ชาวไร่ร้องรัฐคงมาตรการข้าวโพด 3 : 1 หวั่นยกเลิกกระทบผู้ปลูกพืชในประเทศ

corn
ภาพจาก pexels.com

สมาคมการค้าพืชไร่ เผยทำหนังสือถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ ร้องรัฐคงมาตรการ 3 : 1 เป็นมาตรการที่ช่วยปกป้องเกษตรกร หากยกเลิกส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกพืชวัตถุดิบไทย

วันที่ 3 มิถุนายน 2567 รายงานข่าวระบุว่า นายพรเทพ ปู่ประเสริฐ อุปนายกสมาคมการค้าพืชไร่ ทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอธิบดีกรมการค้าภายใน เรื่อง การลดปัญหา PM 2.5 พร้อมแนวทางแก้ไขและการบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจและเป็นข้ออ้างในการขอยกเลิกมาตรการ 3 : 1

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาฝุ่นควันพิษ PM 2.5 ซึ่งการเผาแปลงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถูกอ้างว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุหนึ่งที่ทาให้เกิด PM 2.5 ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งความเป็นจริงในปัจจุบันการเผาแปลงเพื่อปลูกข้าวโพดในประเทศไทยได้ลดจานวนลงเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากการกำหนดเงื่อนไขการรับซื้อผลผลิตข้าวโพดของโรงงานอาหารสัตว์ เช่น ต้องปลูกบนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ และมาตรการทางกฎหมายทั้งจับ/ปรับที่ภาครัฐบังคับใช้อย่างเข้มงวด

ดังนั้น ต้นตอหลักของปัญหาหมอกควันฝุ่น PM 2.5 นั้นเกิดจากลักลอบเผาป่า ไฟป่าในภาคเหนือ การใช้รถยนต์บรรทุก และโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การกล่าวอ้างและบิดเบือนข้อเท็จจริงแบบไม่สร้างสรรค์ สนใจแต่ความเดือดร้อนของตนเองและไม่แยแสต่อสภาพสังคมและความเป็นอยู่ของประชาชนของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ดังที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ

ทางสมาคมการค้าพืชไร่เห็นว่าควรจะร่วมกันสนับสนุนหาทางออกในการลดปัดหาฝุ่น PM 2.5 ร่วมกันโดยปรับเปลี่ยนวิธีการกาจัดเศษซากตอซังในแปลง เช่นการปลูกโดยไม่ไถ การปลูกแบบไถแถวเว้นแถว และการกาจัดเศษซากต่อซังด้วยวิธีทางชีวภาพ ไม่ควรปล่อยให้กลุ่มผู้หาผลประโยชน์มาตั้งเงื่อนไขข้ออ้างจาก PM2.5 มาสร้างเงื่อนไข ข้อจำกัดทางการค้าเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกร้องขอยกเลิกมาตรการ 3 : 1 เพื่อประโยชน์ของตนเพียงอย่างเดียว

นำเข้าจากอเมริกา

จากข้อมูลปีที่ 2023 แปลงนาในรัฐอาร์คันซอ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเผากว่า 40% รองลงมาเป็นแปลงข้าวโพดและอื่น ๆ แต่ก็มีการนำเข้ากากข้าวโพด DDGS และกากถั่วเหลืองจากสหรัฐอเมริกา แทนที่จะสร้างข้อจากัดให้เป็นมาตราฐานเดียวกันเดียวกับการรับซื้อภายในประเทศไทย ดังนั้น จึงควรหาแนวทางร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรไทยและจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นไทยมากกว่า

ADVERTISMENT

นอกจากนี้ จากสถานการณ์ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เบอร์ 2 อ้างอิงพื้นที่รับซื้อบางนา ขึ้นมาจากราคาลงมาต่าสุดเมื่อวันที่ 23/4/2567 10.2 บาท/กก. (เทียบราคาชิคาโก 452.5 USD/Bu และขึ้นมาอย่างรวดเร็วอยู่ระดับสูงถึง 11.30 บาท/กก. (เทียบราคาชิคาโก 44.545 USD/Bu) โดยใช้เวลา 1 เดือนเท่านั้น แล้วมีการกล่าวอ้างว่าในช่วงเวลาดังกล่างข้าวโพดไม่อยู่ในมือเกษตรกรแล้ว และกล่าวโทษพ่อค้าคนกลางว่ากักตุนเก็งกำไร ไม่มีการขายของเข้าสู่โรงงานอาหารสัตว์ เป็นการให้ร้ายพ่อค้าคนกลางเพื่อผลประโยชน์ในการเรียกร้องของกลุ่มตน

ทั้งที่ผู้ที่มีอำนาจกำหนดกลไกทางการค้าคือผู้รับซื้อเข้าโรงงาน ดูได้จากการเคลื่อนไหวราคา ซึ่งผู้กำหนดราคารับซื้อและสร้างเงื่อนไขมากมายต่าง ๆ ให้พ่อค้าคือบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์ขนาดใหญ่

ADVERTISMENT

ชาวไร่ขอชี้แจง

ทั้งนี้ ทางสมาคมการค้าพืชไร่ขอชี้แจง เป็นประเด็นดังนี้

1.พ่อค้าใม่มั่นใจต่อสภาวะตลาด จึงเทขายในช่วงฤดูกาลออกไปเป็นจำนวนมาก (ทางการสามารถตรวจเช็คปริมาณรับซื้อของแต่ละโรงงานช่วงฤดูกาลพืชในช่วงที่ราคาข้าวในรอบฤดูกาล 2566/67 ที่ผ่านมา ราคาข้าวโพดขึ้นลงผันผวนมาก ทำให้พ่อค้าคนกลางส่วนใหญ่กลัวขาดทุน จึงตกลงขายปั้วล่วงหน้าไปมาก

