เปิดทีโออาร์ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

 

30 พ.ค.2561 ผู้สื่อข่าว”ประชาชาติธุรกิจ”รายงานว่า วันนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มกิจการการบริหารสินทรัพย์  รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อสมสนามบิน ได้ออกประกาศเชิญชวนการคัดเลือกเอกชน การร่วมลงทุนกับเอกชนในกิจการของรัฐ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

ประกาศฉบับดังกล่าวสรุปสาระสำคัญ รวมทั้งหมด 15 ข้อ อาทิ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)

2.เชื่อมต่อ 3 ท่าอากาศยานในเขตกรุงเทพมหานครและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภาแบบไร้รอยต่อ

3.พัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ บริเวณสถานีแอร์พอร์ต เรลลิงก์มักกะสัน ให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตเวันออก (EEC Gateway) และพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชา และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ

 

สำหรับขอบเขตของโครงการ มีขอบเขตดังนี้

(1) โครงการเกี่ยวกับรถไฟ

ประกอบด้วย 3 (สาม) ส่วนคือ (1) รถไฟความเร็วสูง (2) แอร์พอร์ต เรลลิงก์ และ (3) แอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยาย โดยสถานีรถไฟของโครงการ มีทั้งหมด 15สถานี ซึ่งประกอบด้วยสถานีรถไฟภายในเมือง ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีพญาไท สถานีราชปรารภ สถานีมักกะสัน สถานีรามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีบ้านทับช้าง สถานีลาดกระบัง สถานีสุวรรณภูมิ และประกอบด้วยสถานีรถไฟที่อยู่ระหว่างเมืองได้แก่ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา รวมทั้งอาคารและสถานที่จอดรถและจรของสถานี (และศูนย์ซ่อมบำรุง ซึ่งมีระยะทางรวมประมาณ 220 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ด้วยบริการรถไฟแบบด่วนพิเศษ จอดบางสถานี และใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที ด้วยบริการเดินรถไฟแบบปกติจอดทุกสถานี โดยใช้ความเร็วในเมือง (ช่วงสถานีดอนเมืองถึงสถานีสุวรรณภูมิ) สูงสุด 160  กิโลเมตรต่อชั่วโมง และใช้ความเร็วระหว่างเมือง (ช่วงสถานีสุวรรณภูมิถึงสถานีอู่ตะเภา) สูงสุด 250  กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ทั้งนี้ ในขอบเขตการดำเนินงานโครงการเกี่ยวกับรถไฟ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ในการดำเนินงาน การพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ งานการจัดหาแหล่งเงินทุน และงานการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ (Design-Build-Finance-Operation-Maintenance : DBFOM) โดยมีขอบเขตงานหลักดังนี้

(2.) การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯประกอบด้วยการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ ในพื้นที่ดังต่อไปนี้

(ก) พื้นที่มักกะสันซึ่งเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย) (รฟท.) ตั้งอยู่บริเวณสถานีแอร์พอร์ต เรลลิงก์มักกะสัน ขนาดประมาณ 150ไร่ โดยมีพื้นที่อาคารรวมกันไม่น้อยกว่า 850,000 (แปดแสนห้าหมื่น) ตารางเมตร และมีมูลค่าการลงทุนอาคารสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงส่วนควบต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 42,000,000,000 บาท (สี่หมื่นสองพันล้านบาท) (ไม่รวมค่าที่ดิน) เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับจังหวัดในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และเป็นสถานีเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนอื่นเพื่อรองรับผู้โดยสารจำนวนมากที่จะเดินทางเข้าและออกเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

(ข) พื้นที่ศรีราชาซึ่งเป็นพื้นที่ของ รฟท. ตั้งอยู่บริเวณสถานีศรีราชา ขนาดประมาณ 25  ไร่ โดยมีพื้นที่อาคารรวมกันไม่น้อยกว่า 20,000ตารางเมตร และมีมูลค่าการลงทุนอาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมถึงส่วนควบต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 300,000,000 บาท (สามร้อยล้านบาท) (ไม่รวมค่าที่ดิน) เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เข้ามาในสถานีศรีราชา

