
บอร์ด กฟผ. แต่งตั้ง “วรากร พรหมโมบล“ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ นั่งประธานสรรหาผู้ว่าการ คนที่ 17 ก่อน “เทพรัตน์ เทพพิทักษ์” ผู้ว่าการปัจจุบัน จะครบวาระ 31 ก.ค. 2568 นี้ คาดว่าจะสามารถเปิดรับสมัครผู้สนใจได้ในช่วงเดือนเมษายน 2568 นี้ และจะเห็นโฉมหน้าผู้ว่าการคนใหม่ได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (19 มีนาคม 2568) นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ประธานกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามคำสั่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการ เพื่อให้การสรรหาผู้ว่าการการไฟฟ้ายผลิตแห่งแห่งประเทศไทย เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 และมติคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ้ายผลิตแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2568 ประธานกรรมการการไฟฟ้าฝ้ายผลิตแห่งประเทศไทยออกคำสั่งไว้
โดย “คณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการ” ประกอบด้วย
(1) นายวรากร พรหมโมบล เป็น ประธานกรรมการ
(2) รองศาสตราจารย์กุลยศ อุดมวงศ์เสรี เป็น กรรมการ
(3) ศาสตราจารย์พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เป็น กรรมการ
(4) นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ เป็น กรรมการ
(5) นายภัทรกฤช เตชะศิกานต์ เป็น กรรมการ
(6) นางสาวพนา สุภาวกุล เป็น เลขานุการ
ทั้งนี้ การสรรหาดังกล่าว เนื่องจาก นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการ กฟผ. คนปัจจุบัน จะครบวาระการทำงานในวันที่ 31 กรกฎาคม 2568 นี้ ซึ่งตามธรรมเนียมปฏิบัติที่จะต้องมีการสรรหาผู้ที่เหมาะสมเข้ามาทำหน้าที่ผู้ที่ครบวาระหรือเกษียณอายุ
เบื้องต้น คาดว่าจะเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้ามาชิงตำแหน่งผู้ว่าการ กฟผ. ในเดือนเมษายน 2568 นี้ โดยกระบวนการสรรหาจะสามารถรู้ผลและนำเสนอให้บอร์ด กฟผ.อนุมัติได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อเข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 17 ต่อไป
รายงานข่าว ยังระบุว่า ความท้าทายของผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 17 ที่จะต้องมารับไม้ต่อนั้น คงหนีไม่พ้น การสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า ราคาค่าไฟฟ้า พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน รวมไปถึงการสร้างสภาพคล่องที่ กฟผ. ยังต้องแบรับภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมา ความต้องการใช้ไฟฟ้า พลังงานสูงขึ้น
จึงเป็นสิ่งที่ กฟผ. จะต้องดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ การบริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาปรับใช้ก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบโมดูลาร์ขนาดเล็ก Small modular reactor (SMR) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ เป็นความท้าท้ายใหม่ที่ผู้ว่าการ กฟผ. คนใหม่ที่ต้องเดินหน้าผลักดันต่อไป
สำหรับประวัติ นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์
- ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ สาขา Electricity Industry Management and Technology มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ (University of Strathclyde) ประเทศสกอตแลนด์
การทำงาน
- ประสบการณ์ด้านเทคนิควิศวกรรม การพัฒนาและบริหารจัดการโรงไฟฟ้า
- ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการ รองผู้ว่าการ ประจำสำนักผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่
การศึกษา - ปี 2560-2561 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- ปี 2561-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการ ประจำสำนักผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่