BGRIM กำไรดำเนินงาน Q3/67 พุ่ง ดัน EBITDA โต 8.4%

ฮาราลด์ ลิงค์

BGRIM โชว์กำไรจากการดำเนินงาน Q3/67 พุ่ง 32.5% แตะ 808 ล้านบาท ดัน EBITDA โต 8.4% ด้านกำไร 9 เดือน 770 ล้านบาท เตรียม COD โรงไฟฟ้าใหม่ 2 โครงการใหม่ “อู่ตะเภาเฟสหนึ่ง-พลังลมบนบก KOPOS เกาหลี”

นายฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2567 บริษัทมี EBITDA อยู่ที่ 4,183 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน มาจากปริมาณขายไฟฟ้าเติบโต 7.5% มาอยู่ที่ 3,908 จิกะวัตต์-ชั่วโมง เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยมีสาเหตุหลักจากปริมาณไฟฟ้าขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพิ่มขึ้น 12.9% จากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โครงการโรงไฟฟ้าอุตสาหกรรม (SPP) 2 โครงการ ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2566 รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 280 เมกะวัตต์ และปริมาณไฟฟ้าขายให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม (IUs) ในประเทศเวียดนาม รวมทั้งปริมาณขายไอน้ำในประเทศไทยที่เติบโตขึ้น 41.4% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน จากการขยายกำลังการผลิตของลูกค้าเดิม และความต้องการที่เพิ่มขึ้น

ทำให้มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน-ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่อยู่ที่ 808 ล้านบาท เติบโต 32.5% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยไตรมาส 3/2567 บริษัทมีรายได้จากการให้บริการที่สูงขึ้น และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่กำไรสุทธิ-ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ ซึ่งเป็นกำไรที่รวมผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงและเป็นรายการที่ไม่ใช่เงินสด จะอยู่ที่ 163 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ-ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่อยู่ที่ 345 ล้านบาท

สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 บริษัทมีกำไรสุทธิ-ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่อยู่ที่ 770 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ-ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่อยู่ที่ 1,424 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทมีการเชื่อมเข้าระบบของลูกค้า IUs รายใหม่ในประเทศไทยจำนวน 11.2 เมกะวัตต์ และจะมีการเชื่อมเข้าระบบของลูกค้า IUs รายใหม่เพิ่มในไตรมาสที่ 4 ด้วยโครงการที่มีในปัจจุบันนับเป็นรากฐานที่ดีที่จะช่วยให้ บี.กริม เพาเวอร์ เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต

นอกจากนี้ ในไตรมาส 3/67 บี.กริม เพาเวอร์ นำเข้า LNG ลำแรก จำนวน 65,000 ตัน และลำที่สองในเดือนตุลาคม 2567 เพื่อนำเข้าสู่ระบบ Pool Gas โดยในช่วงเริ่มต้น ก๊าซที่นำเข้าจะส่งผ่านไปยังระบบ Pool Gas เพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมของบริษัททั้งสิ้น 10 โครงการ

Advertisment

นอกจากนี้ยังประสบความสำเร็จจากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Lohas ECE Spain Gifu Co., Ltd. ในประเทศญี่ปุ่น กำลังการผลิตติดตั้ง 20 เมกะวัตต์ และมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ระยะเวลา 25 ปี ของบริษัทย่อยและการร่วมค้าจำนวน 8 บริษัท เพื่อพัฒนาและดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดโครงการรวม 323.3 เมกะวัตต์ มีกำหนดเปิด COD ตั้งแต่ปี 2569 ถึงปี 2573

รวมถึงประสบความสำเร็จจากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Lohas ECE Spain Gifu Co., Ltd. ในประเทศญี่ปุ่น กำลังการผลิตติดตั้ง 20 เมกะวัตต์ และมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ระยะเวลา 25 ปี ของบริษัทย่อยและการร่วมค้าจำนวน 8 บริษัท เพื่อพัฒนาและดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดโครงการรวม 323.3 เมกะวัตต์ มีกำหนดเปิด COD ตั้งแต่ปี’69-73

Advertisment

ทั้งนี้ ในไตรมาส 4/2567 เตรียมเปิด COD โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อู่ตะเภา เฟสหนึ่ง และ 2) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมแบบติดตั้งบนบก KOPOS ในสาธารณรัฐเกาหลี กำลังผลิต 20 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ดังนี้ 1) อินทรี บี.กริม : โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 80 เมกะวัตต์ 2) จงเช่อ รับเบอร์ : โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง 35 เมกะวัตต์ 3) 386 : โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา 29.6 เมกะวัตต์ 4) Nakwol : โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง 365 เมกะวัตต์