“สมคิด” หารือ “พาณิชย์ ก.เกษตร” แก้ปัญหาสินค้าเกษตรตามแนวทางประชารัฐ

“สมคิด” หารือ พาณิชย์ ก.เกษตร ร่วมภาคเอกชน แก้ปัญหาสินค้าเกษตรตามแนวทางประชารัฐ ด้านก.เกษตรฯ เตรียมเสนอมาตรการจูงใจ ให้เกษตรกรปลูกข้าวโพด ใช้งบประมาณ 641 ล้านบาท คาดเสนอครม.สัปดาห์หน้า

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมแนวทางการหาตลาดรองรับผลิตทางเกษตรตามแนวทางประชารัฐ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนรายใหญ่ อาทิ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร กรุงเทพโปรดิ๊วส์ ซีพีออลล์ สยามแมคโคร กลุ่มเซ็นทรัล เบทาโกร เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ไทยเบฟเวอเรจ ไทยยูเนี่ยน ว่า การประชุมร่วมหารือกันครั้งนี้ เพื่อต้องการยกระดับภาคเกษตรกรไทยให้มีรายได้ ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นมีช่องทาง ทางการตลาด

แต่ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการมาหลายรูปแบบ เพื่อส่งเสริมภาคเกษตรโดยให้กระทรวงเกษตรฯออกมาตรการจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชทางเศรษฐกิจเพื่อลดการปลูกพืชชนิดเดียว ในขณะที่กระทรวงพาณิชย์จะทำหรน้าในการหาตลาด โดยใช้กลไกทางการตลาดเข้ามาดูแล อย่างไรก็ดี ก็ยังต้องเดินหน้าเนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญภาคเกษตร ดังนั้น การทำงานร่วมกับแบบบูรณาการในทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ภาครัฐ ภาคเอกชน

“ก่อนจะปลูกพืชก็ต้องถามเอกชน ซึ่งจะรับรู้ความต้องการหรือความเคลื่อนไหวของตลาด และกระทรวงเกษตรฯ ก็จะต้องมีมาตรการส่งเสริม จูงใจออกมาเพื่อให้เกษตรกรเพาะปลูก อนาคตก็จะขยายไปในกลุ่มเลี้ยงสัตว์ ประมง ด้วย”

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชน์ กล่าวว่า การที่กระทรวงพาณิชย์เชิญภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในกลุ่มสินค้าเกษตรเข้ามาประชุมหารือด้วย เพื่อต้องการให้รับทราบข้อมูลข้อเท็จจริง และให้เห็นถึงความต้องการสินค้าที่เกิดขึ้นเพื่อเข้ามาช่วยเหลือ และจะได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แนะนำเกษตรกรให้มีการเพาะปลูกสินค้าตามความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงการทำงานเข้าด้วยกันในทุกภาคส่วน

สำหรับกระทรวงพาณิชย์ก็จะพยายามขยายช่องทางการตลาดให้มากขึ้น เพื่อกระจายสินค้าเกษตรให้ถึงผู้บริโภค ซึ่งก็มองในกลุ่มภาคการท่องเที่ยว และบริการที่มีการเติบโต ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ก็จะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายกฤษา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สำหรับมาตรการจูงใจที่กระทรวงเกษตรฯจะเสนอเข้าที่ประชุมคณรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์หน้า มี 4 มาตรการ งบประมาณ 641 ล้านบาท มาตรการดังกล่าวเช่น การประกันภัยพืชผลทางการเกษตร มาตรการดอกเบี้ยต่ำ ส่งเสริมการตลาด ราคา เป็นต้น อย่างไรก็ดี สินค้านำร่องที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเพาะปลูกหลังนา คือ ข้าวโพด

เนื่องจากเป็นสินค้าที่ยังมีความต้องการและผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 6 เดือน อย่างไรก็ดี เมื่อประสบผลสำเร็จก็จะขยายไปยังสินค้าเกษตรตัวอื่น เช่น กลุ่มผัก ผลไม้ เป็นต้น และกลุ่มเลี้ยงสัตว์ การประมง

“กระทรวงเกษตรฯมี มาตรการในการจูงใจในการลดความเสี่ยงในช่วงสินค้าล้นตลาด ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับตลาด การรับรองผลผลิตในด้านราคาที่เหมาะสมซึ่งก็จะกำหนดราคาตามกลไกตลาด ส่งเสริมดอกเบี้ยต่ำ 0.1% และมาตรการจัดระบบประกันภายพืชผล ซึ่งคาดว่าจะส่งเสริมหลังการเพาะปลูกข้าวซึ่งมี 58 ล้านไร่ ปริมาณผลผลิต 33 ล้านตัน จะกระจายไปใน 33 จังหวัด โดยเฉพาะเขตชลประทาน”