum 2017 ในโอกาสครบรอบ 25 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน – อินเดีย นับเป็นโอกาสสาคัญที่ผู้บริหารจากภาครัฐและภาคธุรกิจชั้นนำของอาเซียน และอินเดียจะได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกันเพื่อเปิดมุมมองทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างความเชื่อมโยงทางสังคม และเศรษฐกิจ และความเจริญเติบโตร่วมกัน

เป็นที่ทราบกันดีว่าเศรษฐกิจโลกภาพรวม เผชิญความท้าทายจากปัจจัยต่างๆ ทั้ง สถานการณ์เศรษฐกิจโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจาก พลวัตการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ของโลก ความผันผวนในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกในเกณฑ์สูง จากความไม่แน่นอนทางการเมือง การปรับเปลี่ยนนโยบายของประเทศมหาอานาจทางเศรษฐกิจ อาทิ สหรัฐอเมริกา กรณีของ Brexit ความผันผวนของราคาน้ำมัน และราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก การเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ถึงเวลาที่ภูมิภาคเอเชียต้องผนึกกำลังกันเพื่อสร้าง การเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพและยั่งยืนในระยะยาวบนพื้นฐานของการเจริญเติบโต ไปด้วยกัน

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และอินเดียถือเป็นส่วนหนึ่ง ในกลไกทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก หากสามารถทางานร่วมกันได้อย่างสอดประสานแล้ว นับว่าจะทาให้เกิดอำนาจในการต่อรองและเป็นตลาดใหญ่ที่มีพลังก่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนทาง เศรษฐกิจอย่างมหาศาล ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สาคัญทางเศรษฐกิจและสังคมได้

อาเซียนประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมรวมถึงมีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน การรวมตัวของอาเซียนและ การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ AEC ทำให้ เกิดการดึงศักยภาพของภูมิภาคมาใช้อย่างเต็มที่ เกิดตลาดและฐานการผลิตที่สาคัญ ของโลก ซึ่งขณะนี้อาเซียนกำลังผลักดัน การเดินหน้าตามแผน AEC 2025

“อาเซียนมีประชากร 630 ล้านคน คิดเป็น 9% ของประชากรโลก มีมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น 100% จากปี 2007 ที่ 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 2.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2016 มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับที่ 6 ของโลก สามารถ ดึงเม็ดเงินลงทุน 120 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่อินเดียมีประชากร 1,324 ล้านคน เป็นอันดับ 2 รองจากจีน มีมูลค่าเศรษฐกิจ 2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เป็นอันดับที่ 7 ของโลก และมีมูลค่าการค้ากับอาเซียน 659 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีมูลค่าการค้าอาเซียนเพิ่มขึ้น 2เท่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจาก 30 พันล้านเหรียญสหรัฐเป็น 71.6 พันล้านเหรียญ”

พร้อมกันนี้ ในส่วนของไทยที่ได้เริ่มปรับตัวเข้าสู่โมเดลใหม่ของประเทศที่เรียกว่า “Thailand 4.0” ซึ่งเป็นรูปแบบทางเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างมูลค่า (value-based economy) และการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (innovation-driven economy) โดยมี หัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้าง “คนไทย 4.0” ให้พร้อมต่อการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าทาง

พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า ไทยพร้อมจะร่วมมือเพื่อการพัฒนาในฐานะเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) สานต่อความสัมพันธ์ พร้อมทั้งได้มีการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียน – อินเดีย ซึ่งมี ผลใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2010 ครอบคลุมทั้งเรื่องการเปิดเสรีทางการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน

ทั้งยังต้องขยายการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทาง เศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เพื่อจะเป็นการยกระดับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ของภูมิภาค ครอบคลุมการเปิดเสรีทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก ลดอุปสรรคและอำนวย ความสะดวกทางการค้าระหว่างกัน และเสริมสร้างกฎกติกาทางการค้าให้ทันกับเศรษฐกิจ โลกในยุคใหม่ ให้ได้ข้อสรุปในปีนี้ เป็นไปตามเป้าหมายที่ 16 ประเทศวางไว้

นอกจากนี้ การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์ ระหว่างอินเดียและอาเซียนทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ผ่านโครงการ Trilateral Highway Project ที่อินเดียสนับสนุนการสร้างทางหลวงเชื่อม 3 ฝ่าย อินเดีย – เมียนมา – ไทย และเชื่อมโยงไปยังกัมพูชา ลาว และเวียดนาม รวมถึงพัฒนา Mekong – India Economic Corridor เพื่อเป็นเส้นทางลัดเชื่อมโยงภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขงกับอินเดียฝั่งตะวันออก โดยจะเชื่อมเส้นทางทั้งทางบกและทางน้ำ ผ่านทางโฮจิมินห์ – พนมเปญ – กรุงเทพฯ – ทวาย – เจนไน เข้าด้วยกัน โดยมีทวายเป็นประตูสำคัญในการเข้าสู่อาเซียน ตลอดจน สนับสนนุการเปิดน่านฟ้าเสรีกับอาเซียนด้วย

