GC เปิดความสำเร็จปิดจ็อบขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิลอตใหญ่สุด ลุยต่อปี’68 ขยายตลาดอาเซียน 

PTTGC

GC ประกาศความสำเร็จปี’67 ปิดจ็อบเสนอขายการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ครั้งแรกของบริษัท ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มูลค่ารวม 17,000 ล้านบาท บรรลุเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 48,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า พร้อมลุยต่อปี’68 เดินหน้าสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี ขยายฐานลูกค้าใหม่-ตลาดอาเซียน

นายณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GC เปิดเผยว่า ตลอดปี 2567 GC มุ่งมั่นแสวงหาโอกาสและสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์และเคมีภัณฑ์มูลค่าสูงและคาร์บอนต่ำ เสริมสร้างศักยภาพในการเป็น “ศูนย์เคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด” (Map Ta Phut Specialty Hub) เพื่อรองรับการขยายธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตอบสนองความต้องการวัสดุที่ยั่งยืนที่เพิ่มสูงขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ GC ได้ขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ ๆ ทั้งในประเทศและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมสากล ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในทุกมิติ

โดยมีผลสำเร็จในปี 2567 ประกอบด้วย

  • GC ได้ปิดการเสนอขายการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ครั้งแรกของบริษัท ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุดในกลุ่มหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน เป็นที่เรียบร้อย มูลค่ารวม 17,000 ล้านบาท โดยมีผู้ลงทุนสนใจจองซื้อหุ้นกู้เกินเป้าหมายที่ GC ได้ตั้งไว้ ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนที่มีต่อ GC และกลุ่ม ปตท. การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต

– GC และ KBC Advanced Technology Pte Ltd, a Yokogawa Company ร่วมพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Advanced Process Simulation และความรู้ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมของ GC และ KBC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดของ GC

– GC และ Toyo Engineering Corporation ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง ลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ADVERTISMENT

– GC และ Toray Industries, Inc. ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อผลิตกรดมิวโคนิกและกรดอะดิปิกชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สู่ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำในอนาคต

– GC และบริษัท ซีเมนส์ เอนเนอร์ยี่ จำกัด ร่วมพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานไฮโดรเจน (Future Hydrogen Society) เพื่อร่วมแก้ไขและชะลอปัญหาจากภาวะโลกร้อน

ADVERTISMENT

– GC และบริษัท HD Hyundai Shell Base Oil ร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการกลั่น (Unconverted Oil : UCO) ด้วยการแปรรูป UCO ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงและสามารถนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย

– GC และบริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด ร่วมพัฒนาศักยภาพของ Hydrogen Economy ในประเทศไทย รวมถึงบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม เพื่อผลักดันการใช้ไฮโดรเจนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

– GC และ Mitsubishi Heavy Industries Asia Pacific ศึกษาการใช้ไฮโดรเจนและแอมโมเนียเป็นเชื้อเพลิง รวมถึงเทคโนโลยี CCS เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

– GC ร่วมกับบริษัท Econic Technologies และ allnex วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์และสารเคลือบผิวจากคาร์บอนที่ถูกดักจับ พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

• การปรับ Portfolio มุ่งสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงและคาร์บอนต่ำ

– การผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF
GC เป็นผู้บุกเบิกพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ยั่งยืน ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับน้ำมันพืชใช้แล้ว (Used Cooking Oil : UCO) รายแรกของประเทศไทยในระดับเชิงพาณิชย์ สอดคล้องกับมาตรฐานระดับโลก

ที่กำหนดโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization) หรือ ICAO เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นประเทศที่คาร์บอนต่ำ โดยได้ร่วมมือกับบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดจำหน่าย และร่วมมือกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ใช้ผลิตภัณฑ์

– การขยายการเติบโตในธุรกิจเม็ดพลาสติกรีไซเคิล rPET คุณภาพสูง ภายใต้แบรนด์ InnoEco by GC ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานการสัมผัสอาหาร (Food Contact) จากองค์การอาหารและยาของไทย (อย.) องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US FDA) และหน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA)

1) GC ร่วมกับบริษัท น้ำมันพืชปทุม จำกัด พัฒนาขวดน้ำมันพืชเกสร จากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล rPET รายแรกของประเทศไทย สามารถเก็บรักษารสชาติและกลิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่สะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

2) GC ร่วมกับบริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด และบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) พัฒนาขวดน้ำแร่จิฟฟี่จากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล rPET 100% ตอบโจทย์ทั้งด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

• การบริหารจัดการด้านความยั่งยืน
– GC ริเริ่ม GC YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม ในปี 2563 เพื่อบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างครบวงจร (End-to-End Waste Management) สนับสนุนการคัดแยกและหมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดพร้อมเชื่อมโยงทุกภาคส่วน ด้วยเป้าหมายสำคัญในการร่วมแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในประเทศ ช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบัน GC YOUเทิร์น ได้พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการรีไซเคิลและขยายความร่วมมือกับพันธมิตรในเครือข่ายมากกว่า 176 ราย พร้อมทั้งมีจุดรวบรวมพลาสติกใช้แล้วกว่า 290 จุด รวมถึงพัฒนาศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชน (Community Waste Hub) เพื่อสร้างรายได้และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน โดยในปี 2567 ได้ขยายศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน 2 ศูนย์ในพื้นที่จังหวัดระยอง

คือ (1) ศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล ธนาคารขยะชมรมรักษ์ทะเลหาดแม่รำพึง อำเภอเมือง และ (2) ศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล วิสาหกิจชุมชนคัดแยกวัสดุรีไซเคิล อำเภอบ้านฉาง รวมเป็น 11 ชุมชน สามารถหมุนเวียนพลาสติกใช้แล้วเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและอัพไซเคิลกว่า 1,322 ตัน ลดขยะพลาสติกสู่หลุมฝังกลบ เทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1,363,085  กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e)* หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 143,483 ต้น**

– การบริหารจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากธรรมชาติ โดยดำเนินโครงการปลูกและดูแลป่า ในพื้นที่กว่า 20,000 ไร่ ครอบคลุมป่าบก ป่าชุมชนและป่าชายเลน ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 46,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี พร้อมเสริมสร้างสมดุลของระบบนิเวศอย่างยั่งยืน