(3) การดำเนินกิจการทางพาณิชย์
การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในทางพาณิชย์ รวมถึงการจัดเก็บรายได้บริเวณสถานีรถไฟ ภายในและภายนอกขบวนรถไฟ ทั้งหมดที่ใช้ในโครงการ ทางเชื่อมต่อระหว่างอาคารอื่น ๆ กับสถานีรถไฟของโครงการ และการดำเนินการอื่นใดภายใต้วัตถุประสงค์ของโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ (1.1) ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน

ระยะเวลาของโครงการ
ระยะเวลาของโครงการ หมายถึงระยะเวลาการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ โดยระยะเวลาของโครงการ จะเท่ากันกับระยะเวลาการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

(1) ระยะเวลาของการดำเนินงานออกแบบและงานก่อสร้างของโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนรถไฟความเร็วสูง (Design-Build) เท่ากับระยะเวลา 5 ปีที่ระยะเวลาที่ได้รับการขยายจาก รฟท. โดยจะนับจากวันที่ รฟท.ระบุไว้ในหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟจนถึงวันที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ (Centificate of Final Acceptance) ให้แก่เอกชนคู่สัญญา

(2) ระยะเวลาของการดำเนินงานให้บริการเดินรถและงานบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนรถไฟความเร็วสูง (Operation-Maintenance) เท่ากับระยะเวลา 45 ปี โดยจะนับจากวันที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ (Certificate of Final Acceptance)

ในส่วนของระยะเวลาของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ เท่ากับระยะเวลา 50 ปี นับจากวันที่ รฟท. ระบุไว้ในหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ แต่ทั้งนี้ ระยะเวลาการพัฒนาพืนที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ จะไม่เกินกว่าระยะเวลาของโครงการ

ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ
1 ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีนิติบุคคล
2. ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีสถานีะตามที่กล่าวมาข้างต้น และต้องมีคุณสมบัติดังนี้

(1) นิติบุคคลไทยรายเดียวหรือนิติบุคคลรายเดียวซึ่งต้องมีผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 ราย ถือหุ้นในสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 25 ของทั้งหมด และนิติบุคคลไทยหรือนิติบุคคลรายเดียวนั้นต้องจดทะเบียนมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับถึงวันยื่นข้อเสนอ

(2) นิติบุคคลหลายรายรวมกันเป็นกิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ โดยสมาชิกที่รวมกันเป็นกิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ ต้องมีนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 ราย เข้าร่วมกลุ่มโดยมีสัดส่วนการลงทุนเกินกว่าร้อยละ 25  ของทั้งหมด และสมาชิกอื่นแต่ละรายต้องมีสัดส่วนการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5  ของทั้งหมด โดยสมาชิกแต่ละรายต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3  ปี นับถึงวันยื่นข้อเสนอ ทั้งนี้ สมาชิกแต่ละรายของกิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ต้องร่วมกันรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วม

(3) นิติบุคคลหลายรายรวมกันเป็นกิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ โดยนิติบุคคลที่รวมกันเป็นกิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ ต้องมีผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1  ราย ถือหุ้นในส่วนเกินกว่าร้อยละ 25ของทั้งหมด และผู้ถือหุ้นอื่นแต่ละรายต้องมีสัดส่วนการครองหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทั้งหมด โดยผู้ถือหุ้นแต่ละรายต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3  ปี นับถึงวันยื่นข้อเสนอ

(4) นิติบุคคลที่ควบรวมกิจการ โดยต้องมีผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1  รายถือหุ้นในสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 25 ของทั้งหมด และนิติบุคคลแต่ละรายที่ควบรวมกิจการต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3  ปี นับถึงวันยื่นข้อเสนอ

3) นิติบุคคลที่ควบรวมกิจการต้องยื่นหลักฐาน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดซึ่งไม่มีภาระผูกพันใด ๆ เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 120,000,000,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นล้านบาท)

หรือ

(ค) ผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหยักฐานหนังสือแสดงเจตจำนงซึ่งเป็นหนังสือจากสถาบันการเงินของไทยหรือสถานันการเงินของต่างประเทศที่จะสนับสนุนสินเชื่อ และหลักฐานเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดซึ่งไม่มีภาระผูกพันใด ๆ ที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน (Balance Sheet) ย้อนหลังไม่เกิน 6 เดือน รวมกันเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 120,000,000,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นล้านบาท)