สำหรับแนวทางในการนำศักยภาพของอาเซียนและอินเดียออกมาใช้เพื่อการเจริญเติบโตร่วมกัน จำเป็นต้องเร่งพัฒนาและเสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญร่วมกัน 5 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาภาครัฐดิจิทัล เพื่ออำนวยสะดวกและสนองต่อความต้องการและลดต้นทุนค่าเสียโอกาสของภาคธุรกิจ 2) การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยการเร่งลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาและส่งเสริมระบบนิเวศด้านนวัตกรรม 3) การพัฒนาภาคเกษตร 4)การพัฒนาไมโครเอสเอ็มอี (MSMEs) และ 5 )พัฒนา-ยกระดับคุณภาพกำลังคน เพื่อรองรับกับโอกาสและความท้าทายในโลกยุคใหม่

ด้านนางนิรมลา กล่าวว่า ขอให้อาเซียนทบทวนการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) อาเซียน-อินเดีย ในการลดภาษี การอำนวยความสะดวกทางการค้า กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมโยง การเพิ่มมูลค่าการค้า และการลงทุนระหว่างกัน ปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของอินเดียมีมูลค่าการค้า 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 8.5% ของการค้าทั้งหมด

พร้อมกันนี้ รัฐบาลอินเดียพร้อมสนับสนุรนักลงทุนอินเดียเข้าร่วมงานนี้ เพื่อส่งเสริมให้มีการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น ตามนโยบายเศรษฐกิจของอินเดีย

นางอภิรดี กล่าวว่า ในวันนี้จะมีการหารือนอกรอบ เพื่อผลักดันการเจรจา RCEP ซึ่งจะเป็นการแนวทางร่วมกันในการผลักดันการเปิดตลาดสินค้า ระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน 10 ประเทศและ อินเดีย โดยจะนำข้อสรุปของการหารือที่ได้เสนอต่อที่ประชุมระดับสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ในเดือนพฤศจิกายนนี้

สำหรับกำหนดการเวทีเสวนาในวันที่ 3 สิงหาคม 2560 ประกอบด้วยหัวข้อ “Untapped Trade Potential” โดย Mr Rolf Dieter Daniel, ประธานสภาธุรกิจ EU-ASEAN; “ASEAN’s 50th Anniversary and Beyond” โดย Mr Le Luong Minh เลขาธิการอาเซียน; “Trade and Investment Opportunities in AEC” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นางอภิรดี ตันตราภรณ์; “Linkage between ‘Make in India’ and AEC” โดย Mrs Nirmala Sitharaman, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอินเดีย; “ASEAN-India as One Destination” โดยนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา; “India’s Economic Policies and Strategies towards ASEAN” โดย Mr Amitabh Kant, CEO of the National Institution for Transforming India, และการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “The Direction of Digital Technology” โดย Mr Sandeep Chhabra, Wipro’s regional delivery head for ASEAN & Japan

นอกจากนี้ เวที Forum ยังได้รับเกียรติจากอีกหลายผู้บริหารภาคเอกชนมาร่วมเป็นวิทยากร อาทิ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาธุรกิจไทย-อินเดีย และประธาน บมจ. ศรีไทยซุปเปอร์แวร์, Mr Mark Kaufman จาก Ford ASEAN, Dr. Arjit Ranade จาก Aditya Birla Group, Mr Robin Kwok จาก Airbnb, Ms. Shanti Shamdasani จาก DHL E-Commerce Asia-Pacific เป็นต้น

ทั้งนี้ ในส่วนของ Forum ระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2560 ที่ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในขณะที่ส่วนของมหกรรมสินค้าหรือ Expo ภายใต้แนวคิด “Creative and Digital” พร้อมด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมและการฉายภาพยนตร์ดัง จะเปิดให้ชมทุกวันจนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2560 ที่บริเวณเพลนนารี่ ฮอลล์, พื้นที่ชั้น 2 ของฮอลล์ C และบริเวณเอเทรี่ยม โดย งานนี้เปิดให้นักธุรกิจและผู้ที่สนใจทั่วไปเข้าชมฟรี โดยสามารถลงทะเบียนเข้าชมงานออนไลน์ หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ASEAN-INDIAexpo.com