ดูได้จากช่วงต้นฤดูกาลที่ข้าวโพดฝนออก ราคาข้าวโพดสูงสุดในวันที่ 11/9/2566 อยู่ที่ 11.45 บาท/กก. (เทียบราคาชิคาโก 4.8375 USD/Bu) หลังจากนั้นราคาข้าวโพดลดลงมาตลอดจนมาอยู่จุดต่าสุดวันที่ 14/11/2566 9.95 บาท (4.7825 USD/Bu) ทำให้พ่อค้าติดราคาสูงหลายรายขายไม่ทันจึงติดต้นทุนสต๊อกที่สูง

หลังจากนั้นราคาข้าวโพดกลับมาเริ่มสูงขึ้นจนถึงจุดสูงสุดรอบใหม่ในวันที่ 4/1/2567 อยู่ที่ระดับ 10.70 บาท/กก (466.5 USD/Bu) หลังจากนั้นราคาก็ลงมาจนถึงจุดต่าสุดรอบใหม่ เมื่อวันที่ 23/4/2567 10.2 บาท/กก. (เทียบราคาชิคาโก 452.5 USD/Bu และขึ้นมาอย่างรวดเร็วอยู่ระดับสูงถึง 11.30 บาท/กก. (เทียบราคาชิคาโก 4.5375 USD/Bu) ถ้าสังเกตระดับราคาขาลงมาต่าลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออก ทั้งสองรอบ คือรอบข้าวโพดฝน กับรอบข้าวโพดหลังนา พอข้าวโพดในมือเกษตรกรลดลง ราคาก็กลับมาเป็นขาขึ้น

2.ผู้รวบรวมตกลงซื้อขายข้าวโพดล่วงหน้าและประมูลขายให้กับโรงงานระดับกลางและเล็ก ในระดับราคาเพียง 9.80-10.30 บาท ก่อนที่ราคาจะขึ้นเป็นจานวนมาก

3.โรงงานที่มีรถเข้าน้อย และมีตัวแทนอยู่ในสมาคมที่เกี่ยวข้องมีการตั้งเงื่อนไขการรับซื้อโดย ผู้รวบรวมจะต้องลงทะเบียนที่ยุ่งยากซับซ้อนให้กับเกษตรกรก่อนจึงขายให้โรงงานนั้น ๆ ได้ จึงมีผู้รวบรวมไม่กี่รายที่สามารถขายให้กับโรงงานนั้นได้

4.กลุ่มที่ได้ผลประโยชน์จากราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขึ้น สามารถตรวจสอบได้จาก อาทิ โรงงานไหนมีสต็อกข้าวโพดมากที่สุด โรงงานไหนมีสต๊อกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และกากข้าวโพดและมีการนำเข้าวัตถุดิบทดแทนเหล่านั้นมากมากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา โรงงานไหนที่สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ทำให้โรงงานที่มีศักยภาพน้อยกว่าต้องซื้อวัตถุดิบในราคาที่สูงขึ้น โรงงานไหนที่สามารถนำเข้าข้าวโพด จากพม่าได้โดยตรงในปริมาณที่มากก่อนราคาข้าวโพดขึ้น

กลุ่มไหนได้ประโยชน์จากการที่ยกราคาข้าวโพดมาระดับสูงแล้วนามาเป็นเหตุในการเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการ 3 : 1, เรียกร้องให้ปล่อยราคาอาหารสัตว์ลอยตัว หรือสามารถขายอาหารสัตว์ในระดับราคาที่สูงสู่เกษตรกรคู่พันธสัญญา และปรับขึ้นราคาข้าวโพดมาเพื่อให้ผู้ผลิตรายอื่นมาซื้อวัตถุดิบทดแทนกับตน บวกกับการสร้างความได้เปรียบทางการค้าของธุรกิจรายใหญ่

การนำเข้าวัตถุดิบทดแทนจากต่างประเทศมีผลประโยชน์ทั้งในและนอกระบบมูลค่าสูงที่อยู่กับกลุ่มบุคคลจำนวนไม่มาก ภาครัฐต้องตรวจสอบว่าต้องการนำเข้าเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมหรือไม่ขณะที่วัตถุดิบทดแทนตัวอื่นภายในประเทศมีอย่างเพียงพอ

คงมาตรการ 3 : 1

สมาคมการค้าพืชไร่ขอร้องให้คงมาตรการ 3 : 1 เพราะเป็นมาตรการที่ช่วยปกป้องเกษตรกรผู้ปลูกพืชวัตถุดิบไทยที่มีประสิทธิภาพที่ดีระดับหนึ่ง หากมีการยกเลิกย่อมส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกพืชวัตถุดิบไทย ธุรกิจการผลิตไทยควรเน้นการใช้วัตถุดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นในประเทศ และยืนยันว่ากลุ่มผู้รวบรวมยังเป็นประโยชน์ในห่วงโซ่ธุรกิจอาหารสัตว์ เป็นเหมือนเขื่อนกักเก็บผลผลิตที่ไม่ให้ออกไปขายให้กับโรงงานอาหารสัตว์มากเกินไปโดยเฉพาะในช่วงฤดูกาล

แต่ปัจจุบันถูกมองเป็นหอกข้างแคร่ของกลุ่มผลประโยชน์ จึงถูกให้ร้ายป้ายสีมาอย่างต่อเนื่อง การกล่าวหาและให้ร้ายต่อคู่ค้า เป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ ขัดแย้งต่อแนวทางการดำเนินธุรกิจตามที่ประกาศสู่สาธารณะชนอย่างสิ้นเชิง ไร้ความรับผิดชอบต่อ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และประโยชน์ที่ยั่งยืนแก่ประเทศชาติต่อไป