1) นิติบุคคลรายเดียวต้องยื่นหลักฐาน หนังสือแสดงเจตจำนง และหลักฐานเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดซึ่งไม่มีภาระผูกพันใด ๆ รวมกันเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 120,000,000,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นล้านบาท)

2) กิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ หรือกิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ ให้สมาชิกหรือผู้ถือหุ้นรายใดรายหนึ่งหรือรวมกัน ต้องยืนหยักฐานเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดซึ่งไม่มีภาระผูกพันใด ๆ รวมกับหลักฐานหนังสือแสดงเจตจำนงที่ออกในนามกิจการร่วมค้านั้น รวมกันเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 120,000,000,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นล้านบาท)

3) นิติบุคคลที่ควบรวมกิจการต้องยื่นหลักฐาน หนังสือแสดงเจตจำนง และหลักฐานเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดซึ่งไม่มีภาระผูกพันใด ๆ จากงบเสมือนของนิติบุคคลที่ควบรวมกิจการ รวมกันเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 120,000,000,000 บาท (หมื่นแสนสองหมื่นล้านบาท)

ส่วนประสบการณ์ของผู้ยื่นข้อเสนอ ผู้รับจ้าง (ถ้ามี)

(1) การพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

(ก) ประสบการณ์ด้านงานออกแบบ

ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ด้านงานออกแบบ โครงสร้างทางรถไฟยกระดับ หรือ โครงสร้างทางรถไฟใต้ดิน หรือโครงสร้างทางยกระดับ ที่มีมูลค่างานก่อสร้างในสัญญาเดียวหรือหลายสัญญารวมกันไม่น้อยกว่า 2,000,0000,000 บาท (สองพันล้านบาท) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว โดยแต่ละสัญญาที่นำมารวมกันต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1,000,000,000 บาท (หนึ่งพันล้านบาท) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว และผลงานดังกล่าวต้องแล้วเสร็จเป็นเวลาไม่เกิน 20 ปี นับถึงวันยื่นข้อเสนอ

(ข) ประสบการณ์ด้านงานก่อสร้าง

ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ด้านงานก่อสร้าง โครงสร้างทางรถไฟยกระดับ หรือโครงสร้างทางรถไฟใต้ดิน หรือโครงสร้างทางยกระดับ ที่มีมูลค่างานก่อสร้างในสัญญาเดียหรือหลายสัญญารวมกันไม่น้อยกว่า 7,000,000,000 บาท (เจ็ดพันล้านบาท) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว โดยแต่ละสัญญาที่นำมารวมกันต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1,000,000,000 บาท (หนึ่งพันล้านบาท) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้น และผลงานดังกล่าวต้องแล้วเสร็จเป็นเวลาไม่เกิน 20 ปีนับถึงวันยื่นข้อเสนอ

(ค) ประสบการณ์ด้านงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้า

ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ด้านการบูรณาการงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้า (System Integration) ของรถไฟความเร็วสูง ประกอบด้วยงานอาณัติสัญญาณ งานโทรคมนาคม งานไฟฟ้า งานวางราง และงานศูนย์ซ่อมบำรุง ดังกล่าวทุกระบบรวมกัน ที่มีมูลค่างานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าสัญญาณเดียวหรือหลายสัญญารวมกันไม่น้อยกว่า 7,000,000,000 บาท(เจ็ดพันล้านบาท) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว โดยแต่ละสัญญาที่นำมารวมกันต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1,000,000,000 บาท (หนึ่งพันล้านบาท) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ซึ่งผลงานดังกล่าวต้องเป็นเวลาไม่เกิน 20 ปี นับถึงวันยื่นข้อเสนอ

ทั้งนี้รฟท.จะเปิดให้มีการตรวจสอบข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการในวันพุธที่ 1 สิงหาคม 2561 ถึงวันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2561 และกำหนดเปิดรับซองข้อเสนอในวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 เวลา 09.00 น. และปิดการรับซองข้อเสนอในวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.00 น.

 

 

คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่