ช่วยลูกเรือไทยเรื่องไปถึง กรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ หลังเวลาผ่านมาเกือบครึ่งเดือนรัฐบาลไทยยังคุยเมียนมาไม่ได้ผล
ผู้สื่อข่าวรายงานการประชุมชี้แจงกรณีเรือประมงไทยถูกเรือรบดัดแปลงเมียนมาไล่ยิงขณะทำการประมงเมื่อคืนวันที่ 30 พย.ที่ผ่านมาของ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดน ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศเมื่อวันที่ 13 ธค.ที่รัฐสภา
ปรากฏในวันดังกล่าว สมาคมประมงอวนล้อมจับ(ประเทศไทย) ได้ทำหนังสือยื่นต่อ นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคประชาชนในฐานะ ประธาน คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯเพื่อขอความช่วยเหลือให้ลูกเรือจำนวน 31 คนและเรือประมงที่ถูกทหารเมียนมาจับกุมไปตั้งแต่วันที่ 30 พย.ได้กลับประเทศไทย
ในหนังสือฉบับดังกล่าวอ้างถึงเหตุการณ์กองเรืออวนล้อมจับไทยเจ้าไปทำการประมงห่างจาก เกาะพยาม 12 ไมล์ทะเลถูกเรือรบดัดแปลงเมียนมาทำการระดมยิงและเข้าจับกุมเรือประมงไทย โดยมีเรือ ส.เจริญชัย 8 พร้อมลูกเรือ 31 คน(ไทย 4 เมียนมา 27 คน)ถูกทหารเมียนมาลากไปไว้ที่ เกาะย่านเชือกเขตเมียนมา
ส่วนลูกเรือทั้ง 31 คนถูกนำไปกักขังไว้ที่ เกาะสอง เป็นเวลานานกว่า 10 วันมาแล้ว ทั้งเรือและลูกเรือก็ยังไม่ได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระ สร้างความทุกข์ร้อนใจให้กับครอบครัวของลูกเรือทั้งหมด ดังนั้นทางสมาคมประมงอวนล้อมจับจึงขอให้ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่วรัฐพิจารณาและข่วยผลักดันเป็นการเร่งด่วนรวม 4 ประการคือ
1)ขอให้ประสานกับรัฐบาลเพื่อเร่งรัดเจรจากับรัฐบาลเมียนมาเพื่อให้ปล่อยตัวลูกเรือทั้ง 31 คนกลับประเทศไทยโดยเร็วพร้อมทั้งให้ส่งคืนเรือประมง “ของกลาง” ส.เจริญชัย 8 ที่ยึดไว้ เนื่องจากเป็นการทำประมงโดยสุจริต
2)พื้นที่ทำการประมงที่เกิดเหตุเป็น “พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล” ระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเล ซึ่งการเดินเรือในปัจจุบันไม่มีเส้นเขตแดนอ้างอิงที่ชัดเจน ประกอบกับระบบติดตามเรือ(VMS)ของกรมประมงก็ไม่ได้แสดงเส้นพื้นที่ทับซ้อนไว้ใน Application ของแผนที่ ดังนั้นจึงขอความอนุเคราะห์จากคณะกรรมาธิการช่วย “ผลักดัน” กรมประมงให้ดำเนินการ “เพิ่มเส้นแนวเขตพื้นที่ทับซ้อน” ไว้ใน Application VMS ด้วย
3)ขอให้ช่วยผลัดดันรัฐบาลไทยเจรจากับรัฐบาลเมียนมาเพื่อกำหนดมาตรการชั่วคราวระหว่างกันเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นต่อไแในระหว่างรอผลการเจรจากำหนดดขตทางทะเล
4)ขอให้ช่วยผลักดันให้มีการเยียวยาลูกเรือประมงที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บตลอดจนทรัพย์สินที่เสียหายจากเหตุการณ์เรือรบดัดแปลงเมียรมาระดมยิงเพื่อจับกุมเรือไทยด้วย
พร้อมกันนี้ สมาคมอวนล้อมจับ(ประเทศไทย) ยังมีข้อสังเกตอีก 3 ประการเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่
1)การที่ทหารเมียนมาระดมยิงเรือประมงไทยแล้วอ้างว่า “เป็นการแจ้งเตือน” นั้น เป็นการกระทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ จากหลักฐานรอยกระสุนที่ปรากฏบนเรือประมงไทยที่หนีจากการระดมยิงมาได้พบว่า วิถีกระสุนเล็งเป้าไปยังห้องควบคุมเรือ ทำให้ผู้ควบคุมเรือบาดเจ็บ เครื่องมือในการเดินเรือเสียหาย
2)การกระทำของทหารเมียนมาเป็นการละเมิดและทำผิดกฏหมายระหว่างประเทศ International Wrongful ACt ใช่หนือไม่ และ
3)การคุ้มครองเรือที่ชักธงไทย เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลต้องให้ความสนใจต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นบนเรือของประเทศตน โดยใช้หลักกฏหมายระหว่างประเทศ “รัฐย่อมใช้อำนาจรัฐเหนือบุคคลต่อเรือที่ชักธงของตน หากเรือของตนถูกละเมิด รัฐย่อมเรียกร้องให้รัฐอื่นรับผิดชอบโดยตรงโดยถือว่า รัฐได้รับความเสียหายด้วย” ได้หรือไม่
ด้าน นายรังสิมันต์ โรม ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯ กล่าวภายหลังที่ประชุมรับหังคำชี้แจงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ยังไม่มีความชัดเจนถึงแนวทางดำเนินการกับสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วหรือการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ
แต่สิ่งที่ต้องย้ำเตือนก็คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรือประมงไทยครั้งนี้ถือเป็น “เรื่องเกินกว่าเหตุมาก” ที่ผ่านมานี้การใช้กลไกของ คณะกรรมการชายแดนท้องถิ่นไทย – เมียนมา(TBC) ในการคัดค้าน ซึ่งตนเห็นว่า ท่าทีของไทยต้องเข้มแข็งมากกว่านี้ ค้องประท้วงมากกว่านี้กับการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นและก็ไม่สามารถตอบได้ว่า เมื่อใดที่คนไทยทั้ง 4 คนจะกลับสู่มาตุภูมิ จึ้นอยู่กับว่า ทางการเมียนมาจะปล่อยตัวกลับเมื่อไหร่
แต่สิ่งหนึ่งที่ยืนยันได้ก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรือประมงไทย ไม่มีการเตือนหรือแจ้งล่วงหน้า แต่เป็นการยิงเข้ากลางลำเรือ อาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ ซึ่งแสดงว่า กองทัพเรือเมียนมาใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุและรัฐบาลไทยจะเอาอย่างไรในเรื่องนี้” นายรังสิมันต์ โรม กล่าว